www./oocities.com/pontipa001
หน้าแรก
..........
ทดสอบความรู้
แต่ก่อนนั้น ถ้าเราพูดถึงการสร้างอุปกรณ์บางอย่าง
เพื่อนำมากั้นการรับส่งข้อมูลระหว่างเน็ตเวิร์กก็คงจะฟังดูเป็นเรื่องไร้สาระ
และน่าขบขันในสายตาของหลาย ๆ คนทีเดียว
ที่กล่าวเช่นนั้นก็เพราะว่า เมื่อช่วงที่เทคโนโลยีเน็ตเวิร์กนั้นโปร่งใสหรือถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ
ระบบเน็ตเวิร์กต้องไม่สนใจว่า จะรับส่งข้อมูลผ่านโพรโตคอลใดบ้าง
แต่จะรองรับการรับ-ส่งข้อมูลผ่านโพรโตคอลได้หลายชนิดที่สุดเท่าที่จะทำได้
เมื่อมาถึงปัจจุบันนี้ เน็ตเวิร์กไม่ได้ต้องการเพียงแค่รับ-ส่งข้อมูลเท่านั้น
แต่ยังมีเรื่องของระบบความปลอดภัยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
เทคโนโลยีที่เรียกว่า "ไฟร์วอลล์ (Firewall)" จึงเกิดขึ้น
และมีการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนในปัจจุบันมีผู้ขายผลิตภัณฑ์ไฟร์วอลล์หลายแห่ง
ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ของตนที่ออกแบบมาป้องกันการรับ-ส่ง
ข้อมูลเข้าออกระบบเน็ตเวิร์กผ่านโพรโตคอลบางตัว
รูปแบบของไฟร์วอลล์พื้นฐานตัวแรก
ๆ เลยก็คือ เราเตอร์ (Router) โดยเราเตอร์จะทำหน้าที่ตรวจสอบแอดเดรสปลายทางของแพ็กเก็ตข้อมูลที่ได้รับมา
แล้วส่งต่อไปยังเส้นทางของเน็ตเวิร์ก
เพื่อไปสู่ปลายทางที่ระบุไว้ในส่วนหัว
(Header) ของแพ็กเก็ตแต่ละตัว อย่างไรก็ตามเราเตอร์ทำได้มากกว่าการส่งต่อแพ็กเก็ตธรรมดาเท่านั้นเนื่องจากมันกรองแพ็กเก็ตได้ด้วย
โดยเมื่อมีการนำข้อกำหนด หรือกฎในการกรองแพ็กเก็ตมาใช้
ส่วนหัวของแต่ละแพ็กเก็ตจะถูกคัดลอกเข้ามายังหน่วยความจำของเราเตอร์
ซึ่งตัว CPU ของเราเตอร์สามารถตรวจสอบได้ว่าแพ็กเก็ตนั้นตรงตามข้อกำหนดหรือไม่
เพื่อตัดสินใจว่าจะให้ผ่านเน็ตเวิร์กหรือทิ้งไป
ถ้าเราเตอร์ตัดสินใจทิ้งแพ็กเก็ตนั้น
ก็จะส่งข้อความแบบ ICMP (Internet Control Message
Protocal) ไปยังแหล่งที่ส่งแพ็กเก็ตนั้นมาเพื่อยับยั้ง
หรือขัดขวางมิให้ส่งแพ็ตเก็ตเข้ามาอีก
อย่างไรก็ตาม การใช้เราเตอร์กรองแพ็กเก็ตนั้นจะสร้างปัญหาตามมาด้วย
ซึ่งเกิดจากการที่เราเตอร์ใช้ CPU ของมันเองในการกรองแพ็กเก็ต
แทนที่จะใช้ฮาร์ดแวร์เฉพาะอื่น ๆจึงทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมลดลง
เพียงแค่เราใส่ข้อกำหนดในการกรองแพ็กเก็ตเข้าไปในเราเตอร์หนึ่งข้อเท่านั้น
ก็จะทำให้ประสิทธิภาพของเราเตอร์ที่ออกมาในรุ่นแรก
ๆ นั้นตกลงถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของประสิทธิภาพสูงสุดเลยทีเดียว
นอกจากนี้ยังมีปัญหาอีกข้อหนึ่ง
ซึ่งเกิดจากการออกแบบเราเตอร์เอง เนื่องจากข้อมูลการทำงานในเราเตอร์ส่วนมากมักจะเก็บอยู่ในรูปของเราติ้งเทเบิ้ล
(Routing Table) โดยเราติ้งเทเบิ้ลจะทำหน้าที่หาเส้นทางติดต่อระหว่างระบบเน็ตเวิร์ก
ทำให้ต้องคอยตรวจสอบเส้นทางจึงทำงานช้า
เราเตอร์ถูกออกแบบมาให้พิจารณาแพ็กเก็ตแต่ละอันที่ผ่านเข้ามาอย่างอิสระต่อกันโดยไม่สนใจว่าแพ็กเก็ตนั้นอยู่ในชุดข้อมูลที่มีส่วนหัวเหมือนกันหรือไม่
(คือมีแอดเดรสของต้นทาง และปลายทางเหมือนกัน
หรือมีแอพพลิเคชันโพรโตคอลเหมือนกันเป็นต้น)
ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้ จึงมีปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงานอย่างแน่นอน
ถ้าไม่เชื่อก็ลองนึกดูดี ๆ ว่า ประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงขนาดไหน
ถ้าเราเตอร์ต้อง