๒๐ต.ค.พ.ศ.๒๔๗๕ -
๑๗พ.ค.พ.ศ.๒๕๓๔
รศ.น.พ.กรุงไกร
เจนพาณิชย์ ป.ช.,ป.ม.
เชื้อชาติ & สัญชาติ
-ไทย ศาสนา-พุทธ
ภูมิลำเนา - กรุงเทพฯ
ที่อยู่ครอบครัว
๖๓/๓๑๒ ซอยหมู่บ้านทิพย์มณฑล
ซอย๗
ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี
ศาลาธรรมสพน์ ทวีวัฒนา กทม.๑๐๑๗๐
โทร. ๘๘๘๓๘๕๗
ครอบครัว
-เป็นบุตรคนที่ ๔/๕ ในครอบครัว
มีพี่ชายคนที่๓/๕
คือ น.พ.อุทัย เจนพาณิชย์ (อดีต
ผอ.ร.พ.สรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี)
บิดา -นายประเสริฐ
เจนพาณิชย์ มารดา -นางสงวน
เจนพาณิชย์ (วรชาติ)
ภรรยา -คุณลออง
เจนพาณิชย์ (มานะสาคร)
มีบุตรด้วยกัน ๑ คน คือ
นายธนวัชร เจนพาณิชย์
อุปนิสัย-มีคุณธรรม,กตัญญูต่อบุพการี,ครู,อาจารย์
มีเมตตา เอื้ออารีแก่ญาติ
ิมิตร,ผู้ป่วย,ศิษย์,และคนทั่วไป,มีลักษณะความเป็นครูที่ดีแก่ศิษย์
ถึงแก่กรรมเมื่อสิริอายุ
รวม๕๙ปี ณ ร.พ.ตำรวจ
ด้วยประสบอุบัติเหตุรถยนต์ชนกัน
( Car accident with internal bleeding & Shock )
การศึกษา -จบประถมศึกษาร.ร.สมบูรณ์ศึกษา
พ.ศ.๒๔๘๑-๖
-จบมัธยมศึกษาร.ร.วัดไตรมิตรวิทยาลัย
พ.ศ.๒๔๘๖-๙๒
-จบมัธยมปลายร.ร.เตรียมอุดมศึกษา
พ.ศ.๒๔๙๒-๔
-เรียนเตรียมแพทย์จุฬาฯ
พ.ศ.๒๔๙๔-๖
-จบแพทยศาสตร์บัณฑิต(ศิริราช)
พ.ศ.๒๕๐๐
มีความตั้งใจศึกษา
และมีความรู้,ความสามารถในวิชา สมาธิหัตถศาสตร์
(การนวดแผนโบราณประยุกต์)
โดยใช้การนวดรักษาอาการปวดต่างๆ,รักษา
อาการลำไส้ไม่ทำงาน(ผู้ป่วยหลังผ่าตัด)
เป็นทางเลือกแรกก่อนพิจารณาการ
ผ่าตัดช่องท้องซ้ำ(เมื่อการนวดไม่ได้ผล)
การงาน -ดำรงตำแหน่งอาจารย์แผนกสรีรวิทยา
คณะแพทย์ พ.ศ.๒๕๐๑-๒
-เป็นอาจารย์แผนกเภสัชวิทยาตั้งแต่
พ.ศ.๒๕๑๒
-เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา
พ.ศ.๒๕๑๗
-เป็นรองศาสตราจารย์ระดับ๗
ภาควิชาเภสัชวิทยา พ.ศ.๒๕๒๐
-มีส่วนร่วมในการก่อตั้ง,การเรียน,สอน,รักษา
ใน " อายุรเวทวิทยาลัย "
( ชีวกโกมารภัจจ์ )
เป็นการฟื้นฟูและส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิม
(โบราณเวชกรรมประยุกต์)
เมื่อพ.ศ.๒๕๒๕ โดยมี ศ.น.พ.อวย
เกตุสิงห์
เป็นผู้จัดตั้งมูลนิธิวิทยาลัยนี้
-เป็นรองศาสตราจารย์ระดับ๙เมื่อพ.ศ.๒๕๒๖
-ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา
พ.ศ.๒๕๓๐เป็นต้นมา
-ประสบการณ์เดินทางไปต่างประเทศ
-ดูงานที่ ประเทศ จีน พ.ศ.๒๕๒๕
-ดูงานประเทศเยอรมัน พ.ศ.๒๕๒๗
-ดูงานประเทศมาเลเซีย,สิงคโปร์,อินเดีย
พ.ศ.๒๕๓๐
-ดูงานด้านเภสัชวิทยา ณ ประเทศ
เยอรมัน,อังกฤษ,คานาดา,
และสหรัฐอเมริกา พ.ศ.๒๕๓๒
เกียรติคุณ
-รองศาสตราจารย์นายแพทย์ระดับ๙
-รางวัลอาจารย์ดีเด่นของสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ.๒๕๓๐-๑
-เครื่องราชอิสริยาภรณ์
-เบญจมาภรณ์ช้างเผือก(บ.ช. )
พ.ศ.๒๕๐๖
-จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก(จ.ช. )
พ.ศ.๒๕๑๑
-ตริตราภรณ์มงกุฎไทย(ต.ม.
)พ.ศ.๒๕๑๓
-ตริตราภรณ์ช้างเผือก(ต.ช.
)พ.ศ.๒๕๑๘
-ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย(ท.ม.).
พ.ศ.๒๕๒๐
-ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก(ท.ช. )
พ.ศ.๒๕๒๔
-ประถมาภรณ์มงกุฎไทย(ป.ม. )
พ.ศ.๒๕๒๗
-ประถมาภรณ์ช้างเผือก(ป.ช.) พ.ศ.๒๕๓๐
--------------------------------------------------
<Backกลับหน้าเดิม
หน้าต่อไปNext>
หน้านี้ update เมื่อ 25/09/00