ระเบียบสภาวิทยุสมัครเล่นประเทศไทยว่าด้วยองค์กรเครือข่าย พ.ศ.2543

 

ระเบียบสภาวิทยุสมัครเล่นประเทศไทย
ว่าด้วย องค์กรเครือข่าย
พ.ศ. ๒๕๔๓
...................................
โดยที่สมควรกำหนดการจัดระบบการบริหารองค์กรเครือข่ายของสภาวิทยุสมัครเล่นประเทศไทย
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ของสภาวิทยุ
อาศัยความตามข้อบังคับข้อ ๑๗ (๗) ของข้อบังคับสภาวิทยุสมัครเล่นประเทศไทย จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑. ระเบียบนี้เรียกว่า " ระเบียบสภาวิทยุสมัครเล่นประเทศไทยว่าด้วยองค์กรเครือข่าย พ.ศ.๒๕๔๓"
ข้อ ๒. ให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

ส่วนที่ ๑
สภาวิทยุเขต
ข้อ ๓. คณะกรรมการสภาวิทยุเขต ประกอบด้วยประธานสภาวิทยุเขตหนึ่งคน รองประธานสภาวิทยุเขตสองคน
เลขาธิการสภาวิทยุเขตหนึ่งคน และ ตำแหน่งอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้เลขาธิการสภาวิทย ุเขต
เป็นเลขานุการสภาวิทยุเขต
ข้อ ๔. สำนักงานของสภาวิทยุเขต ตั้งอยู่ ณ ที่ทำการของประธานสภาวิทยุเขต
ข้อ ๕. จำนวนคณะกรรมการสภาวิทยุสมัครเล่นในแต่ละเขต คำนวณจากจำนวนนักวิทยุสมัครเล่นที่มีภูมิลำเนา
ในเขตนั้น ๆ จำนวนหนึ่งพันคนให้มีกรรมการได้หนึ่งคนและเศษของหนึ่งพันคนถ้าเกินห้าร้อยคน ให้มีกรรมการ
เพิ่มได้อีกหนึ่งคน จังหวัดที่มีนักวิทยุสมัครเล่นต่ำกว่าห้าร้อยคนให้มีผู้แทนได้หนึ่งคน สำหรับสภาวิทยุเขตกรุงเทพมหานคร
ให้มีผู้แทนองค์กรสมาชิกองค์กรละสองคนและในการนับคะแนนให้คำนวนจากสัดส่วนของจำนวน สมาชิก
นักวิทยุสมัครเล่นที่สังกัดอยู่ในองค์กรสมาชิกองค์กรนั้นๆ
ข้อ ๖. สภาวิทยุเขต มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินกิจการวิทยุสมัครเล่นภายในเขตเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ
สภาวิทยุอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
ข้อ ๗. สภาวิทยุเขตประกอบด้วยสภาวิทยุจังหวัดในเขตนั้น ๆ
ข้อ ๘. กรรมการสภาวิทยุเขตต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
( ๑ ) เป็นกรรมการของสภาวิทยุจังหวัด
( ๒) มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
ข้อ ๙. คณะกรรมการสภาวิทยุเขตมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี นับแต่วันเปิดสมัยประชุมสภาวิทยุ
ข้อ ๑๐. กรรมการสภาวิทยุเขตจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
( ๑ ) พ้นตำแหน่งตามวาระ
( ๒ ) เสียชีวิต
( ๓ ) ลาออก
( ๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
( ๕) เป็นบุคคลล้มละลาย
( ๖ ) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
( ๗) ขาดการประชุมสภาวิทยุเขตติดต่อกันสามครั้งโดยไม่แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
( ๘) ขาดคุณสมบัติ
( ๙ ) คณะกรรมการสภาวิทยุเขตไม่น้อยกว่าสามในสี่ของกรรมการทั้งหมดมีมติให้ถอดถอนจากตำแหน่ง
( ๑๐) นักวิทยุสมัครเล่นที่เป็นสมาชิกขององค์กรสมาชิกอย่างน้อยห้าร้อยคนเข้าชื่อเสนอให้ถอดถอน
และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอย่างน้อยสามในสี่ของกรรมการทั้งหมด
ข้อ ๑๑. ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตาม ข้อ ๑๐ให้คณะกรรมการสภาวิทยุเขตคัดเลือกกรรมการ
สภาวิทยุจังหวัดมาดำรงตำแหน่งแทนในตำแหน่งที่ว่างลงภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
และดำรงตำแหน่งจนครบวาระของผู้ที่ตนแทน
