ขั้นตอนสำคัญในการทำโครงงานคือ
การเลือกหัวเรื่อง
เป็นหัวใจของการทำโครงงาน
เป็นจุดเริ่มต้นของการทำโครงงาน
เป็นตัวกำหนดทิศทางที่จะเริ่มต้นเดิน...........ดังนั้นหัวเรื่องที่ดีควรมาจากสิ่งต่างๆ
รอบตัว หรือประสบการณ์ที่พบอาจกลายเป็นหัวเรื่องโครงงานได้
การศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อมูลพื้นฐาน
การรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุดเพื่อ
-
สร้างและสะสมองค์ความรู้หัวเรื่องที่จะทำโครงงาน
- มีจินตนาการในการทำโครงงาน
-
สามารถระบุตัวแปรที่จะทดลองได้
- มีตัวอย่างผลงานที่ผู้อื่นทำไว้
การตั้งคำถาม
คำถามที่ดีจะนำไปสู่....การกำหนดตัวแปร.......นำไปสู่การเขียนสมมติฐานของโครงงาน.......นำไปสู่การกำหนดเป้าหมายในชุดการทดลองวิทยาศาสตร์
การระบุตัวแปร
-
ตัวแปรในการทดลองเป็นปัจจัยต่างๆในการทดลองที่เปลี่ยนแปลงได้
-
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการใช้วิเคราะห์และแปลความหมายทางวิทยาศาสตร์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
-
ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ต้องสามารถวัดได้แม่นยำ
- การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม
เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงตัวแปรต้น
- การทดลองต้องดูแลปัจจัยควบคุมไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการทดลอง
การตั้งสมมติฐาน
สมมติฐานที่ดีของโครงงาน
แสดงให้เห็นถึง
- คำตอบของโครงงานที่คาดว่าจะเป็น
- บอกทิศทางการออกแบบการทดลอง
-
สามารถกำหนดตัวแปรได้
- แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายของการทดลองวิทยาศาสตร์
การวางแผนและการออกแบบการทดลอง
เป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญมากๆ
คือ
- การทดลองสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการทำโครงงาน
-
การกำหนดตัวแปรที่วัดได้
- การกำหนดแบบแผนของการเปลี่ยนแปลงตัวแปรต้น
-
ในแต่ละครั้งของการทดลองมีการกำหนดชุดควบคุมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด
-
ในการทดลอง มีการกำหนดปัจจัยควบคุมอย่างชัดเจน
- การเขียนวิธีการทดลองต้องชัดเจน
-
กำหนดวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
- กำหนดวิธีการสังเกต
การวัด หรือหน่วยที่ใช้วัดเพื่อให้การทำงานถูกต้อง
- กำหนดการทดลองซ้ำ
4 ครั้งหรือมากกว่า
การบันทึกข้อมูลการทดลอง
การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลความหมายข้อมูล
- มีกรอบและมาตรฐานการสังเกต
-
รู้วิธีการวัด วิธีการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ
- ทำการทดลองและวัดอย่างรอบคอบ
ระมัดระวัง
- บันทึกข้อมูลทุกอย่างที่ได้จากการสังเกตโดยไม่มีการปรุงแต่งข้อมูล
-
ถ่ายภาพ หรือวาดภาพการทดลองและผลทดลองที่จำเป็น เพื่อใช้แสดงประกอบการรายงาน
-
ผลการทดลองที่ได้เป็นการทดสอบสมมติฐาน ไม่ใช่การพิสูจน์สมมติฐาน ผลการทดลองอาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องก็ได้
-
กรณีที่มีข้อมูลเกิดขึ้นไม่คาดคิด หรือไม่ทราบสาเหตุ ต้องบันทึก ระบุและนำเสนอไว้ด้วย
การสรุปประเมินผล
ส่วนสรุปเป็นส่วนที่แสดงว่า
ผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ได้นั้นสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน โดยต้องมีหลักการทางวิทยาศาสตร์อธิบายได้อย่างชัดเจน
และมีการเปรียบเทียบเชื่อมโยงสิ่งที่ได้ค้นพบกับผลงานของผู้อื่นที่ทำไว้