Modifly Computer
ระบายความร้อนภายในเคสให้เย็นเท่ากับอุณหภูมิห้องด้วยพัดลม 80mm,92mmและ120mm ภายในเคสจะมีความร้อนเกิดขึ้นจากการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆภายในคอมพิวเตอร์ เช่น ความร้อนจากอุปกรณ์ทรานซีสเตอร์ ขดลวด ตัวต้านทานตัวเก็บประจุในเมนบอร์ด ชิพเช็ต การ์ดแสดงผล ฮาร์ดดิสก์และไดร์ซีดีรอม DVD และCD-Writer ที่สำคัญที่สุดและเกิดความร้อนสูงกว่าที่อื่นคือ ซีพียูและชิพการ์ดแสดงผล3d ยิ่งมีอุปกรณ์มากเท่าไหร่ความร้อนรวมก็สูงขึ้นเท่านั้น และหากไม่มีการหมุนเวียนอากาศ ก็เหมือนกับกักลมร้อนภายในเคส ผลคือพัดลมซีพียูก็ดูดลมร้อนเป่าใส่ซีพียูแทน ไม่แปลกเลยครับว่าหากทำงานในห้องที่ร้อนจัดเตาอบ ซีพียูดูรอนจะร้อนขึ้นเกิน 45-50องศายังได้เลยครับ แล้วอาจเป็นสาเหตุนึงที่ทำให้ระบบแฮงค์หรือรวนอยู่บ่อยๆ พอเพิ่มพัดลมดูดอากาศตัวใหญ่ๆ สัก 120mm ใกล้ซีพียู ภายในเคสความร้อนจะลดลง 4-5องศาอาการแฮงค์หายไปจึงต้องมีพัดลมดูดอากาศร้อนออกไปเพิ่มเติม อย่างน้อยให้ลมเย็นกว่าหมุนเวียนระบายความร้อนซีพียู และทั้งเคสแทนที่ครับ คอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาใช้งานกันส่วนใหญ่จะมีพัดลมระบายความร้อนของเคสมาให้แล้วคือตัวเพาเวอร์ซัพพลายตัวเดียว ซึ่งมีพัดลมเพียงตัวเดียวที่ติดตั้งมาพร้อมกับตัวเพาเวอร์ ซึ่งดูดลมร้อนออกจากเคสได้อยู่แล้ว เมื่อใช้งานไปสักพักหากเป็นห้องธรรมดา และคอมพิวเตอร์ของคุณความเร็วสูงด้วย และมีอุปกรณ์ต่อพ่วงในเครื่องใช้งานมาก และเกิดปัญหาความร้อนของเคสตามที่กล่าวไว้เมื่อกี้ พัดลมเพาเวอร์ซัพลลายตัวเดียวไม่พอเพียงแล้วครับ วิธีง่ายๆในการระบายความร้อนที่สะดวกที่สุดและประหยัดที่สุด ก็เป็นวิธีเก่าๆแต่ได้ผลดีเหมือนกัน คือ "การเปิดฝาเคสออกมา" แล้วหาพัดลมตั้งโต๊ะเป่าใส่ ทำให้อากาศเย็นทั่วเครื่องได้ครับ แต่เป็นการเป่าลมกระจายในวงกว้างไม่ได้ระบายเฉพาะจุด แต่กรณีเราต้องโอเวอร์คล็อกหรือใช้งานซีพียูที่อุณหภูมิสูง การระบายความร้อนอย่างเร็วในพื้นที่จำกัดสำคัญมากครับ สรุปยิ่งเป่าลมใกล้ บังคับลมไห้เป่าไหลโดนจุดที่เกิดความร้อนตรงๆ ก็ยิ่งระบายความร้อนได้ดี แต่ว่าภาพที่เราเห็นเครื่องเปลือยๆมันดูยังไงอยู่น่ะครับ ถ้าเป็นเคสสีครีมธรรมดาจืดๆคงไม่เท่าไหร่ แต่เกิดเป็นเครื่องสุดหวง สุดรักอุตสาห์ซื้อมาแพงๆ เคสก็สวยงามอีก และการเปิดฝาโอกาสที่ฝุ่นเข้าสะสมมีน้อยกว่าปิดฝาเคส เสียด้วย แปลกดีครับ แต่เมื่อปิดฝาเคสและเพิ่มพัดลมดูดอากาศออกไป จะมีฝุ่นจับเกาะภายในเครื่องเร็วกว่าปกติ อย่างไรก็ควรหมั่นทำความสะอาดสม่ำเสมอจะดีกว่าครับ ลงทุนดีกว่า...