ข้อ ๑๒. ให้สภาวิทยุเขตมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงาน คณะอนุกรรมการ หรือ มอบหมายให้พนักงานวิทยุสมัครเล่น
ปฏิบัติหน้าที่ หรือ หน้าที่อันเกี่ยวเนื่องกับกิจการวิทยุสมัครเล่นภายในเขต และหรือปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการ
สภาวิทยุเขตมอบหมาย
ข้อ ๑๓. ให้คณะกรรมการสภาวิทยุเขตมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
( ๑ ) ติดตาม ตรวจสอบและให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการกิจการวิทยุสมัครเล่นของสภาวิทยุจังหวัด
หรือองค์กรสมาชิกกรณีที่เป็นสภาวิทยุเขตกรุงเทพ
( ๒) เสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบที่เหมาะสมให้กับสภาวิทยุที่เกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
( ๓) ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านกิจการวิทยุสมัครเล่น
( ๔ ) เสนอแนะออกระเบียบเกี่ยวกับการกำกับดูแล และการดำเนินงานอื่นๆ ของสภาวิทยุเขตและสภาวิทยุจังหวัด
หรือองค์กรสมาชิกกรณีที่เป็นสภาวิทยุเขตกรุงเทพ
( ๕) รายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อสภาวิทยุ
( ๖ ) ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่นภายในเขต
( ๗ ) ปฏิบัติการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการสภาวิทยุมอบหมาย
ข้อ ๑๔. ให้คณะกรรมการสภาวิทยุเขตจัดประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก ๆ สองเดือน
( ๑ ) ที่ประชุมคณะกรรมการจะครบองค์ประชุมได้ต้องมีกรรมการเข้าประชุมอย่างน้อย กึ่งหนึ่ง
( ๒ ) การประชุมคณะกรรมการเมื่อถึงเวลาแล้วผู้ที่มิได้เข้าประชุมถือว่าขาดการประชุม
( ๓ ) การเรียกประชุมครั้งที่สองจากการไม่ครบองค์ประชุม ถ้ามีกรรมการเข้าร่วมประชุมตั้งแต่หนึ่งในสาม
ถือว่าครบองค์ประชุม
( ๔) ให้ประธานสภาวิทยุเขตเป็นประธานในที่ประชุมสภาวิทยุ ในกรณีที่ประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้เลือกรองประธานตามลำดับ ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ในกรณีที่รองประธานไม่สามารถทำหน้าที่ได้
ให้เลือกประธานที่ประชุมโดยมติของคณะกรรมการที่เข้าประชุม
ข้อ ๑๕. สภาวิทยุเขต อาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
( ๑ ) เงินอุดหนุน
( ๒) รายได้จากทรัพย์สินหรือกิจการอื่น
( ๓) ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค
(๔) รายได้จากการจัดกิจกรรม
ข้อ ๑๖. การเงินของสภาวิทยุเขต อยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของคณะกรรมการสภาวิทยุเขตโดยให้เปิดบัญช
ีเงินฝากกระแสรายวันและหรือบัญชีออมทรัพย์ไวกับธนาคารพาณิชย์ของรัฐบาลในนามสภาวิทยุเขตแต่ละเขต
การจ่ายเงินของสภาวิทยุเขตไม่ว่าจากบัญชีใดๆ ต้องประทับตราของสภาวิทยุเขต โดยมีประธานสภาวิทยุเขต
รองประธาน หรือ เลขาธิการ ลงลายมือชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่าสองคน และมีเหรัญญิกหนึ่งคน โดยกำหนดการเบิกจ่ายได้
้ครั้งละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) หากมากกว่านี้ ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสภาวิทยุเขตก่อน
การเงินและการบัญชี ให้ดำเนินการตามหลักการบัญชีโดยเคร่งครัดและให้มีการตรวจสอบบัญชีของสภาวิทยุเขต
โดยบุคคลที่ไม่ได้เป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสภาวิทยุเขต และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการสภาวิทยุเขต

