Thaiweb.web.th - Articles Corner: Remarked CPUs
[main]
[articles] [site map]


thai language document

Q: CPU remark คืออะไร?
A: CPU remark ก็คือ CPU ที่ถูกเอามา overclock (โดยพิมพ์เบอร์รุ่นใหม่ให้สูงเกินจริง) การจับผิดดู
CPU ที่ remark ก็ใช้วิธีต่อไปนี้ครับ
1) ดูเบอร์ chip ใต้ CPU ว่ามีเลขรหัสตรงกับด้านบนหรือไม่ (เฉพาะ Pentium และ Pentium MMX แบบ
CPGA) ถ้าไม่ตรงกับด้านบนละก็ สงสัยได้เลยครับว่าโดน remark หรือถ้าร้านเอา warranty sticker แปะทับ
ไว้ก่อนก็สงสัยได้เหมือนกัน (ทว่า CPU ปลอมบางอันทำมาดี แก้เบอร์ทั้งข้างบนและข้างล่าง! ระวังหน่อยครับ)

2) ซื้อ CPU ดีๆทั้งที เอาใหม่แกะกล่องไปเลยครับ อย่าเสียดายเงิน 300-400 บาทค่ากล่อง ดูบนตัวกล่อง
กระดาษที่บรรจุ CPU ว่าพิมพ์รหัส CPU ตรงกับตัว chip หรือไม่ ถ้าไม่เหมือนก็สงสัยได้เหมือนกัน และก็
ดูกล่องผนึกชั้นในที่ใส่ CPU ด้วยนะว่ามีรอยแกะผนึกรึเปล่า ถ้าแกะกล่องแล้วผนึก CPU โดนแกะอยู่ก่อน
อย่าซื้อครับ อาจโดนย้อมแมวขาย (ผนึกไม่ค่อยเรียบร้อยก็สงสัยได้ด้วย) เอาให้ชัวร์ๆหน่อยละก็ให้คนขาย
แกะกล่องใหม่ต่อหน้าเราเลย แต่ก็ไม่แน่ว่าบางร้านอาจโดนย้อมแมวมาเหมือนกัน (แถมบางทีตัวปลอมมีกล่อง
เลียนแบบตัวจริงเลยก็มี!) และ CPU บางรุ่นหาที่ใส่กล่องได้ยาก เช่น K6-2

3) การพิมพ์เบอร์ใหม่อาจไม่ดีเหมือนที่โรงงานผลิต chip พิมพ์มา อาจมีตำหนิให้เห็นก็ได้ เช่น พิมพ์เบี้ยว
(อาจใช้แว่นขยายช่วยหาตำหนิ) ถ้าทำได้ลองเอาสำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดแผลเช็ดดูที่เบอร์ด้านบนเลย (หรือ
ด้านล่าง) หมึกที่พิมพ์อาจลอกออกและอาจมีรอยแก้หรือรอยเบอร์รุ่นเดิมเหลือให้เห็น (แต่พักหลังๆนี่หาไอ้
CPU แบบนี้ได้ยากแล้วครับ และบางรุ่นลายพิมพ์ของจริงอาจลอกได้เหมือนกันนะครับ ระวังด้วยถ้าจะทำ)

4) เพื่อลดความเสี่ยงลง เลือกหา CPU จากร้านที่มีใบรับรองว่าเป็นตัวแทนจำหน่ายที่ถูกต้อง

5) Pentium II (SECC1) ใช้โปรแกรมช่วยตรวจครับ ดูที่ตัว CPU chip ได้ยาก (ก็เล่นใส่ตลับนี่นา) หา
โปรแกรมสำหรับตรวจได้ที่ http://www.heise.de/ct/ หรือดูสภาพตลับ CPU ว่ามีร่องรอยการงัดแงะ
หรือแก้ไขภายนอกตลับหรือไม่

6) การทดสอบที่สุด classic คือ ลอง overclock chip เพิ่ม (สัก 1-2 ขั้น) ถ้าเกิดทำงานไม่ได้ hang หรือ
ร้อนขึ้นมากๆ หรือมีอาการแปลกๆ ก็อาจเป็น CPU remark (แต่ว่า CPU บางรุ่น/อัน overclock ได้สูง
บางรุ่น/อัน ก็ได้น้อย อาจจับไม่ได้)

