วัดพระประโทนเจดีย์ วรวิหาร

 

งานการปกครอง

ในปี พ.ศ. 2547 วัดมีพระภิกษุ สามเณร ของวัดทั้งหมด 69 รูป อยู่ภายใต้การปกครองตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม และคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ตามกติกาของวัดอย่างเข้มงวด จึงไม่มีอธิกรณ์เกิดขึ้นในวัด

งานการศึกษา

วัดพระประโทณเจดีย์ วรวิหาร มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม อยู่ภายใต้พระประโทณเจติยาภิรักษ์อุปถัมภ์ โรงเรียนให้การศึกาาระดับนักธรรมตรี โท เอก

เมื่อปี 2541 มีนักเรียนแผนกธรรมของโรงเรียน สอบได้ น.ธ. ตรี 18 รูป น.ธ. โท 7 รูป และ น.ธ. เอก 6 รูป

ปี 2542 สอบได้ น.ธ. ตรี 13 รูป น.ธ. โท 23 รูป และ น.ธ. เอก 8 รูป

ปี 2543 สอบได้ น.ธ. ตรี 5 รูป น.ธ. โท 10 รูป และ น.ธ. เอก 20 รูป

ส่วนแผนกบาลี พระภิกษุ สามเณร ของวัดต้องไปเรียนรวมกับวัดอื่น ที่ โรงเรียนสหศึกษาบาลีองค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนส่วนกลางของจังหวัดนครปฐม ผลการเรียนของแผนกบาลีของวัดพระประโทณเจดีย์ วรวิหาร

มีนักเรียนสอบได้ในปี 2542 ระดับประโยค 1-2 จำนวน 12 รูป ป.ธ. 3 ได้ 3 รูป ป.ธ. 4 ได้ 8 รูป ป.ธ. 5 ได้ 2 รูป ป.ธ. 6 ได้ 2 รูป ป.ธ. 7 ได้ 3 รูป ป.ธ. 8 ได้ 2 รูป

ปี 2543 ระดับประโยค 1-2 จำนวน 11 รูป ป.ธ. 3 ได้ 8 รูป ป.ธ. 4 ได้ 2 รูป ป.ธ. 5 ได้ 3 รูป ป.ธ. 6 ได้ 1 รูป ป.ธ. 7 ได้ 2 รูป ป.ธ. 8 ได้ 1 รูป

ปี 2544 ระดับประโยค 1-2 จำนวน 23 รูป ป.ธ. 3 ได้ 9 รูป ป.ธ. 4 ได้ 6 รูป ป.ธ. 5 ได้ 5 รูป ป.ธ. 6 ได้ 3 รูป ป.ธ. 7 ได้ 1 รูป ป.ธ. 8 ได้ 1 รูป ป.ธ. 9 ได้ 1 รูป

ปี 2549 ระดับประโยค 1-2 จำนวน 6 รูป ป.ธ. 3 ได้ 10 รูป ป.ธ. 4 ได้ 6 รูป ป.ธ. 5 ได้ 2 รูป ป.ธ. 6 ได้ 6 รูป ป.ธ. 8 ได้ 3 รูป


ผลการสอบรายวิชา ชั้นประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.5 ในสนามหลวง ของวัดพระประโทณเจดีย์ ปี 2549 มีดังี้

ป.ธ. 1-2 สอบได้ 10 รูป และสอบเฉพาะไวยากรณ์ วิชาเดียว สอบได้ 10 รูป
ป.ธ. 3 สอบได้ 6 รูป
ป.ธ. 4 สอบได้ 2 รูป
ป.ธ. 5 สอบได้ 2 รูป

รวม สอบ ป.ธ. 1-2 ถึง ป.ธ. 5 สอบได้ 20 รูป

ผลการสอบนักธรรมและนักธรรมการศึกษาชั้นตรี - เอก ของสำนักเรียนวัดพระประโทณเจดีย์ฯ มีดังนี้

นักธรรมชั้นตรี สามเณร สอบได้ 8 รูป
นักธรรมชั้นโท พระ สอบได้ 6 รูป
นักธรรมชั้นโท สามเณร สอบได้ 15 รูป
นักธรรมชั้นเอก สามเณร สอบได้ 7 รูป
รวม พระและสามเณณ สอบได้ 36 รูป

ธรรมศึกษาชั้นตรี สอบได้ 59 รูป
ธรรมศึกษาชั้นโท สอบได้ 26 รูป
รวม สอบได้ 85 รูป

สรุปผลการสอบของนักเรียนของวัดพระประโทนเจดีย์ ตั้งแต่ปี 2538 - 2549 มีดังนี้

ประโยค 1-2 สอบได้ 143 รูป
ป.ธ.3 สอบได้ 88 รูป
ป.ธ.4 สอบได้ 56รูป
ป.ธ.5 สอบได้ 41 รูป
ป.ธ.6 สอบได้ 22 รูป
ป.ธ.7 สอบได้ 14 รูป
ป.ธ.8 สอบได้ 8 รูป
ป.ธ.9 สอบได้ 6 รูป