แถมได้ทำเป็นงานอดิเรกได้ความรู้เรื่องระบายความร้อนไปในตัวด้วยครับ จะใช้พัดลมอะไรระบายความร้อนเคสดี ก็เป็นพัดลมแบบSleeveธรรมดาก็ได้ครับ ที่ใช้ไฟกระแสตรง 12โวลต์ แรกๆเสียงค่อนข้างเงียบและหมุนดี แต่พอใช้งานไปนานเข้า จะเริ่มมีเสียงดังเพราะใบพัดและแกนมอเตอร์มีเศษฝุ่นมาเกาะทำให้หมุนช้าลง แก้ได้โดยแกะออกมาทำความสะอาด และหยอดน้ำมันซิงเกอร์ ไม่ก็เสปรย์หล่อลื่นมอเตอร์กระป๋องราคาไม่เกินร้อยบาท ควรใช้เสปรย์ฉีดใส่ตลับลูกปืนดีกว่าครับ จะให้ดีหน่อยเลือกพัดลมแบบBall Bearingจะดีกว่าเพราะมีอายุการใช้งานนาน การทำความสะอาดทำได้ง่าย พัดลมของเคสบางตัวที่วางขายกันตามท้องตลาดก็มีหลายขนาดตั้งแต่เล็กอย่างพัดลมขนาด10mm ,20mm,25mm ,30mm ,40mm, 50mm,60mmจนถึง80mm 90mm 120mmหรือใหญ่กว่ากำลังลม กำลังวัตต์หรือกระแสแอมป์ต่างกัน ตัวที่ใหญ่จะมีแรงลมสูง หมุนช้า เสียงค่อนข้างเบากว่าเมื่อเทียบกับพัดลมรุ่นเล็กที่มีแรงลมเท่ากัน แต่พัดลมใหญ่จะใช้ระบายความร้อนบริเวณกว้าง พัดลมเล็กก็ใช้ระบายความร้อนในเฉพาะจุด พัดลมระบายความร้อนเคสที่นิยมกันมักใช้ขนาด60mmและ80-90mm เป็นส่วนใหญ่เพราะขนาด 80mmสามารถติดตั้งเพิ่มเติมในเครื่องได้ทันทีเพราะเคสATXออกแบบให้มีที่ติดตั้งไว้เพิ่มเติมภายหลังได้อีก 2 ตัว ส่วน90mmและ120mm จะต้องดัดแปลงต่อเอาภายในเคส ว่าจะเลือกดูด หรือเป่าลมใส่ส่วนไหน ส่วนใหญ่จะออกแบบให้ดูดความร้อนใกลซีพียูไม่ก็ส่วนบนของเคสเหนือเพาเวอร์ซัพพลาย นอกจากนี้ยังมีพัดลมที่ใช้ไฟกระแสสลับหรือใช้ไฟบ้านด้วย ที่หมุนเร็วและให้แรงลมที่แรงกว่าพัดลมกระแสตรง แต่ราคาแพงกว่าพอสมควรครับ แล้วก็ต้องต่อแยกต่างหากใช้สายไฟบ้านต่ออีกที ยังไงจะแนะนำพัดลมไฟกระแสตรงให้ก่อนครับ แหล่งขายพัดลมสำหรับเคส หาได้ตามร้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ย่านบ้านหม้อจะมีหลายเกรดหลายขนาด และยี่ห้อ ราคาถูกกว่าพันทิพย์มาก ที่พันทิพย์จะขายตัวละ 100-600บาท