คำอธิบายรายวิชา

รายวิชาที่ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดสอนในระดับปริญญาตรี(วิชาโท) แบ่งออกเป็น 7 หมวด ดังนี้

หมวดวิชาจิตวิทยาสังคม

415200 การศึกษาเรื่องกลุ่มชน(Human Groups)
ศึกษาลักษณะความเป็นมา ทฤษฎี ประเภท และชนิดของกลุ่มชนวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อกลุ่ม กลุ่มต่อบุคคล และกลุ่มต่อกลุ่ม ภาวะผู้นำกลุ่ม และศึกษาปัญหาของการรวมกลุ่ม

415300 พลวัตรกลุ่ม(Group Dynamics)
ศึกษาลักษณะและการพัฒนาการของกลุ่ม วิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม รวมทั้งโครงสร้างของกลุ่ม การติดต่อสื่อสาร และการตัดสินใจ อำนาจและอิทธิพลในกลุ่ม การเป็นผู้นำ และการใช้กลวิธีทางสังคมเมตริก พลวัตรของกลุ่ม และกลวิธีอื่นๆ ที่ช่วยให้เข้าใจและสามารถใช้ปรับปรุงมนุษยสัมพันธ์



หมวดวิชาทฤษฎีทางสังคม โครงสร้างทางสังคม การจัดระเบียบทางสังคม

415110 มนุษย์กับสังคม(Man and Society)
การศึกษาลักษณะสำคัญที่เกี่ยวกับสังคมของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยธรรมชาติของมนุษย์ วิธีการศึกษาสังคม การบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เพื่อศึกษาสังคมมนุษย์ มนุษย์กับวัฒนธรรม การจัดระเบียบทางสังคม และสถาบันสังคม ระบบการเมืองและการปกครอง ระบบเศรษฐกิจกับสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนการวิเคราะห์ปัญหาสังคมในปัจจุบัน

415112 สังคมวิทยาเบื้องต้น(Introduction to Sociology)
ศึกษาถึงลักษณะของสังคมในแง่ของโครงสร้าง หน้าที่ และการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับชุมชน กลุ่มทางสังคม ความสัมพันธ์ทางสังคม สถาบันทางสังคม บทบาท สถานภาพ ชั้นทางสังคม ค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคม การควบคุมสังคม กระบวนการทางสังคม ชนชั้นทางสังคม และการเลื่อนสถานภาพในสังคม พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากสังคม ภาวะสังคมพิการ และปัญหาสังคม

415210 สังคมวิทยาชนบท(Rural Sociology)
เนื้อหาสาระของสังคมวิทยาชนบท การศึกษาสังคมชนบท แนวคิดและทฤษฎีในการวิเคราะห์สังคมชนบท ลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพ ลักษณะประชากรและวิถีชีวิต การจัดระเบียบทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมชนบทและเมือง การเปลี่ยนแปลงและปัญหาของสังคม และแนวโน้มของสังคมชนบท

415211 สังคมไทย(Thai Society)
ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย แนวความคิดและทฤษฎีในการศึกษาสังคมไทย การวิเคราะห์สถาบันทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมชนบท เมือง และโลก การเปลี่ยนแปลง ปัญหา และสภาวะวิกฤติต่างๆ และแนวทางการแก้ปัญหาในสังคมไทย

415212 สังคมวิทยานคร(Urban Sociology)
เงื่อนไขของรายวิชา 415112
สภาพการกลายเป็นสังคมนคร วิเคราะห์โครงสร้าง หน้าที่ รูปแบบความสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลง ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมเมือง

415213 การจัดตั้งองค์กรในชุมชนไทยเปรียบเทียบ(Comparative Organizing in Thai Communities)
ศึกษาเปรียบเทียบ การจัดตั้ง รูปแบบ และการดำเนินงานขององค์กรต่างๆ ในชุมชนไทยที่เกิดขึ้นในการพัฒนา และ/หรือดำเนินการเพื่อการพัฒนาชุมชน ทั้งองค์กรที่ปรับมาใช้โดยอาศัยแบบอย่างจากตะวันตก เช่น สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ กลุ่มเกษตร ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ฯลฯ และองค์กรที่ริเริ่มขึ้นในประเทศ เช่น ธนาคารข้าว ธนาคารควาย ธนาคารยา ฯลฯ ตลอดจนองค์กรทางการเมืองที่ทำงานด้านการพัฒนา เช่น คณะกรรมการสภาตำบล และคณะกรรมการหมู่บ้าน จะมีการเปรียบเทียบระหว่างองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐ โดยหน่วยงานเอกชน และโดยเกษตรกร หรือคนในชุมชนเอง การศึกษาจะมุ่งไปศึกษาองค์กรเหล่านี้ในสภาพแวดล้อมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และการเมืองของไทย โดยเน้นองค์กรจัดตั้งในภาคอีสานเป็นพิเศษ

