พิธีกรรมของพระพุทธศาสนา 



ประเภทของพิธีกรรม 

พิธีกรรมทางศาสนาพุทธหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศาสนพิธีด้วยกัน เช่น พิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีรักษาศีลอุโบสถ ฯลฯ จำแนกเป็น 2 ประเภท

1. พิธีกรรมที่เป็นพุทธบัญญัติ เป็นพิธีการเกี่ยวกับวินัยสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ จะต้องปฏิบัติพิธีกรรมนั้น ๆ ให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้

2. พิธีกรรมที่พัฒนาขึ้นในท้องถิ่น คือ พิธีกรรมที่พุทธศาสนิกชนในท้องถิ่นต่าง ๆ กำหนดขึ้น โดยมีการผสมผสานขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นให้เข้ากับกิจกรรมทางพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นประเพณี

หลักปฏิบัติทั่วไปเกี่ยวกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา  มีหลักการปฏิบัติ 4 ประการ คือ

                     - ความถูกต้อง ตามพุทธบัญญัติ
                     - คำนึงถึงความเหมาะสม 
                     - คำนึงถึงความประหยัด และภาวะทางเศรษฐกิจ
                     - คำนึงประโยชน์ที่จะได้รับต้องคุ้มค่า

คุณประโยชน์ของพิธีกรรม มี 3 ประการ คือ

                   - มีคุณค่าทางจิตใจ ทำให้ศาสนามีความศักดิ์สิทธิ์
                   - ส่งเสริมความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในสังคม
                   - ส่งเสริมและรักษาเอกลักษณ์ที่ดีงาม เป็นการสร้างสมวัฒนธรรมคงอยู่ต่อไป





พิธีบรรพชาอุปสมบท (พิธีบวช)

      เป็นพิธีกรรมของชาวพุทธ โดยเฉพาะชาวไทยนิยมปฏิบัติกัน การบวชเป็นคำรวมทั้งการบวชเณร (การบรรพชา) และการบวชพระ (การอุปสมบท)

การบรรพชา 

     คือ การบวชสามเณร ผู้บรรพชาต้องอายุไม่ต่ำกว่า 7 ปี ไม่เป็นโรคร้าย วิปริต หรือทุพพลภาพ ไม่เป็นโจรผู้ร้าย บิดามารดาต้องอนุญาต ภายหลังจากมีการปลงผมแล้ว 
นำเครื่องบริขารไปหาพระอุปัชฌาย์ แล้วกล่าวคำบรรพชาเป็นภาษาบาลี ปฏิญาณตนต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รับศีล 10

การอุปสมบท 

     คือ การบวชพระ ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น การบวชมี 3 วิธี คือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้โดยเปล่งวาจาว่า "จงเป็นภิกษุเถิด" ต่อจากนั้น
ก็ครองผ้าเหลือง ประพฤติตนตามธรรมได้เลย ผู้อุปสมบท ต้องเป็นชายอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาต้องอนุญาต และต้องถือศีล 227 ข้อ

พิธีเข้าพรรษา 

     คือ การจำวัดของพระสงฆ์ เป็นเวลา 3 เดือน ในฤดูฝน จะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ ถ้ามีความจำเป็นไปค้างแรมที่อื่น จะต้องกลับวัดภายใน 7 วัน ตามที่บัญญัติไว้ในพรวินัย

พิธีปวารณา 

     เป็นพิธีที่พระสงฆ์ปฏิบัติตามวินัยสงฆ์ คือ พระภิกษุจำพรรษาจนครบ 3 เดือนแล้ว พระภิกษุต้องทำพิธีกล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน พิธีปวารณามี 3 วัน คือ วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 (บัณณรสี) วันแรม 14 ค่ำ เดือน 11 (จาตุททสี) และวันสามัคตี

พิธีทอดกฐิน 

     ความเป็นมา กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง หรือไม้แบบตัดเย็บจีวร เป็นผ้าที่นำมาถวาย
พระภิกษุสงฆ์ในพิธีทอดกฐิน เริ่มนับตั้งแต่ออกพรรษา คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงกลาง
เดือน 12 < อ่านรายละเอียด >


