ปรับแต่งไบออสเครื่อง
การFlash
BIOS
Flash BIOS to Error เมื่อFlash BIOS ผิดรุ่น หรือไม่สำเร็จ
การปรับแต่งไบออสที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ให้ดีขึ้น
เพราะค่าเดิมถูกตั้งมาจากโรงงานหรือจากช่างเป็นมาตรฐาน แต่ คุณสามารถปรับแต่งไบออสให้เหมาะสมกับระบบของคุณ
และทำการอัพเกรดไบออสเท่าที่จำเป็น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คอมพิวเตอร์คุณทำงานดีขึ้น
รู้จักฮาร์ดแวร์ใหม่ๆและเสถียรภาพขึ้นได้
มาทำความรู้จักกับ BIOS
กันก่อน
BIOS หรือ Basic Input
/ Output System เป็นโปรแกรมที่บรรจุอยู่ใน chip ROM ( เป็น EPROM
: Erasable Programmable Read-Only Memory ) ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดค่าต่างๆ
ให้แก่เครื่อง Computer โดยจะควบคุม function การทำงานต่างๆ ที่สำคัญๆ ทั้งการควบคุม
Keyboard ทั้งการควบคุมรายละเอียด การพิมพ์ตัวอักษร บนหน้าจอ ควบคุมการส่งข้อมูลผ่าน
Port สื่อสารต่างๆ และยังรวมไปถึง ฟังก์ชั่นอื่นๆ อีกมากมาย อีกทั้งยังเป็นตัวกำหนดความเข้ากันได้
ของ Hardware ต่างๆ ที่จะมาใช้บน Mainboard นั้นๆ อีกด้วย
สำหรับ เครื่อง Computer เครื่องใหม่ๆ จะใช้ BIOS แบบที่สามารถ Upgrade หรือสามารถ
แก้ไข เพิ่มเติม function และ ความเข้ากันได้ด้วย เรียกว่า Flash BIOS โดย
Flash BIOS นี้จะถูกเก็บไว้บน Flash ROM และ จะสามารถทำการ Upgrade BIOS
ได้ โดยผ่านทาง Flash Program ใช้โปรแกรมเขียนข้อมูลไบออสด้วยกระแสไฟฟ้าทำให้สะดวกต่อผู้ผลิตมากขึ้น
เพราะสามารถ update BIOS เพื่อแก้ไข เพิ่มเติม function ต่างๆ ในภายหลังได้
( มิฉะนั้นแล้ว ก็ต้องผลิต BIOS ตัวใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ เพื่อเพิ่ม feature
เพียงอย่างเดียว หรือ 2 อย่าง หรือแม้แต่ เรื่องของการ support CPU ก็เช่นกัน
)
BIOS นั้น สำคัญไฉน ตอบได้เลย ไม่มีมัน แม้แต่จะ Boot เครื่อง ก็ยังทำไม่ได้เลย
ในเมนบอร์ดมีอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าซีพียู
คือ ชิพเซ็ต และหน่วยความจำไบออส หรือเรียกว่า ซีมอส(CMOS) เพราะชิพเซ็ตเสมือนกับศูนย์กลางควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิดที่อยู่บนเมนบอร์ดตั้งแต่
ซีพียู แรม หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำแคช ระบบบัสแบบPCI ระบบบัสISA ระบบการฟิกบัสAGP
ชิพ Harddisk Controller Floppydisk Controller และพอร์ตชนิดต่างๆ
BIOS มาจากBasic Input /Output System เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์นำเข้า
ส่งออกข้อมูลพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ CPU หน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก
จอภาพ คีย์บอร์ด ดิสก์ไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ โมเด็ม พรินเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ในคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำไบออส ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นในการบูตระบบขั้นพื้นฐาน
และบริหารระบบ ควบคุมคอมพิวเตอร์ ใช้ภาษาระดับต่ำหรือภาษาเครื่อง ควบคุมระหว่างอุปกรณ์กันโดยตรงเลย
และเราสามารถเซ็ตค่าต่างๆ ผ่านทางซอฟต์แวร์ยูทิลิตี้ที่อยู่ภายในไบออสได้
การปรับแต่งค่าไบออส (BIOS Setup) เป็นวิธีเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
แต่ควรรอบคอบด้วยครับ เพราะมันหมายถึงคุณไปแก้ปรับระบบโดยตรง หากเซ็ตผิด
ก็จะทำให้ระบบคอมพิวเตอร์บูตไม่ได้ภายหลัง คุณควรบันทึกค่าต่างๆก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
และควรทำทีละจุด ทีละขั้น เพื่อจะได้รู้ว่าสาเหตุอะไรที่ระบบไม่บูต และเมนบอร์ดแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อมีไบออสแตกต่างกันไป
หรือคนละเวอร์ชั่นครับ เช่น ยี่ห้อคอมแพคก็เป็นไบออสของคอมแพค ยี่ห้อ ASUS
ก็จะใช้ไบออสของAward หรือAMI BIOSเป็นต้น
และหัวข้อในไบออสไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกรุ่น การเซ็ตค่าหากไม่รู้จักมันจริงๆ
ก็ควรตั้งค่าเดิมไว้จะดีกว่า หลังจากปรับค่าแล้ว ให้Saveก่อนออกจากไบออสด้วย
หากไม่สามารถบูตได้ ให้ปิดเครื่องและเปิดคู่มือเมนบอร์ดหาจัมเปอร์หรือดิพสวิตช์
แล้วทำการClear CMOS บนเมนบอร์ดซะ แล้วค่าต่างๆที่เซ็ตไว้จะถูกลบและกลับไปใช้ค่าตามที่ตั้งไว้จากโรงงานแทน
แล้วเริ่มเซตค่าต่างๆใหม่อีกที
การอัพเกรดไบออส
สำหรับเครื่องรุ่นเก่า
ทำได้โดยการเปลี่ยนชิพใหม่เท่านั้น เครื่องรุ่นใหม่ๆสามารถอัพเกรดโดยใช้ชอฟต์แวร์อัพเกรด
เรียกว่า Flash
BIOS เหตุที่อัพเกรดไบออสเพื่อให้สามารถสนับสนุนคุณสมบัติใหม่ๆเพิ่มเติม
เช่น บูตเครื่องจากไดร์ฟอื่นนอกจากไดร์ฟA เช่นSCSI, ZIP, LS120, CDROM
สนับสนุนแรมชนิดใหม่ๆ สนับสนุนMMX สนับสนุนมาตรฐาน
USB มาตรฐาน PCI2.1, AGP, IEEE9534
หรือแก้ปัญหาปี2000
เราสามารถหาข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ตของเว็บไซต์ผู้ผลิตได้โดยตรงครับ
การอัพเกรด ควรทำด้วยความระมัดระวัง ตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่าไบออสที่ได้มานั้นใช้สำหรับเมนบอร์ดรุ่นที่คุณใช้แน่ๆ
และทำการเซ็ตเมนบอร์ดให้อนุญาติทำการอัพเกรดไบออส โดยการเซ็ตจัมเปอร์หรือดิพสวิตช์
และพยายามอ่านวิธีใช้งานให้ละเอียด ในส่วนของ Read meด้วยครับ
จะทราบได้อย่างไรว่า
Mainboard ที่เราใช้นั้น เป็น Flash BIOS หรือเปล่า
โดยการตรวจสอบ
Spec จากคู่มือของ Mainboard หรือ ตรวจสอบผ่านทาง Web Site ของผู้ผลิตครับ
ถ้าไม่ทราบรุ่นของ Mainboard ไม่ทราบแม้แต่ว่าใช้ Mainboard ยี่ห้อ
อะไร ก็หา WebSite ของผู้ผลิตไม่ได้ แถม คู่มือ ก็ไม่มี ก็ต้องเปิดฝา CASE