415214 สังคมวิทยาองค์กร(Sociology of Organizations)
แนวความคิดและทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับสังคมวิทยาองค์กร ประเภทและโครงสร้างขององค์กร การวิเคราะห์องค์กรทั้งในด้านสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ภายในระหว่างองค์กร รวมตลอดถึงการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาองค์กรตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคม

415215 สังคมวิทยาการพัฒนาขั้นแนะนำ(Introduction to Development Sociology)
ความหมาย กระบวนการ และผลกระทบของการพัฒนาต่อสังคมและสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ การนำแนวความคิดทางสังคมวิทยา มานุษยวิทยา และทฤษฎีการพัฒนาไปวิเคราะห์ปัญหาการพัฒนาของสังคมไทยที่ต้องสัมพันธ์กับประชาคมโลก

415311 สังคมวิทยาว่าด้วยบทบาทหญิงชาย(Sociology of Gender)
ความหมายของเพศและความหมายของบทบาทหญิงชาย บทบาทของหญิงชาย แนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญในการอธิบายความแตกต่าง และความไม่เท่าเทียมกันในบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชาย ขบวนการสตรี การวิเคราะห์ประเด็นร่วมสมัยต่างๆ เกี่ยวกับบทบาทหญิงชาย

415312 สังคมวิทยาการเมือง(Political Sociology)
ความหมาย ขอบเขต และกำเนิดของสังคมวิทยาการเมือง ประเด็นหลักและแนวทางการศึกษาสังคมวิทยาการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม สถาบันทางสังคมอื่นๆ และพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในกระบวนการทางการเมือง การวิเคราะห์โครงสร้าง อำนาจ และบทบาทของกลุ่มอำนาจต่างๆ ในสังคม พินิจศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง การขัดเกลาทางการเมือง ระบอบประชาธิปไตย ภาวะผู้นำทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

415313 สังคมวิทยาศาสนา(Sociology of Religion)
มโนภาพ แนวความคิดของสังคมวิทยาศาสนา วิเคราะห์บทบาท และความสัมพันธ์ของศาสนาที่มีต่อสังคม ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการพัฒนาท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

415314 สังคมวิทยาสุขภาพ(Sociology of Health)
แนวความคิดและทฤษฎีทางสังคมวิทยาและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ โรค บทบาทผู้ป่วย อาชีพที่เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ และการจัดระเบียบของการบริการรักษาสุขภาพในชุมชน

415315 สังคมวิทยาการศึกษา(Sociology of Education)
แนวความคิดและทฤษฎีของสังคมวิทยาการศึกษา วิเคราะห์บทบาท และความสัมพันธ์ของระบบการศึกษาที่มีต่อสังคมและการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม และการพัฒนา

415316 สังคมวิทยาการติดต่อสื่อสาร(Sociology of Communication)
กระบวนการติดต่อสื่อสารในสังคม บทบาทของการติดต่อสื่อสารในหน่วยสังคมระดับต่างๆ บทบาทของการติดต่อสื่อสารในการพัฒนา ผลกระทบของการติดต่อสื่อสารที่มีต่อสังคม ปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหาการติดต่อสื่อสารในสังคมไทย

415317 สังคมวิทยาสิ่งแวดล้อม(Environmental Sociology)
ความสัมพันธ์ ระหว่างระบบสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคโลกาวิวัตน์ แนวการศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมในเชิงสังคมวิทยา แนวคิดการพัฒนา และการจัดระเบียบสังคมเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม



หมวดวิชามานุษยวิทยา

415120 มานุษยวิทยาวัฒนธรรมเบื้องต้น(Introduction to Cultural Anthropology)
ศึกษาจุดประสงค์และขอบข่ายของมานุษยวิทยาโดยทั่วไป สาขามานุษยวิทยาทั้งด้านกายภาพและวัฒนธรรม ตลอดจนวิวัฒนาการอื่นๆ ศึกษาช่วงของพัฒนาการทั้งทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจซึ่งมีผลเกี่ยวเนื่องกับครอบครัว การสมรส ตลอดจนระบบเครือญาติ ศึกษาสถาบันที่เกี่ยวข้อง เช่น ศาสนา มายาศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การถ่ายทอดวัฒนธรรม