ทางวัดได้มีการส่งเสริมการศึกษา แก่พระภิกษุ สามเณร โดยการส่งหนังสือรับสมัครไปยังจังหวัดต่างๆ แล้วคัดเลือกสามเณร ผู้ที่ประสงค์จะศึกษาพระปริยัติธรรมมาอยู่กับวัด พร้อมได้รับการอุปถัมภ์ ด้านปัจจัยสี่ อย่างบริบูรณ์ และมอบทุนการศึกษาประจำเดือนแก่สามเณรและรางวัลแก่พระภิกษู สามเณร ผู้มีผลการเรียนไม่ตก การนี้ค่าใช้จ่ายในการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น ได้รับมาจากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาตั้งเป็นมูลนิธิ เป็นจำนวนเงิน 1,380,773.66 บาท และมูลนิธิอื่นอีกจำนวน 2,000,000 บาท ดอกผลของทั้ง 2 แหล่งเงินทุนนี้ได้นำมาใช้จ่าย ส่งเสริมการศึกษาของภิกษุสามาเณร ของวัด นอกจากนี้ยังได้รับเงินสมทบจากวัดไร่ขิง มูลนิธิโรงเรียนสหศึกษาบาลีบ้างบางปี รับจากกรมศาสนาและจากเจ้าอาวาส
ค่าใช้จ่ายส่งเสริม การศึกษาได้มีการรวบรวมรายการไว้ตั้งแต่ปี 2538 - 2548 คิดเป็นจำนวนเงิน เท่ากับ 3,461,475 บาท

งานเผยแพร

วัดร่วมกับประชาชน จัดงานวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา งานพิธีสำคัญของทางราชการ จัดการแสดงธรรม อบรมศลีธรรม เจริญพระพุทธมนต์ บรรยายธรรมแก่ผู้อาราธนา เป็นต้น

งานสาธารณูปการ

1. งานก่อสร้างถาวรวัตถุ ภายในวัด ตั้งแต่ปี 2537 - 2546 วัดได้สร้างถาวรวัตถุให้วัดสง่างาม ร่มเย็น สืบทอดบวรพุทธศาสนา ให้คงอยู่ตลอดไป เป็นจำนวนเงิน 19,119,981.75 บาท 2. งานบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัด ตั้งแต่ปี 2536 - 2543 วัดได้ใช้จ่ายเงินไปรวมทั้งสิ้น 4,948,322 บาท รวมเงินใช้จ่ายไปกับงานสาธารณูปการ เป็นเงิน 24,068,303.75 บาท

งานสาธารณะสงเคราะห

วัดมีโครงการอาหารก้นบาตร แก่เด็กยากจนเพื่อเป็นอาหารกลางวัน มาตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา เป็นข่าวเผยแพร่ในหน้าหนังสือพิมพ์ตลอดมาเป็นระยะๆ วัดได้บริจาคเงินช่วยเหลือเพื่อการกุศลต่างๆ เป็นเงินรวม 290,096 บาท

งานศึกษาสงเคราะห์

วัดได้ตั้งทุนการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา จากทุนนิธิภาค กับเงินบริจาคสมทบ เพื่อแจกทุนการศึกษาแก่นักเรียน ภิกษุ สามเณร ไปตั้งแต่ปี
2537 - 2546 รวมเงินการศึกษาสงเคราะห์ เป็นเงิน 568,737.51 บาท

สรุปผลงานและค่าใช้จ่ายรวมของวัดในรอบหลายปีที่ผ่านมา

1. งานการปกครอง 3 ปี ( พ.ศ. 2542 -2544 ) ไม่มีอธิกรณ์ในวัด / ไม่มีค่าใช้จ่าย

2. งานส่งเสริมการศึกษาี ค่าใช้จ่าย = 3,461,475 บาท

3 งานเผยแผ่(วันสำคัญทางพุทธศาสนา / ราชการ) ทุกปี สืบทอดวัฒนธรรมไทย / ไม่มีค่าใช้จ่าย

4. งานสาธารณูปการ( งานก่อสร้าง - บูรณะ ) 6-7 ปี ( พ.ศ. 2536-2546 ) วัดสวยงาม มั่นคง สมกับเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง / ค่าใช้จ่าย = 24,068,303.75 บาท

5. งานสาธารณะสงเคราะห์ (อาหารกลางวันก้นบาตร) 14 ปี ( พ.ศ. 2529 - ปัจจุบัน) เด็กนักเรียนมีสุขภาพดีและประชาชนได้รับความช่วยเหลือ / ค่าใช้จ่าย = 290,096 บาท

6. งานศึกษาสงเคราะห์ 7 ปี ( พ.ศ. 2537 - 2546 ) ภิกษุสามเณรได้รับการศึกษาสูงขึ้น ด้วยกำลังใจที่มุ่งมั่น / ค่าใช้จ่าย = 568,737.51 บาท

รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด = 28,388,612.26 บาท