ส่วนที่ 2
สภาวิทยุจังหวัด
ข้อ ๑๗. คณะกรรมการสภาวิทยุจังหวัด ประกอบด้วยประธานสภาวิทยุจังหวัดหนึ่งคน รองประธานสภาวิทยุจังหวัดสองคน
เลขาธิการสภาวิทยุจังหวัดหนึ่งคน และ ตำแหน่งอื่นตามที่คณะกรรมการสภาวิทยุจังหวัดเห็นสมควร ให้เลขาธิการสภาวิทยุ
ุจังหวัดเป็นเลขานุการสภาวิทยุจังหวัด
ข้อ ๑๘. สำนักงานของสภาวิทยุจังหวัด ตั้งอยู่ ณ ที่ทำการของประธานสภาวิทยุจังหวัด
ข้อ ๑๙. สภาวิทยุจังหวัดประกอบด้วยคณะกรรมการสภาวิทยุจังหวัดมีจำนวนไม่ต่ำกว่าเก้าคน หรือไม่เกิน
จำนวนขององค์กรสมาชิกในจังหวัด และต้องมาจากการเลือกตั้ง
ข้อ ๒๐. สภาวิทยุจังหวัดมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้การดำเนินกิจการวิทยุสมัครเล่นภายในจังหวัด
เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาวิทยุอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
ข้อ ๒๑. กรรมการสภาวิทยุจังหวัดต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
( ๑ ) เป็นสมาชิกขององค์กรสมาชิกภายในจังหวัด
( ๒) มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
ข้อ ๒๒. คณะกรรมการสภาวิทยุจังหวัดมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
ข้อ ๒๓. กรรมการสภาวิทยุจังหวัดจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
( ๑ ) พ้นตำแหน่งตามวาระ
( ๒ ) เสียชีวิต
( ๓ ) ลาออก
( ๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
( ๕) เป็นบุคคลล้มละลาย
( ๖ ) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
( ๗) ขาดการประชุมสภาวิทยุจังหวัดติดต่อกันสามครั้งโดยไม่แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
( ๘) ขาดคุณสมบัติ
( ๙ ) คณะกรรมการสภาวิทยุจังหวัดไม่น้อยกว่าสามในสี่ของกรรมการทั้งหมดมีมติให้ถอดถอนจากตำแหน่ง
( ๑๐) นักวิทยุสมัครเล่นที่เป็นสมาชิกขององค์กรสมาชิกอย่างน้อยสองร้อยห้าสิบคนคนเข้าชื่อเสนอให้ถอดถอน
และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอย่างน้อยสามในสี่ของกรรมการทั้งหมด
ข้อ ๒๔. ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตาม ข้อ ๒๓ ให้คณะกรรมการสภาวิทยุจังหวัดคัดเลือกนักวิทยุสมัครเล่น
มาดำรงตำแหน่งแทนในตำแหน่งที่ว่างลงภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งและดำรงตำแหน่งจนครบวาระของผู้ที่ตนแทน
ข้อ ๒๕. ให้สภาวิทยุจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงาน คณะอนุกรรมการ หรือ มอบหมายให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นปฏิบัติหน้าที่ หรือ หน้าที่อันเกี่ยวเนื่องกับกิจการวิทยุสมัครเล่นภายในจังหวัดและหรือปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการสภาวิทยุจังหวัดมอบหมาย
ข้อ ๒๖. ให้คณะกรรมการสภาวิทยุจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
( ๑ ) ติดตาม ตรวจสอบและให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการกิจการวิทยุสมัครเล่นขององค์กรสมาชิก