ออกมา แล้ว ลองมองหา Chip ตัวเล็กๆ ที่เป็น DIP IC ขนาด 28 หรือ 32 ขา ซึ่งก็มักจะมี
Sticker ยี่ห้อของ BIOS นั้นๆ ติดไว้ สังเกตค่าบน Chip ดังกล่าว แล้วมาเปรียบเทียบดังนี้ครับ
- Am29F010:
AMD 5 volt flash ROM
- Am28F010,
Am28F010A: AMD 12 volt flash ROM
- AT28C010,
AT28MC010, AT29C010, AT29LC010, AT29MC010: Atmel 5 volt flash ROM
- CAT28F010V5,
CAT28F010V5I: Catalyst 5 volt flash ROM
- CAT28F010,
CAT28F010I: Catalyst 12 volt flash ROM
- 28F010:
Fujitsu 12 volt flash ROM or ISSI 12 volt flash ROM
- HN58C1000:
Hitachi 5 volt flash ROM
- HN28F101,
HN29C010, HN29C010B, HN58C1001, HN58V1001: Hitachi 12 volt flash ROM
- A28F010,
28F001BX-B, 28F001BX-T, 28F010: Intel 12 volt flash ROM
- M5M28F101FP,
M5M28F101P, M5M28F101RV, M5M28F101VP: Mitsubishi 12 volt flash ROM
- MX28F1000:
MXIC 12 volt flash ROM
- MSM28F101:
OKI 12 volt flash ROM
- KM29C010:
Samsung 5 volt flash ROM
- DQ28C010,
DYM28C010, DQM28C010A: SEEQ 5 volt flash ROM
- DQ47F010,
DQ48F010: SEEQ 12 volt flash ROM
- M28F010,
M28F1001: SGS-Thomson 12 volt flash ROM
- 28EE011,
29EE010: SST 5 volt flash ROM
- PH29EE010:
SST ROM Chip - Flashable
- TMS29F010:
Texas-Instr. 5 volt flash ROM
- TMS28F010:
Texas-Instr. 12 volt flash ROM
- W29EE011:
Winbond 5 volt flash ROM
- W27F010:
Winbond 12 volt flash ROM
- X28C010,
X28C010I, XM28C010, XM28C010I: XICOR 5 volt flash ROM
- 29LVxxx
- 3V Flash memory (rare)
- 28Cxxx
- EEPROM, ก็คล้ายๆกับ Flash memory หล่ะครับ เพราะฉะนั้น ก็สามารถทำการ
Flash ได้เช่นกัน
นอกเหนือไปจากนี้
คงต้องทำใจไว้ก่อนละครับ ว่าเป็น EPROM ธรรมดา ซึ่งไม่สามารถ Flash ได้ หรือ
ก็คงต้องลองหาข้อมูลของ Chip นั้นๆ อีกที เป็นข้อมูลตั้งแต่ เดือน 11 ปี
97 ซึ่งก็อาจมี Chip ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกก็ได้น่ะครับ แต่เชื่อเถอะครับ
ถ้าเป็น Mainboard ที่ผลิตมาใหม่ๆ หลังจากนี้ ก็จะใช้ BIOS แบบ Flash BIOS
กันหมดแล้วละครับ
FIX
BIOS
วิธีปรับไบออสให้เครื่องเร็วขึ้นจะเน้นไปที่การทำงานหน่วยความจำเป็นหลัก
เพราะมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมมีหัวข้อที่ควรปรับแต่งคือ
BIOS Feature Setup or Advance CMOS Setup
1.Video BIOS or COOO,32K Shadow
สั่งให้คัดลอกข้อมูลจากหน่วยความจำรอมไบออสของการ์ดแสดงผลมาไว้ที่หน่วยความจำหลักแรมระบบตอนบูตเครื่อง
เพิ่มความเร็วในการเรียกใช้ข้อมูลหรือ เพิ่มความเร็วในการแสดงผล เพราะการเรียกข้อมูลโดยแรมมีความเร็วสูงกว่าการเรียกจากไบออสโดยตรง
เซ็ตเป็น Enable
