ประวัติกรมพระสุรัสวดี |
" กรมพระสุรัสวดี " หรือ " กรมสุรัสวดี " จัดตั้งขึ้นรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๒ พ.ศ.๒๐๓๔-๒๐๓๕ กรมพระสุรัสวดีมีหน้าที่ จัดส่งเจ้าหน้าที่สัสดีไปประจำ ณ หัวเมืองต่าง ๆ เพื่อจ่ายเลข (สักตัวเลขที่ท้องแขนชายไทย) ขึ้นทะเบียบคนเป็น "ไพร่ " ดังนั้น " กรมสุรัสวดี " จึงเป็นกรมใหญ่ ซึ่งมีฐานะคล้ายกระทรวง ควบคุมบัญชีไพร่พลทั่วประเทศ มีผู้บังคับบัญชากรมคือ " พระสุรัสวดี " ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ กำกับเจ้าขุนมูลนายทุกกรมกอง ทั้งฝ่ายกลาโหมและฝ่ายมหาดไทย ให้ต้องส่งบัญชียอดจำนวน " ไพร่ " ในสังกัดพร้อมเลขทะเบียนประจำตัวไพร่ให้ " กรมสุรัสวดี " ควบคุมในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบเกณฑ์ไพร่พลเพื่อจัดกองทัพ เมื่อต้องการกำลังพลเข้าทำศึกสงคราม |
![]() เครื่องหมายกรมสุรัสวดี |
พระสุรัสวดี
เป็นรูปเทวดานั่งบนฐานสูง มีผ้าทิพย์ห้อยหน้า
พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ พระหัตถ์ขวาถือสารบัญชีไพร่พล มีพระนามว่า
"พระสุรัสวดี" ปัจจุบันรูปแกะสลักลอยของ
" พระสุรัสวดี " ซึ่งทำด้วยไม้โดยช่างหลวงสมัยกรุงธนบุรี
ยังคงเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ห้องอาวุธ ตู้ ๒๙๕
หมายเลขวัตถุ
ถ.๑-๑ ซึ่งกระทรวงกลาโหมจัดส่งไปให้เมื่อคราวก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ฯ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๕) ได้ปรับปรุงกิจการทหารเป็นแบบอย่างยุโรป ได้จัดตั้งกระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทยขึ้น พร้อมได้ยกกรมสุรัสวดี ไปขึ้นกับกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ และต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้เปลี่ยนชื่อจาก " กรมสุรัสวดี " เป็น " กรมสัสดี " |
พ.ศ.๒๔๔๖
|
ได้ออกข้อบังคับลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ.๑๒๒ |
พ.ศ.๒๔๔๘
|
ได้ตราพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ.๑๒๔ |
พ.ศ.๒๔๗๙
|
ได้ตราพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๗๙ |
พ.ศ.๒๔๘๐
|
ได้ยุบ กรมสัสดี ปรับโอนภารกิจให้ กรมเสมียนตรา กห.และ ให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบการเกณฑ์ทหาร |
พ.ศ.๒๔๙๗
|
ได้ตราพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ โดยให้ รมว.กห. และ รมว.มท. เป็นผู้รักษาการ พ.ร.บ. ฉบับนี้ |
พ.ศ.๒๕๑๓
|
กองทัพบก ได้จัดตั้ง กรมการกำลังสำรองทหารบก ให้มีกองการสัสดี เป็นหน่วยรอง มีหน้าที่ควบคุมและจัดกำลังพลไปเป็นสัสดีจังหวัดและสัสดีอำเภอ |
พ.ศ.๒๕๑๖
|
ให้ กองทัพบก โดย กรมการกำลังสำรองทหารบก (กองการสัสดี) รับหน้าที่ การเกณฑ์ทหารประจำปี แทน กระทรวงมหาดไทย |
พ.ศ.๒๕๔๔ |
ยุบรวม กรมการกำลังสำรองทหารบก กับ กรมการรักษาดินแดน เข้าด้วยกันเป็น " หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง " เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น กองการสัสดี หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เมื่อ ๑๐ ธ.ค.๔๕ โดย พ.อ.ชูเกียรติ เธียรสุนทร |
เป็นผู้อำนวยการกองการสัสดี คนที่๑๓ ( พ.ศ.๒๕๔๒ - ปัจจุบัน ) โดยมีที่ตั้งหน่วยอยู่ที่ กองการสัสดี | |
หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เลขที่ ๒ ถนนเจริญกรุง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ โทร ๐-๒๒๒๓-๓๒๕๙ |
ทำเนียบ ผู้อำนวยการกองการสัสดี |
๑. พ.อ. มานะ ๒. พ.อ.ประศาสน์ ๓. พ.อ.อรรคพล ๔. พ.อ.พงษ์เกียรติ ๕. พ.อ.วิจักร ๖. พ.อ.ปราโมทย์ ๗. พ.อ.สุพจน์ ๘. พ.อ.ศัลย์ ๙. พ.อ.กิตติพล ๑๐. พ.อ.กฤษดา ๑๑. พ.อ.เฉลิมพล ๑๒. พ.อ.ธนดล ๑๓. พ.อ.ชูเกียรติ |
รัตนโกเศศ ทองใบใหญ่ สมรูป สุดชูเกียรติ นิลจุลกะ ระงับภัย เกิดชูชื่น สุขสำเร็จ ผิวผ่อง ลิมพะสุต เรืองสวัสดิ์ เผ่าจินดา เธียรสุนทร |
๑ ต.ค. ๑๓ ๑ ต.ค. ๑๖ ๓ ส.ค. ๑๙ ๑๒ ธ.ค. ๒๐ ๙ พ.ย. ๒๔ ๑ ก.พ. ๒๕ ๑๒ ต.ค. ๒๖ ๑๗ ต.ค. ๒๘ ๑๗ ก.พ. ๓๒ ๑๗ ก.พ. ๓๔ ๒๒ ก.ค. ๓๕ ๒๓ พ.ค. ๓๙ ๒๗ ก.ย. ๔๒ |
- ๑ ต.ค. ๑๖ - ๑ ส.ค. ๑๖ - ๑๒ ธ.ค. ๒๐ - ๙ พ.ย. ๒๔ - ๑ ก.พ. ๒๕ - ๑๒ ต.ค. ๒๖ - ๑๗ ต.ค. ๒๘ - ๑๗ ต.ค. ๓๒ - ๑๗ ก.พ. ๓๔ - ๒๒ ก.ค. ๓๕ - ๒๓ พ.ค. ๓๙ - ๒๗ ก.ย. ๔๒ - ปัจจุบัน |
![]() พ.อ.ชูเกียรติ เธียรสุนทร เป็นผู้อำนวยการกองการสัสดี คนที่๑๓ ( พ.ศ.๒๕๔๒ - ปัจจุบัน ) |