( ๒) เสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบที่เหมาะสมให้กับสภาวิทยุเขตที่เกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
( ๓) ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านกิจการวิทยุสมัครเล่น
( ๔ ) เสนอแนะออกระเบียบเกี่ยวกับการกำกับดูแล และการดำเนินงานอื่นๆ ของสภาวิทยุเขต สภาวิทยุจังหวัด และองค์กรสมาชิก
( ๕) รายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อสภาวิทยุเขต
( ๖ ) ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่นภายในจังหวัด
( ๗ ) ปฏิบัติการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการสภาวิทยุเขตมอบหมาย
ข้อ ๒๗. ให้คณะกรรมการสภาวิทยุจังหวัดจัดประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
( ๑ ) ที่ประชุมคณะกรรมการจะครบองค์ประชุมได้ต้องมีกรรมการเข้าประชุมอย่างน้อย กึ่งหนึ่ง
( ๒ ) การประชุมคณะกรรมการเมื่อถึงเวลาแล้วผู้ที่มิได้เข้าประชุมถือว่าขาดการประชุม
( ๓ ) การเรียกประชุมครั้งที่สองจากการไม่ครบองค์ประชุม ถ้ามีกรรมการเข้าร่วมประชุมตั้งแต่หนึ่งในสามถือว่าครบองค์ประชุม
( ๔) ให้ประธานสภาวิทยุจังหวัดเป็นประธานในที่ประชุมสภาวิทยุจังหวัด ในกรณีที่ประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้เลือกรองประธานตามลำดับ ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมในกรณีที่รองประธานไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ให้เลือกประธานที่ประชุม
โดยมติของคณะกรรมการที่เข้าประชุม
ข้อ ๒๘. สภาวิทยุจังหวัด อาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
( ๑ ) เงินอุดหนุน
( ๒) รายได้จากทรัพย์สินหรือกิจการอื่น
( ๓) ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค
( ๔) รายได้จากการจัดกิจกรรม
ข้อ๒๙. การเงินของสภาวิทยุจังหวัดอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของคณะกรรมการสภาวิทยุจังหวัดโดยให้เปิดบัญชี
เงินฝากกระแสรายวันและหรือบัญชีออมทรัพย์ไว้กับธนาคารพาณิชย์ของรัฐบาลในนามสภาวิทยุจังหวัดแต่ละจังหวัด
การจ่ายเงินของสภาวิทยุจังหวัดไม่ว่าจากบัญชีใดๆ ต้องประทับตราของสภาวิทยุจังหวัด โดยมีประธานสภาวิทยุจังหวัด
รองประธาน หรือ เลขาธิการลงลายมือชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่าสองคน และมีเหรัญญิกหนึ่งคน โดยกำหนดการเบิกจ่าย
ได้ครั้งละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน) หากมากกว่านี้ ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสภาวิทยุจังหวัดก่อน
การเงินและการบัญชีให้ดำเนินการตามหลักการบัญชีโดยเคร่งครัดและให้มีการตรวจสอบบัญชีของสภาวิทยุจังหวัด
โดยบุคคลที่ไม่ได้เป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสภาวิทยุจังหวัดและได้รับการรับรองจากคณะกรรมการสภาวิทยุจังหวัด