ลักษณะพระภิกษุสงฆ์ที่ควรได้รับผ้ากฐิน มีดังนี้

ต้องจำพรรษามาแล้ว 3 เดือน มีจีวรเก่ากว่าพระภิกษุรูปอื่น เรียนพระวินัยแตกฉาน คณะสงฆ์เห็นชอบให้เป็นพระภิกษุที่จะรับผ้ากฐินได้ พิธีในการทอดกฐินมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้ 

- ทำการจองวัดที่จะทอดกฐินตามความเหมาะสมกับกำลังผู้ทอด 
- ต้องทำการจองเมื่อเข้าพรรษาแล้ว 
- ประชาชนทั่วไปจะจองได้แต่วัดราษฎร์ทั่วไปเท่านั้น 
- ในวัดหนึ่งจะรับกฐินได้ครั้งเดียวใน 1 ปี 
- ต้องมีการประกาศจองกฐินให้พระในวัดรู้ทั่วกัน

พิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา

1. พิธีมาฆบูชา จากพุทธประวัติ ได้มีเหตุการณ์ที่เป็นเหตุกำเนิดวัน
จาตุรงคสันนิบาต (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ให้เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ 
เดือน 4ป ในวันนั้นได้เกิดนิสิตอันน่าอัศจรรย์ถึง 4 ประการ คือ

                         - มีพระอริยสงฆ์มาประชุมกันพร้อมโดยมิได้นัดหมาย 
                         - พระอริยสงฆ์ที่มาประชุมมีจำนวนถึง 1,250 รูป 
                         - พระอริยสงฆ์ทั้ง 1,250 รูป ล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปา และทุกรูปเป็นพระอรหันต์ 
                         - วันนั้นตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนมาฆะ
พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่มีพระสงฆ์มาอยู่รวมกัน ณ ที่เดียวกัน
เป็นจำนวน 1,250 รูป พระองค์จึงได้แสดงธรรมแก่ที่ประชุมสงฆ์ ธรรมที่พระองค์แสดง คือ 
"โอวาทปาติโมกข์"

ในประเทศไทยเริ่มขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องด้วยพระองค์ทรงเห็นความสำคัญของวันนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2394 ณ วัด
พระศรีรัตน์ศาสดาราม < อ่านเพิ่มเติ่ม >

2. พิธีวิสาขบูชา ตามพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานใน
วันเดียวกัน เดือนเดียวกัน คือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (ถ้ามีเดือน 8 สองหน เลื่อนไปวันขึ้น 155 ค่ำเดือน 7) การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะในประเทศไทยตามหลักฐาน คือ ตำนานนางนพมาศมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และได้หายไปในสมัยอยุธยา จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเห็นความสำคัญ จึงมีพระราชกุศลพิเศษ พิธีวิสาขบูชากลับมาอีกเมื่อ พ.ศ. 2350 < อ่านเพิ่มเติม >

3. พิธีอาสาฬหบูชา หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระพุทธองค์ได้เสด็จไปยัง
ป่าอิสิปมฤคทายวัน ซึ่งเป็นที่อยู่ของปัญจวัคคีย์ และพระพุทธองค์ได้ทรงแสดง "ปฐมเทศนา" 
พระธรรมจักกัปปวัฒนสูตร ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปเดือน 8 หลัง) ปัญจวัคคีย์ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วได้เห็นจริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ได้ทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็น
พระภิกษุองค์แรกในพระพุทธศาสนา และสำเร็จเป็นพระอรหันต์
สำหรับพิธีอาสาฬหบูชาในประเทศไทย คณะสงฆ์ได้มีประกาศให้ถือวันนี้เป็น
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ได้เริ่มครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2501 (วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2501)  < อ่านเพิ่มเติม >

ยังมีพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น
            พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ < อ่านเพิ่มเติม >
            พิธีรักษาอุโบสถศีล < อ่านเพิ่มเติม >
            พิธีถวายทานต่าง ๆ < อ่านเพิ่มเติม >

            พิธีแต่งงาน < อ่านเพิ่มเติม >

            พิธีศพ < อ่านเพิ่มเติม >

            พิธีกรรมเกี่ยวกับประเพณีไทย < อ่านเพิ่มเติม>


>>

<<

!!