แต่บ้านหม้อขายตัวละ 40บาท-60บาท เป็นอย่างต่ำแต่จะไม่มีสายวัดรอบครับ และเป็นแบบSleeveส่วนใหญ่ แบบballก็มีบ้างครับมักจะพบขนาดใหญ่มากกว่า ประสิทธิภาพก็ดีกว่าที่ขายตามห้างพันทิพย์ด้วยเพราะหมุนแรงลมแรงกว่าด้วย แต่พัดลมส่วนใหญ่จะให้แต่ตัวพัดลมมาไม่มีหัวต่อ4ขาสำหรับเพาเวอร์ซัพพลาย คุณซื้อมาแล้วก็ต้องจัดการเชื่อมสายไฟเองครับ พัดลมซีพียูบางตัวทำสายวัดรอบและหัวต่อเข้าเมนบอร์ดมาให้แล้วก็มี ถ้าคุณซื้อมาแล้วขี้เกียจจะต่อเองก็ใช้ช่างทำหัวต่อให้ได้ครับ เพราะอะไหล่มีพร้อมเดินหาดูดีๆก็เจอ ส่วนใหญ่จะวางขายตามหน้าร้านตรอกซอย และริมถนนทางเดินมีขนาด 60,80mmส่วนใหญ่ ราคาก็ถูกดีครับ สามารถลองทดสอบการหมุนก่อนได้ หลังๆห้างพันทิพย์เริ่มจะเอาพัดลมบ้านหม้อมาขายกันแล้วครับ แถมขายราคาแพงเสียด้วย ของแพงใช่ว่าจะดีนะ ดูเป็นก็ได้เปรียบ หลักการเลือกพัดลมเคส ควรเลือก 3 ขนาด คือ 80mm 92mmหรือตามที่ขายกันทั่วไปเรียกติดปากว่า90mmนั่นล่ะครับ และรุ่นใหญ่หน่อยคือ 120mm ชนิดใช้ไฟDCครับ ที่ขายตามบ้านหม้อส่วนใหญ่3รุ่นที่ผมบอกจะไม่มีสายวัดรอบ มีสองสายเองครับ คือ แดง(+)กับดำ(-) และไม่มีหัวต่อมาให้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาไปเชื่อมกับแหล่งจ่ายไฟตรงของอะไร ของเมนบอร์ด ของหม้อแปลง หรือของเพาเวอร์ซัพพลาย ต่อได้หมดครับ ให้สายสีเหมือนกันเป็นใช้ได้ แต่สายเพาเวอร์ซัพพลายจะมี 4เส้น 2คู่ 12Vคู่หนึ่งและ 5โวลต์คู่หนึ่ง สายเส้นสีเหลือง(+)จะเป็นสาย 12Vครับ กำลังกระแสไฟของพัดลมไม่ควรให้เกินกว่า 0.4A หรือ 12Vx0.4a=5วัตต์ เพราะเกินกำลังเมนบอร์ดจะจ่ายไหว ให้แยกต่อใช้ไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายโดยตรงจะดีกว่าครับ แต่ว่า พัดลม 80mm,90mm,120mm รุ่นลมแรงจะมีกำลังกระแสเกิน 0.3aขึ้นไป อย่างน้อยก็3.6วัตต์แล้วครับ และยังมีพัดลมใช้กระแสต่ำกว่า 0.1-0.2a มีเหมือนกันแต่ลมไม่แรงครับ แรงลมน้อยกว่าพัดลม0.3aด้วยซ้ำ คงไม่เหมาะนักที่จะเอามาระบายความร้อนเคส แต่ข้อดีคือ เสียงรบกวนมีน้อย เพราะพัดลมเป่าลมแรงเสียงก็ค่อนข้างจะดังตามครับ AirFlowของพัดลม จากพัดลม 80mm ที่กำลัง 1วัตต์ จะให้AirFlowหรือปริมาณแรงลมไม่เกิน 40CFM(คิวบิค-ฟุตหรือลูกบาศก์ฟุต-เมตร) หากต้องการปริมาณลมเกินกว่า 40CFMต้องใช้กำลังถึง 