ส่วนที่ 3
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๐. ให้คณะกรรมการชุดปัจจุบัน
(๑) จัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการสภาวิทยุจังหวัดให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ถัดจาก
วันที่ข้อบังคับสภาวิทยุสมัครเล่นประเทศไทยประกาศใช้
(๒) ดำเนินการแต่งตั้งสภาวิทยุเขตให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕๐ วัน ถัดจากวันที่ข้อบังคับสภาวิทยุสมัครเล่นประเทศไทยประกาศใช้
ข้อ ๓๑. การดำเนินการเลือกตั้งตาม ข้อ ๓๐. (๒)ให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการเลือกตั้งและให้หมดวาระลงเมื่อเสร็จสิ้น

ประกาศ ณ วันที่ พ.ศ. ๒๕๔๓


(นาย สมิทธ ธรรมสโรช)
ประธานสภาวิทยุสมัครเล่นประเทศไทย













จำนวนนักวิทยุสมัครเล่นในแต่ละจังหวัดและแต่ละเขต (ณ เดือนพฤษภาคม 2543)
เขต จังหวัด จำนวน 1K/1+>200/1
0 กรุงเทพมหานคร 39,408 40
เขต 1 สมุทรปราการ 5,369 6
2 นนทบุรี 4,764 5
3 ปทุมธานี 2,920 3
4 พระนครศรีอยุทธยา 1,831 2
5 อ่างทอง 414 1
6 ลพบุรี 1,653 2
7 สิงห์บุรี 346 1
8 ชัยนาท 501 1
9 สระบุรี 1,788 2
รวมเขต 1 19,586 20+3
เขต2 จังหวัด จำนวน
1 ชลบุรี 5,148 5
2 ระยอง 2,972 3
3 จันทบุรี 3,298 4
4 ตราด 608 1
5 ฉะเชิงเทรา 2,009 2
6 ปราจีนบุรี 546 1
7 นครนายก 521 1
8 สระแก้ว 394 1
รวมเขต 2 15,496 16+2
เขต 3 จังหวัด จำนวน
1 นครราชสีมา 3,784 4
2 บุรีรัมย์ 1,166 1
3 สุรินทร์ 627 1
4 ศรีษะเกษ 750 1
5 อุบลราชธานี 1,833 2
6 ยโสธร 405 1
7 ชัยภูมิ 446 1
8 อำนาจเจริญ 272 1
9 หนองบัวลำภู 231 1
รวมเขต 3 9,514 10+3
เขต 4 จังหวัด จำนวน 1K/1+>200/1
1 ขอนแก่น 2,531 3
2 อุดรธานี 1,716 2
3 เลย 390 1
4 หนองคาย 541 1
5 มหาสารคาม 491 1
6 ร้อยเอ็ด 862 1
7 กาฬสินธ์ 494 1
8 สกลนคร 696 1
9 นครพนม 482 1
10 มุกดาหาร 417 1
รวมเขต 4 8,620 9+4
เขต 5 จังหวัด จำนวน
1 เชียงใหม่ 4,983 5
2 ลำพูน 1,221 2
3 ลำปาง 2,152 2
4 อุตรดิตถ์ 1,247 2
5 แพร่ 1,078 1
6 น่าน 592 1
7 พะเยา 624 1
8 เชียงราย 1,762 2
9 แม่ฮ่องสอน 268 1
รวมเขต 5 13,927 14+3
เขต 6 จังหวัด จำนวน
1 นครสวรรค์ 3,134 3
2 อุทัยธานี 512 1
3 กำแพงเพชร 1,587 2
4 ตาก 1,243 2
5 สุโขทัย 1,445 2
6 พิษณุโลก 1,287 2
7 พิจิตร 1,107 1
8 เพชรบูรณ์ 1,110 1
รวมเขต 6 11,425 12+2

เขต 7 จังหวัด จำนวน
1 ราชบุรี 2,693 3
2 กาญจนบุรี 2,385 3
3 สุพรรณบุรี 1,993 2
3 นครปฐม 3,295 4
5 สมุทรสาคร 1,356 2
6 สมุทรสงคราม 848 1
7 เพชรบุรี 1,410 2
8 ประจวบคิรีขันธ์ 1,247 2
รวมเขต 7 15,227 16+3
เขต 8 จังหวัด จำนวน
1 นครศรีธรรมราช 2,080 2
2 กระบี่ 450 1
3 พังงา 359 1
4 ภูเก็ต 1,122 1
5 สุราษฏร์ธานี 1,791 2
6 ระนอง 463 1
7 ชุมพร 1,201 2
7,466 8+2
เขต 9 จังหวัด จำนวน
1 สงขลา 3,428 4
2 สตูล 288 1
3 ตรัง 1,030 1
4 พัทลุง 441 1
5 ปัตตานี 1,002 1
6 ยะลา 749 1
7 นราธิวาส 755 1
รวมเขต 9 7,693 8+2