2.Quick Power On Self Test
สั่งให้ตรวจสอบขนาดและความสมบูรณ์ของหน่วยความจำหลักแบบเร็ว
ให้ตรวจสอบหน่วยความจำหลักเพียงครั้งเดียว ละเว้นการตรวจสอบหน่วยความจำหลักที่มีขนาดต่ำหว่า
640K ตอนเปิดเครื่องหน้าจอจะเห็นตัวเลขแรมวิ่งๆอยู่หลายรอบ นั่นแหละครับ
เซ็ตเป็น Enable
Chipset
Feature Setup or Advance Chipset Setup
1.Auto
Configuration
สั่งให้ระบบเซ็ตความเร็วในการทำงานด้านต่างๆของหน่วยความจำหลักโดยอัตโนมัติเลย
ทำให้เครื่องคอมเราทำงานไม่มีปัญหา แต่ว่าจะแทบไม่สามารถปรับเปลี่ยนค่าอื่นๆในหัวข้อต่อไปได้
ควรเซ็ตเป็นDisable เมื่อต้องการปรับค่าอื่นด้วย
2.DRAM
Read/Write Timing
คือการเซ็ตความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลของหน่วยความจำหลัก
ซึ่งถ้าต้องการให้หน่วยความจำหลักแรมทำงานที่ประสิทธิภาพสูงสุด เซ็ตมีความเร็วสูงที่สุดให้ใช้เวลาน้อยที่สุด
หลักคือ ถ้าเป็นแรม แบบ FPM ให้เซ็ตเป็น X333/X444, แบบEDOให้เซ็ตเป็น X222/X333,ถ้าสามารถเซ็ตให้ตัวเลขน้อยกว่านี้ได้โดยเครื่องทำงานได้ไม่มีปัญหา
ก็จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น บางเมนบอร์ดจะเซ็ตเป็น Normal, Fast, Turbo
เมื่อต้องการความเร็วสูงสุดเซ็ตเป็น Turboเลย
3.SDRAM
CAS Latency Time or SDRAM Cycle Length
เซ็ตค่าความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยความจำหลักแบบSDRAM
โดยเซ็ตให้ตัวเลขน้อยๆ มีให้เลือก 2กับ 3 ควรเซ็ตเป็น 2
4.RAS
To CAS Delay
เซ็ตจำนวนสัญญาณนาฬิกาที่ใช้ในการอ้างถึงแอดเดรสของหน่วยความจำตามแนวหลัก
(Column) ภายหลังจากการอ้างถึงแอดเดรสตามแนวแถว(Row)ควรเซ็ตให้น้อยที่สุด
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
5.DRAM
Leadoff Timing
เซ็ตจำนวนสัญญาณนาฬิกาชุดแรกที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูลของหน่วยความจำหลัก
ซึ่งถ้าต้องการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเซ็ตให้น้อยที่สุด
6.Turbo
Read Leadoff
อนุญาตให้ระบบอ่านข้อมูลจากหน่วยความจำหลักแบบความเร็วสูงสุด
เซ็ตเป็นEnable
7.Turbo
Read Pipelining
อนุญาตให้ระบบอ่านข้อมูลจากหน่วยความจำหลักในตำแหน่งต่อไปที่อยู่ติดกันแบบความเร็วสูงสุด
เซ็ตเป็นEnable
8.Speculative
Leadoff
อนุญาตให้ระบบอ่านข้อมูลจากหน่วยความจำหลักในตำแหน่งต่อไปทันทีที่ข้อมูลชุดแรกถูกอ่านเสร็จสิ้น
โดยไม่ต้องรอข้อมูลที่ถูกอ่านไปชุดแรกประมวลผลเสร็จ เซ็ตเป็นEnable
9.System
BIOS Cacheable
สั่งให้มีการคัดลอกข้อมูลบางส่วนจากหน่วยความจำรอมไบออสของเมนบอร์ดมาไว้ยังหน่วยความจำแรมระบบตอนบูตเครื่อง
เพื่อเพิ่มความเร็วในการเรียกใช้ข้อมูล หรือความเร็วในการรันโปรแกรม เพราะความเร็วแรมสูงกว่าความเร็วรอมไบออส
เซ็ตเป็นEnable
การFlash
BIOS
เมื่อเกิดFlashBIOSผิดตัว
|