3วัตต์ดังรูป ที่3.6วัตต์ปริมาณลมอยู่ที่ 42CFM พัดลม90mm ที่3.6วัตต์ จะให้ปริมาณลม ประมาณ 50CFM ดังรูป พัดลม120mm ที่ 3.6วัตต์ จะให้ปริมาณลม ประมาณ 80CFM ดังรูป เมื่อเทียบกับพัดลมขนาด80mm 90mmและ120mmที่กำลัง 1วัตต์เท่ากัน พัดลม80mm ขนาด 1วัตต์ จะได้ปริมาณลมที่ไม่เกิน 25CFM ส่วน 90mmที่ 1 วัตต์จะให้ปริมาณลมถึง 30CFM และที่ 120mmที่ 1 วัตต์เท่ากันปริมาณลมจะให้ถึง 50CFMเลยทีเดียวครับ และพัดลม120mmจะมีเสียงค่อนข้างเงียบว่าขนาด80mmด้วย เพราะตัวใหญ่หมุนช้ากว่าตัวเล็ก จากรูปเห็นได้ชัดว่า เพิ่มขนาดพัดลมใหญ่ขึ้นมาก AirFlowหรือปริมาณลมที่เป่าได้ก็มากตามด้วย และหากเพิ่มกำลังวัตต์มากขึ้นพัดลมก็หมุนเร็วขึ้น ทำให้ปริมาณลมหรือAirFlowก็มากตามกันหมดในพัดลมทั้ง 3ขนาด และเมื่อCFMมากขึ้น กำลังอัดของลม ก็มีสูงตามด้วย ดังนั้นการติดตั้งพัดลมระบายความร้อนในเคสขนาดเท่าใดควรจะดูรูปแสดงความสัมพันธ์ขนาดพัดลม กำลังวัตต์พัดลมและปริมาณแรงลม(CFM)เป็นหลักครับ หากจะให้ผลประสิทธิภาพสูงขึ้น เลือกพัดลม 120mmตัวเดียวจะดีกว่า เพราะประสิทธิภาพก็เท่ากับพัดลม 80mm 2 ตัวที่รวมแล้วได้ปริมาณแรงลมเท่ากัน และมีเสียงเงียบกว่าพัดลมตัวเล็กด้วยครับ การติดตั้งพัดลม 80mm 90mm 120mm แผนภาพแสดงการติดตั้งพัดลมและทิศทางลมภายในเคส
1.ติดตั้งตามช่องที่เตรียมไว้แล้วซึ่งมีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง พัดลม 80mmติดตั้ง ได้ในด้านหน้าของเคส แล้วต่อสายเข้าหัวต่อ4ขาของเพาเวอร์ซัพพลายได้ตามปกติ พัดลมด้านหน้าให้ดูดจากข้างนอกมาเป่าลมใส่ เป่าเพื่อเป่าลมเย็นเข้าไปในเคส หากเป็นช่องด้านหลังก็ติดตั้งเพื่อดูดลมออก พัดลมด้านหลังก็ดูดลมออกเช่นกัน วิธีนี้ทำให้ลดความร้อนในเคสได้ไม่มาก หารสองเสริมกับพัดลมเพาเวอร์ซัพพลายครับ 2.ติดตั้งบนเคส เหนือซีพียูลักษณะนี้เป็นการติดตั้งพัดลมให้ดูดลมร้อนออกไป โดยอากาศร้อนจะลอยจากข้างล่างขึ้นข้างบนตามธรรมชาติ หากเป็นเคสชนิดATX ซีพียูจะอยูใกล้ช่องดูดความร้อนออกของเพาเวอร์ซัพพลาย และอยู่ใกล้ฝาเคสด้านบน กรณีที่เพาเวอร์ซัพพลายไม่ได้มาตรฐานกระระบายอากาศ หรือราคาถูก ไม่ก็เคสATXออกแบบการติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายเป็นแนวตั้งเหมือนรูปข้างล่าง