โครงสร้างของเสือภูเขา
เรื่อง โดย คุณอภินันท์ บัวหภักดี
|
เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่ยังไม่รู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของจักรยานเสือภูเขา
มีความรอบรู้เพิ่มมากขึ้น จังขอนำเรื่องราวของส่วนประกอบต่าง ๆ ของเสือภูเขามาอธิบายอย่างย่อ
ๆ พอเข้าใจ พอสมควรแก่การรับรู้ของชาวเสือภูเขาที่ยังมือใหม่ มิใช่ช่างซ่อมจักรยานและรู้จักเครื่องยนต์กลไกไม่มากนัก
หาทว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้เนื่องจากในเส้นทางท่องเที่ยว เมื่อเกิดเหตุสุดวิสัยใดใด
เกี่ยวกับชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ชาวเสือภูเขาจะได้สามารถช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง
|
ส่วนประกอบของเสือภูเขา
|
ตัวถัง หรือ FRAME ตัวถังเปรียบเหมือนโครงกระดูก หือกระดูกสันหลังของเสือภูเขา
(ตัวถังอาจหมายรวมถึงตะเกียบคู่หน้าด้วยหรือไม่ก็ได้) หน้าตาของตัวถังในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ
แต่แบบที่ยังคงเป็นแบบอมตะเสมอมาคือ แบบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือสี่เหลี่ยมรูปเพชร
นอกจากนั้นตัวถังยังประกอบด้วยท่อคอแฮนด์ เป็นที่สำหรับเสียบคอแฮนด์เข้าไป
กะโหลก เป็นที่ใส่ลูกปืนสำหรับคันถีบ ท่อนั่ง เป็นที่สำหรับเสียบก้านอานที่นั่งเข้าไปและหางปลาหลัง
ไว้สำหรับยึดดุมล้อหลัง
ชุดแฮนด์ เป็นระบบบังคับทิศทางของเสือภูเขา
สำหรับเสือภูเขาเกือบทั้งหมดแฮนด์จะเป็นแฮนด์ตรง เพื่อสะดวกแก่การบังคับเลี้ยวได้
อย่างว่องไวและแม่นยำ ชุดแฮนด์ประกอบด้วยตะเกียบหน้า ที่ในเสือภูเขาสมัยใหม่มักนิยมใส่โช้ค
หรือ Suspension เข้าไปช่วยลดแรงกระแทกด้วย คอแฮนด์ เป็นที่สำหรับเสียบแฮนด์เข้าไปภายในประกอบด้วยแหวนและลูกปืนต่าง
ๆ หลายแบบ มือจับแฮนด์ จะถูกหุ้มไว้ด้วยปลอกมือ โดยทั่วไปจะมีเบรก และชุดเกียร์ติดร่วมอยู่กับแฮนด์นี้ด้วย
|
อานและหลักอาน อานมีหลายแบบหลายอย่าง
ขึ้นกับวัสดุขนาด และน้ำหนักเป็นสำคัญ อานสำหรับผู้หญิงจะมีขนาดกว้างใหญ่กว่า
และอาการเจ็บขึ้นได้ในหมู่เสือภูเขามือใหม่ทั้งหลาย หลักอาน เป็นท่อเหล็กที่รับน้ำหนักจากอานและเสียบเข้ากับท่อนั่ง
สำหรับเสือภูเขามักทำให้สามารถปรับระดับหลักอานให้สูงหรือต่ำได้ตามต้องการ
|
ล้อ ล้อเสือภูเขาประกอบด้วยวงล้อ ถ้าจะให้ดีควรเป็นอะลูมิเนียมดุมล้อ
Hubs เป็นดุมปลด Quick Release ซี่ล้อ ทำหน้าที่เสริมความแข็งแรงทุรกันดาร
ยางใน ควรเบาและแข็งแรง หัวจุ๊บยาง มีหลายแบบ แต่ที่ง่ายและสะดวกที่สุดควรเป็นหัวจุ๊บแบบเดียวกับยางรถยนต์
ที่แนะนำแบบนี้เพราะหัวจุ๊บแบบนี้ ช่วยให้ชาวเสือภูเขาสามารถจะแวะเข้าใช้บริการตามปั๊มน้ำมันและร้านมอเตอร์ไซค์ระหว่างทางได้ด้วย
|
ชุดขับเครื่อน คือชิ้นส่วนของอุปกรณ์ที่ช่วยถ่ายทอดแรงปั่นไปทำให้ล้อหมุนเคลื่อนรถไปข้างหน้า
ประกอบด้วยบันไดและก้านบันได ทำหน้าที่รับแรงถีบจากเท้าโดยตรง ชุดกะโหลก
ภายในประกอบด้วยลูกปืนทำให้การหมุนของบันไดง่ายและสะดวกขึ้น จานหน้า