7) Intel ตอนนี้ใจดี เปิด site ให้คนเข้ามาดู spec CPU ตามรหัสรุ่น (S-code) ของ CPU แล้ว โดยรหัสรุ่น
จะอยู่ในรูปคล้ายกับ SL27K จดรายละเอียดบนชิปด้านบน(หรือล่าง)เอามาดูเทียบได้เลย
  Pentium (รวม MMX) ดูได้ที่ http://developer.intel.com/design/pentium/qit/
  Pentium II ดูได้ที่ http://developer.intel.com/design/pentiumII/qit/
  Celeron ดูได้ที่ http://developer.intel.com/design/celeron/qit/

รหัสของ Pentium-II อยู่ด้านบนของตลับ รหัสของ Celron (SEPP) อยู่ที่แถบขาวตรงขอบของแผง

AMD K6-2 มีรอยแกะที่มุมบนขวาของ ceramic 8) AMD K6-2 รุ่นหลังๆ แบบที่ผิวเหล็กด้านบนจะเป็นรอยแกะ
บนเนื้อเหล็ก(ไม่ใช่แบบพิมพ์สีดำ) จะมีเลขบอกความเร็วเป็น
รอยแกะบน ceramic ที่มุมหนึ่งเป็น NNN MHz (อาจต้อง
ใช้แว่นขยายดูรอยแกะบน ceramic ที่มุมเพื่อหาตำหนิ)
หรือดูรอยกาวระหว่างแผ่นเหล็กกับ ceramic


9) วิธีที่ทำให้แน่ใจได้ว่า CPU ไม่ถูก remark ข้ามรุ่นคือ การใช้คำสั่ง CPUID ซึ่งจะให้รายละเอียดของ
CPU ออกมาแก่ software ที่ร้องขอ ถ้าต้องการอ่านรายละเอียดนี้ ใช้โปรแกรมเช็ค CPUID ของผู้ผลิต
โดยหา D/L ได้ใน web site ของผู้ผลิต CPU หรือใช้ software รายงานสเปกของระบบอย่างละเอียด
เช่น Sisoft's Sandra, PC-Config   รายละเอียดนี้เชื่อถือได้เพราะติดตั้งมาในตัว chip เลย
และ site ที่มีตารางค่า spec. ต่างๆ ของ CPU ทุกรุ่นนอกจากในข้อ 7 คือ www.sandpile.org

10) CPU ที่ remark มักเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยม คุณอาจเลี่ยงไปใช้รุ่นต่ำกว่า ที่คนไม่ค่อยนิยมกันนัก
ซึ่งน่าจะมีการปลอมน้อยหรือไม่มีเลยก็ได้ รุ่นต่ำสุดของ CPU ในแต่ละสาย(ที่คงจะไม่ remark แน่ๆ) มี

01) Intel Pentium 75 (คงไม่อยากใช้กันแล้ว)
02) Intel Pentium 166 MMX (PPGA)
03) Intel Pentium II 233
04) Intel Celeron 266
05) AMD K6-166
06) Cyrix (ไม่ได้ยินว่ามี)
07) IDT Winchip (ยังไม่มีข่าวว่าเจอ)
08) AMD K6-2 300
09) Intel Celeron 300A (PPGA)
10) Intel Pentium II 350 (SECC2)
11) AMD Athlon 500

11. intel มี โปรแกรมสำหรับตรวจสอบความเร็วของ Pentium III โดยเฉพาะ ไปdownload ได้ที่
developer.intel.com

CPU remark นั้นเข้าข่ายผิดกฏหมาย (ฉ้อโกงผู้อื่นหรือปลอมแปลงสินค้า) ถ้าท่านพบว่า CPU ของท่านโดน
remark ท่านอาจจะไม่อุดหนุนร้านนั้นอีกเลย (ถ้าท่านคิดว่าเขาไม่รู้จัก CPU remark เลย) หรือแจ้งทาง
บริษัทตัวแทนของ CPU นั้นในไทย (ถ้าเขาหลอกลวงว่าเขาเป็นตัวแทนจำหน่ายที่ถูกต้อง)

ปรับปรุงล่าสุด: 26 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ถ้าคุณมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม บอกมาเลยครับ


[top] [main] [articles] [site map]