ประสิทธิภาพการระบายความร้อนจะมีน้อยลง เราอาจจะทำการดัดแปลงฝาเคส โดยการเจาะรูแล้วเพิ่มพัดลมดูดความร้อนตรงเหนือซีพียูจะได้ผลดีที่สุด พัดลมที่ติดตั้งได้มีทั้ง 80mm,90mmและ120mm ควรติดตั้งเหนือซีพียูพอดี และใกล้ฮีทซิงค์ซีพียูให้มากที่สุด เพื่อดูดลมร้อนออกไป จากรูปบนสามารถติดตั้งพัดลมนาด90mm120mmเพื่อดูดลมจากฮีทซิงค์ซีพียูออกไปได้ ทำให้บริเวณที่ดูดลมจะเย็นกว่าเป็นผลดีกับฮีทซิงค์ซีพียูให้เย็นเร็วด้วยครับ วิธีนี้จะต้องเจาะฝาเคสให้เป็นรูเดียว ขนาดพอดีกับขนาดพัดลม และตัดรูตามขนาดใบพัด 80mm,90mmและ120mm แล้วติดพัดลมกับใส่ตะแกรงกันฝุ่นเข้าหรือกันนิ้วบาดใบพัดลงไป ต้องใช้สว่านออกแรงเจาะ เจาะนำร่องรูเดียวแล้วใช้เลื่อยจิ๊กซอเลื่อยเป็นวงกลมตามที่ต้องการก็ได้ครับ งานหนักใช้แรงกรรมกรทำ อิ อิ หรือจะสว่านเจาะให้พรุนเป็นรังผึ้งก็ได้ครับ ถ้าเจาะเป็นหลายๆรูพรุนแบบรังผึ้ง ก็สามารถดูดลมออกได้ดี แต่ไม่ดีเท่าตัดเป็นวงกลมใหญ่ ที่ให้ประสิทธิภาพแรงลมสูงกว่าถึง 30%เพราะไม่มีเนื้อเหล็กขวางลม AirFlowจึงไม่ลดลง วิธีรูใหญ่รูเดียวเวิร์คสุดครับ พอเจาะแล้วก็ทำการติดตั้งพัดลมเคสลงไป ขันน็อตให้แน่น แล้วทำการต่อสายไปเลี้ยงพัดลม ทำปลั๊กเสียบ ทำสวิตซ์เปิดปิดพัดลมเพิ่มเติมได้ถ้าคุณต้องการ วิธีรูใหญ่บนเหนือเคสเป็นวิธีที่ดีมากครับ เพราะดูดลมร้อนใกล้ซีพียูได้ผลเร็ว และเข้าตามหลักการลอยตัวของความร้อน 3.ติดตั้งด้านข้างซ้ายของเคส วิธีนี้ควรติดตั้งให้เป่าลมใส่ครับ เพราะเป็นการเป่าลมเย็นใส่ทั้งเมนบอร์ดตรงๆเลย การติดตั้งติดตรงที่กันฝุ่นเข้าหลังเครื่องนั่นล่ะครับ หรือเจาะรูเคสแล้วทำที่ยึดพัดลมให้เป่าใส่เมนบอร์ดก็ได้ครับถ้าใช้พัดลมขนาดใหญ่ๆเช่น 120mm 2ตัว หนือใหญ่กว่าตัวเดียวเป่า วิธีนี้ระบายความร้อนได้ทั้งซีพียูทั้งการ์ดต่างๆ และไดร์ฟต่างๆ ตัวเมนบอร์ด และทำให้ระบบภายในเคสเย็นลง แต่เหมาะกับเคสที่มีเนื้อที่เหลือพอ เพราะจะลดการเป่าอากาศร้อนน้อยลงครับ