415221 ลักษณะครอบครัวเชิงวัฒนธรรม(Family in Cultural Perspective)
ลักษณะของครอบครัวในวัฒนธรรมต่างๆ ในด้านโครงสร้างครอบครัว ประเพณีการแต่งงาน การขัดเกลาทางสังคมและการเลี้ยงดูบุตร เสถียรภาพของครอบครัว ความสัมพันธ์ของครอบครัวที่มีต่อสถาบันอื่นในสังคม ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับอนามัยและความเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว

415222 ภูมิปัญญาพื้นบ้าน(Folk Knowledge)
ความแตกต่างระหว่างความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้พื้นบ้าน วิธีการศึกษา และทำความเข้าใจความรู้พื้นบ้าน การบูรณาการภูมิปัญญาพื้นบ้านกับความรู้สากลเพื่อประยุกต์ใช้ในงานพัฒนา

415223 มานุษยวิทยาศิลปะ(Art Anthropology)
ความหมายของศิลปะในแง่มุมทางมานุษยวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในด้านต่างๆ

415224 มานุษยวิทยาศาสนา(Anthropology of Religion)
ความหมายของศาสนาและการจำแนกความเชื่อทางศาสนาในแง่มุมทางมานุษยวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการดำเนินชีวิตของมนุษย์

415320 สังคมชาวนา(Peasant Societies)
ความหมายและลักษณะของสังคมชาวนา แนวการศึกษาสังคมชาวนา การเปลี่ยนแปลงสังคมชาวนา และปัญหาสังคมชาวนาในประเทศไทย

415420 มานุษยวิทยาประยุกต์ในงานพัฒนาชุมชน(Applied Anthropology in Community Development)
เงื่อนไขของรายวิชา 415120 และ 420211
ศึกษาทบทวนความเป็นมาของมานุษยวิทยาประยุกต์ การนำทฤษฎีและวิธีการทางมานุษยวิทยาไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติในการพัฒนาชุมชน

415421 ความหลากหลายทางวัฒนธรรม(Cultural Diversity)
แนวความคิด และทฤษฎีทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ของกลุ่มชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม



หมวดวิชาประชากร

415230 การศึกษาประชากรขั้นแนะนำ(Introduction to Population Studies)
ความรู้เกี่ยวกับประชากร ข้อมูลประชากร องค์ประกอบของประชากร การเปลี่ยนแปลงประชากร ภาวะเจริญพันธุ์ การตาย การย้ายถิ่น ปัญหาประชากรและการแก้ไข คุณภาพชีวิตของประชากร และทฤษฎีทางประชากร

415330 ประชากรศึกษา (Population Education)
โครงสร้างประชากร และองค์ประกอบของประชากร การเปลี่ยนแปลงประชากร ภาวะเจริญพันธุ์ ภาวะสมรส ภาวะการเจ็บป่วย และการตาย การย้ายถิ่น และครอบครัว

415331 การย้ายถิ่นและการขยายตัวของเมือง(Migration and Urbanization)
เงื่อนไขของรายวิชา 415110 หรือ 415112 หรือ 415230
ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการย้ายถิ่น ประเภทของการย้ายถิ่น มาตรการในการวัดการย้ายถิ่น การย้ายถิ่นของประชากรในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่น และผลกระทบของการย้ายถิ่น การขยายตัวของเมืองในประเทศต่างๆ กระบวนการเจริญเติบโตของเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างการย้ายถิ่นกับการขยายตัวของเมือง

415332 ประชากรกับคุณภาพชีวิต(Population and Quality of Life)
เงื่อนไขของรายวิชา 415110 หรือ 415230
ศึกษาลักษณะต่างๆ ทางด้านประชากร การใช้ทรัพยากร และการผลิต ปัญหาความไม่สมดุลย์ระหว่างจำนวนประชากร การเปลี่ยนแปลงประชากร กับทรัพยากรที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต ปัจจัยต่างๆ ในท้องถิ่นที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และคุณภาพชีวิตของประชากรไทย

415333 เศรษฐศาสตร์ประชากร(Population Economics)
เงื่อนไขของรายวิชา 415110 หรือ 415112 หรือ 415230
ศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและประชากรในประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนา เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ แนวความคิดเศรษฐศาสตร์ประชากร ทฤษฎีประชากรทางเศรษฐศาสตร์ ผลกระทบของปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อประชากร พฤติกรรมทางประชากรวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ จุลเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ด้วยการเจริญพันธุ์ การวิเคราะห์เชิงจุลภาคและมหภาคเกี่ยวกับต้นทุนของเด็ก เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์การวางแผนครอบครัว เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ด้วยการย้ายถิ่น



หมวดระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยและสถิติ

415340 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ 1(Research Methodology in Social Sciences I)
เงื่อนไขของรายวิชา 415112
ศึกษาวิธีการค้นคว้าหาคามรู้ทางวิทยาศาสตร์ หลักในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ การตั้งปัญหา การพัฒนาแนวความคิด ขอบข่ายของทฤษฎี การตั้งสมมติฐาน การสุ่มตัวอย่าง การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ทางสถิติ และการดำเนินการวิจัยทางสนาม

415341 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ 2(Research Methodology in Social Sciences II)
เงื่อนไขของรายวิชา 415340
ศึกษาวิธีการวางแผนและปฏิบัติการวิจัยทางสังคมศาสตร์ การสร้างแบบสอบถาม เทคนิคในการประมวลข้อมูล การแปลความหมายข้อมูล และการเขียนรายงานผลงานวิจัยที่ได้จากการวิจัยสนาม

415342 ระเบียบวิธีการวิจัยด้านประชากร(Research Methodology in Population)
เงื่อนไขของรายวิชา 415110 หรือ 415112 หรือ 415230
ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะโดยทั่วไปของระเบียบวิธีการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลประชากร โดยวิธีการสำมะโนประชากร การทะเบียนราษฎร และการสำรวจจากตัวอย่าง กระบวนการทำวิจัยด้านประชากรโดยเน้นการใช้ข้อมูลจากสำมะโนประชากร การทะเบียนราษฎร และการสำรวจจากตัวอย่าง งานวิจัยด้านประชากรของประเทศไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน และปัญหาต่างๆ ทางด้านการดำเนินงานวิจัย

415343 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research Methodology)
แนวคิดเกี่ยวกับวิธีวิจัยเชิงปริมาณ การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัย การออกแบบการวิจัย การพัฒนาแบบสัมภาษณ์ การจัดกระทำกับข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการเขียนรายงานการวิจัย

415344 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology)
ลักษณะของระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แนวคิดพื้นฐานและเทคนิควิธีการในการวิจัยเชิงคุณภาพ และขั้นตอนการวิจัยเชิงคุณภาพ

415440 วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา ภาค 1(Qualitative Methods in Anthropology: Part I)
เงื่อนไขของรายวิชา 415120
ศึกษาวิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยาเบื้องต้นที่มีความจำเป็นสำหรับการศึกษาภาคสนามของนักมานุษยวิทยา วิธีการดังกล่าวถูกใช้เพื่อเก็บรวมรวม จัดระบบ ใช้ประโยชน์ข้อมูลทางมานุษยวิทยา อีกทั้งยังเน้นถึงปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์เพื่อเข้าให้ถึงผู้ให้ข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การสังเกตการณ์ การตีความหมาย วิเคราะห์ รวมทั้งจรรยาบรรณของนักมานุษยวิทยาด้วย

415441 วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา ภาค 2(Qualitative Methods in Anthropology: Part II)
เงื่อนไขของรายวิชา 415120 และ 415440
ศึกษาเกี่ยวกับแนวความคิดต่างๆ ที่สำคัญ กลยุทธ์ต่างๆ ที่มีให้เลือก หัวข้อพิเศษอื่นๆ ที่เลือกสรรแล้ว เพื่อใช้ในการกลั่นกรองวิเคราะห์ข้อมูลเชิงมานุษยวิทยา



หมวดวิชาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเสียระเบียบทางสังคม

415250 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (Social and Cultural Change)
เงื่อนไขของรายวิชา 415112
การวิเคราะห์ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม โดยเน้นถึงโครงสร้างทางสังคม และระบบคุณค่าของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

415251 ปัญหาสังคม (Social Problems)
ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาสังคม ความหมาย ลักษณะสำคัญ ทัศนะ มุมมอง การวัดความรุนแรง การแยกประเภท แนวความคิดทางทฤษฎี สาเหตุของปัญหาสังคมและผลกระทบ ตลอดจนมาตรการที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมแต่ละกรณี



หมวดวิชาการวิเคราะห์ การวางแผน การบริหาร การกระทำทางสังคม

415470 หลักการวิเคราะห์ชุมชน(Principles of Community Analysis)
การวิเคราะห์ความหมายของชุมชน วิธีการศึกษาชุมชน และทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับชุมชน เพื่อการวางแผนชุมชน การกระทำทางชุมชน และการพัฒนาชุมชน




[กลับไปที่หน้าแรก]