ธาตุที่ 5
ร่างกายมนุษย์เปรียบได้กับจักรวาลน้อยๆของธรรมชาติ
ซึ่งในอายุรเวทไทย
ร่างกายเราประกอบขึ้นด้วย ธาตุ 4
ดิน น้ำ ลม ไฟ
ส่วนในอินเดียยังเพิ่มอีก 1
ธาตุคือ อวกาศธาตุ (Ether)
ในร่างกายเรามีความว่างเต็มไปหมด
เช่น ในปาก จมูก ลำไส้ หลอดลม
ช่องท้อง กล้ามเนื้อ
และแม้แต่ในเซล
เมื่อความว่างเคลื่อนไหว
จึงเกิดธาตุใหม่เรียกว่าธาตุลม
ธาตุลมทำให้หัวใจเต้น
ปอดหดและขยายตัวทำให้เกิดการหายใจ
ถ้าดูจากกล้องจุลทรรศน์
แม้แต่เซลเล็กๆ
ก็มีการเคลื่อนไหว ธาตุที่ 3
คือธาตุไฟ
แหล่งกำเนิดแสงและไฟแห่งจักรวาลคือ
ดวงอาทิตย์
ส่วนในมนุษย์แหล่งกำเนิดธาตุไฟ
เกิดจากการสันดาปหรือการเผาผลานภายในร่างกาย
ไฟช่วยในการย่อยอาหาร
กระตุ้นให้เรตินาในตารับแสงสว่าง
และยังทำให้ร่างกายอบอุ่น
ธาตุน้ำเป็นธาตุที่ 4 ของร่างกาย
อยู่ในรูปของน้ำเหลือง น้ำเลือด
น้ำลาย และน้ำในเซล
ซึ่งเป็นส่วนประกอบใหญ่และสำคัญของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย
ส่วนธาตุสุดท้ายคือ คือ ธาตุดิน
เป็นส่วนที่รองรับ
เชื่อมต่อทุกส่วนเข้าด้วยกัน
เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น
ผิวหนัง และเส้นผม
เช่นเดียวกับแผ่นดินโลกรองรับทุ่งสิ่งทุกอย่าง
ธาตุทั้ง 5
มีความสัมพันธุ์กับประสาททั้ง 5
ของร่างกายคือ การได้ยิน
การสัมผัส การเห็น การลิ้มรส และ
การดมกลิ่น
![]() | อวกาศธาตุ เป็นสื่อกลางที่เสียงเดินทางไป อวัยวะที่ใช้ในการได้ยินคือหู |
![]() | ธาตุลม เกี่ยวข้องกับการสัมผัส และอวัยวะที่ใช้คือผิวหนัง โดยเฉพาะมือมีประสาทการสัมผัสที่สูง |
![]() | ธาตุไฟ ปรากฎให้เห็นในรูปของแสง ความร้อน และสี เกี่ยวเนื่องกับอวัยวะตา ช่วยในการเห็น |
![]() | ธาตุน้ำเกี่ยวเนื่องกับการลิ้มรส ปราศจากน้ำ ลิ้นไม่สามารถรับรสได้ |
![]() | ส่วนธาตุดินเกี่ยวเนื่องกับการดมกลิ่น โดยผ่านอวัยวะจมูกของเรา |
การแพทย์ทางอายุรเวท เชื่อว่า
ธาตุ ทั้ง 5
ในร่างกายเราต้องมีความสมดุลเหมาะสม
หากธาตุใดมีมากเกินไป
หรือขาดความสมดุลร่างกายก็เกิดการเจ็บป่วยได้
ในคราวต่อไปเราจะมาดูว่า
เราจะวิเคราห์ได้อย่างไรว่าเราเป็นคน
ประเภทโน้มไปในธาตุใด คือ
ธาตุดิน ธาตุลม หรือ ธาตุไฟ
และอาการอย่างไรบ่งบอกว่าธาตุในร่างกายเราเริ่มเสียความสมดุลย์
รวมถึงวิธีรักษาความสมดุลแห่งร่างกาย
การมีร่างกายที่แข็งแรงดี
ย่อมเป็นเสมือนมีพาหนะที่ดี
ที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จแห่งการปฎิบัติสมาธิ
หรือทำงานอื่น