4.ผสมผสาน ข้อ1,2และข้อ3 หากใช้ 3ข้อด้วยกันหมด พัดลมที่จะเพิ่มจะมีถึง 5ตัวเลยครับและทำให้ความร้อนในเคสลดลงได้เยอะมากกว่า เย็นต่ำกว่าหรือเท่ากับอุณหภูมิห้อง แถมเป็นการเป่าใกล้อุปกรณ์มากที่สุดด้วย แต่พัดลมมีเยอะเท่าไหร่ เสียงรบกวนจะมีเสียงดังตามด้วยครับ พัดลมตัวใหญ่ที่เหมาะกับระบบระบายความร้อนของเคสที่ดีควรเป็นขนาด 90mm,120mmหรือใหญ่กว่าก็ได้ เพราะตัวใหญ่จะให้ปริมาณแรงลมสูงกว่าตัวเล็กที่วัตต์เท่ากัน และมีเสียงดังที่เกิดจากการหมุนของใบพัดน้อยกว่า ตัวใหญ่หมุนช้า เสียงเบา แต่แรงลมเท่ากับตัวเล็กหมุนเร็วแต่เสียงดัง พัดลมตัวใหญ่120mmตัวเดียวให้ปริมาณแรงลมเท่ากับตัวเล็ก80mm 2ตัวรวมกันครับ และควรติดตั้งบริเวณที่มีอากาศร้อนไหลผ่าน ลอยตัวมากที่สุดครับ อุณหภูมิหลังการใช้งานพัดลมระบายความร้อนเคส.. ผมติดตั้งพัดลม2ตัวในเคส 80mmเป่าใส่เมนบอร์ด ส่วน90mmติดตั้งไว้บนฝาเคสเหนือซีพียู ฮีทซิงค์ฐานทองแดงธรรมดา แต่กลับด้านพัดลมเป็นดูดแทน ดูรอน600MHz 1.7โวลต์ ความร้อนจากเดิมที่ไม่ได้ติดตั้งพัดลมจะอยู่ที่ 44-45องศา ในห้องธรรมดา พอผมใส่พัดลม90mm กำลังงาน 2.5w เจาะฝาเป็นวงกลมขนาดเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด80mm ดูดอากาศร้อนจากฮีทซิงค์ออกไป ผลคือความร้อนซีพียูลดลงมา4-5องศา เหลือ41-42 ไม่เกินไปกว่านี้ ความร้อนของเคสก็ลดลงมาด้วยเช่นกันจากเดิมอุณหภูมิภายในเคสอยู่ที่ 34-35องศา เหลือเพียง31-32องศาครับ หลังติดตั้งพัดลม ที่ไม่ควรละเลยคือ เมื่อพัดลมติดตั้งเพิ่มขึ้น การมีฝุ่นเข้าเครื่องย่อมมากขึ้น เพราะหากติดตั้งพัดลมแบบเป่าลมลงไป ยิ่งเป็นพัดลมตัวใหญ่มากเท่าไหร่ จะมีฝุ่นเกาะเร็วขึ้นกว่าเดิม อย่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ติดพัดลมเป่าใส่จำนวน 3ตัวขนาด80mmขึ้นไป เมื่อใช้งานประมาณ 3อาทิตย์ จะเริ่มมีฝุ่นมาเกาะสะสมภายในเคสบ้างแล้ว สังเกตได้จากตัวพัดลมครับ ใบพัดจะมีฝุ่นเกาะค่อนข้างเยอะ แก้ปัญหาฝุ่นเกาะได้โดยหาตะแกรงกรองฝุ่นมาใส่ แต่อาจทำให้ประสิทธิภาพดูดลมลดลงบ้าง หากฝุ่นเกาะมาก จะทำให้พัดลมหมุนช้าลงด้วยจึงควรเปิดเครื่องออกทำความสะอาดบ้างเป็นครั้งคราว เดือนละครั้งก็พอเพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากฝุ่น การทำความสะอาดให้ใช้ผ้าแห้งเช็ดจะดีกว่า หากต้องการความปลอดภัยจากไฟฟ้าสถิต ขณะทำความสะอาดแผงวงจรบอร์ดก็ควรหาเสปรย์สลายไฟฟ้าสถิตฉีดพ่นก่อนเช็ดทำความสะอาด หรือใช้โบโว่เป่าลมเลยก็ได้ครับ
|
ICQ
16489378
email to
© Copyright 2000-2001. MUHN-Computer. All Rights Reserved.
WebMaster:muhn@hotmail.com