ดาวพลูโต...ที่น่าสงสาร
ข้อมูลพื้นฐาน
ดาวพลูโต (โมโนแกรม: ♇) เป็นดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ในบริเวณแถบไคเปอร์ มีขนาดเล็กกว่า ดวงจันทร์ 7 ดวงในระบบสุริยะ (ดวงจันทร์ของโลก ไอโอ ยุโรปา แกนีมีด คัลลิสโต ไททัน และไทรตัน) ดาวพลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2390 กิโลเมตร มีดวงจันทร์บริวาร 3 ดวง ชื่อ ชารอน มีขนาดประมาณ 1/5 ของพลูโต , นิกซ์ และ ไฮดรา (2 ดวงหลัง ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2548)
ในเทพนิยายโรมัน พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาล หรือ ฮาเดส ในเทพนิยายกรีก ดาวพลูโตได้ชื่อนี้ คงเป็นเพราะมันอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากและได้รับแสงน้อย หรือบางทีอาจเป็นเพราะตัวอักษร "P-L" ย่อมากจาก Percival Lowell (ก่อนหน้านี้มีการตั้ง ชื่อดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ต่าง ๆ นานา)
ดาวพลูโตถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2473 โดยบังเอิญ มีการคำนวณหาตำแหน่งดาวเคราะห์ดวงใหม่ถัดจาก ดาวเนปจูนโดยใช้ฐานข้อมูลการเคลื่อนที่ของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่ง ไคลด์ ทอมบอห์แห่งหอดูดาว โลเวลล์ ในมลรัฐแอริโซนา ได้ทำการสำรวจท้องฟ้า และพบดาวพลูโตในที่สุด และถือว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่อยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ดวงเล็กที่สุด เป็นเวลา 76 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2473 - 2549
หลังจากที่ได้ค้นพบดาวพลูโตแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันว่า ขนาดของดาวพลูโต เล็กเกินกว่าที่จะรบกวน วงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่นได้ จะต้องมีดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า จึงจะรบกวนดาวเนปจูนได้ ดังนั้นการค้นหา ดาวเคราะห์ X จึงมีขึ้นต่อไป แต่ก็ไม่มีสิ่งใดถูกค้นพบเพิ่มเติม จนกระทั่ง ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้ข้อมูลด้านมวลสารของดาวเนปจูนเพิ่มเติม ข้อถกเถียงดังกล่าวจึงหมดไป โดยไม่จำเป็นต้องมีดาวเคราะห์ดวงที่ 10
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ส่งผลให้ดาวพลูโตถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ (และวัตถุในระบบสุริยะ(นอกจากดวงอาทิตย์)ได้ถูกจัดใหม่เป็น 3 ประเภท คือ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ และวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ)
การประชุมเพื่อถกเถียงเรื่องสถานภาพของดาวพลูโต ใช้เวลากว่า 1 สัปดาห์
นักดาราศาสตร์จะได้ศึกษาดาวพลูโต และวัตถุในแถบไคเปอร์อย่างละเอียดในปี พ.ศ. 2558 เมื่อยานนิวฮอไรซันส์ ของนาซา ซึ่งถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549 เดินทางไปถึงวงโคจรของดาวพลูโต ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558
อ้างอิงข้อมูลจาก http://th.wikipewiki/