หมุนตามบันไดและกะโหลก โซ่ ทำหน้าที่ส่งทอดการหมุนของล้อจากจานหน้าไปสู่จานหลัง
จานหลัง หรือจานฟรี เป็นตัวรับการหมุนจากจานหน้าและส่งทอดสู้ล้อ ทำให้ล้อหมุนเกิดการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
|
ชุดเกียร์
ความจริงมีส่วนเกี่ยวพันกับจานหน้าและจานฟรีด้วย เพราะการทำงานต้องสัมพันธ์กันทั้งหมด
ชุดเกียร์ประกอบด้วยคานเกียร์ โดยทั่วไปจะติดตี้งไว้ที่แฮนด์ มีสองด้านคือสำหรับล้อหน้าและล้อหลังโดยทั่วไป
คานเกียร์ขวามือจะเป็นคานเกียร์ล้อหลังและคานเกียร์ซ้ายมือ สำหรับล้อหน้า
ตัวเปลี่ยนเกียร์ Derailleurs มี 2 อันด้วยกันอยู่ที่จานหน้าและจานหลัง
ตัวที่อยู่ที่จานหน้ามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สับจาน"
(Front Derailleurs) ทำหน้าที่ผู้ขับขี่ต้องการ ตัวที่อยู่จากหลังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
"ตีนผี" (Rear Derailleurs) ทำหน้าที่เช่นเดียวกันแต่ติดกับล้อหลัง
|
เบรก เบรกจักรยานเสือภูเขาวันนี้มีทั้งแบบวีเบรก เบรกปีกผีเสื้อ
ไปจนถึงดิสเบรก ให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และความชอบของชาวเสือภูเขาแต่ละคน
วีเบรกและดิสเบรกจะค่อนข้างมีภาษีกว่าเบรกชนิดปีกผีเสื้อ ในแง่ความฉับไวแน่นอน
|
การหล่อลื่นจุดต่าง
ๆ ของเสือภูเขา
|
การหล่อลื่นจักรยานโดยเฉพาะจักรยานเสือภูเขา เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเสือภูเขาเป็นจักรยานที่ถูกออกแบบมาให้ต้องผจญกับเส้นทางที่ยากลำบากสมบุกสมบัน
ดังนั้นบนเส้นทางดังกล่าว กลไกการทำงานของเสือภูเขาทุกชิ้นจึงต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมเต็มอัตราศึก
จึงจะทำให้การผ่นเส้นทางยากลำบากนั้นประสบความสำเร็จได้อย่างเต็มที่
ลองนึกสภาพการเข้าเกียร์ที่ผิดพลาดอยู่เสมอกับเส้นทางขึ้นลงเขาขรุขระดูสิว่า
หากความผิดพลาดเกิดขึ้นสักเพียงครั้งเดียว เสือภูเขาก็จะกลายสภาพเป็นเสือภูเข็นไปในทันที
ในสมัยก่อนจักรยานจะใช้เพียงน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วมาหยดตามโซ่ หรือดุมล้อที่ส่งเสียงดังรบกวนการเคลื่อนไหว
แต่ในปัจจุบันมันและจาระบีต่าง ๆ ได้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะสำหรับชิ้นส่วนต่าง
ๆ ของเสือภูเขาด้วยการโฆษณาคุณภาพเด่นต่าง ๆ มากมายหลายประการ แต่ในที่นี้จะขอแนะนำเพียงการใช้จาระบี
น้ำมันจักรเย็บผ้า และสเปรย์หล่อลื่น WD 40 ที่เป็นอุปกรณ์การหล่อลื่นระดับกลาง
ๆ ทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ส่วนใครจะสนใจใช้อะไรมากกว่านี้ก็แล้วแต่อัธยาศัยก็แล้วกัน
จุดต่าง ๆ ขอเสือภูเขาที่ต้องการการหล่อลื่นเป็นประจำมีดังนี้
- ชุดระบบกันสะเทือน ควรตรวจสอบซ่อมแซมบำรุงปีละครั้ง หากตะเกียบเป็นระบบ
AIR-OIL เปลี่ยนน้ำมันโดยเลือกเบอร์ความหนืดที่ถูกต้อง หากใช้ยี่ห้องน้ำมันตามบริษัทที่ผลิตตะเกียบก็อาจจะเป็นหลักประกันคุณภาพได้ในระดับหนึ่ง
สำหรับตะเกียบพร้อมโช้คที่ใช้ระบบยาง Elastomer อาจจะถอดออกเปลี่ยนใหม่เลยปีละครั้ง
- ชุดคอ ใช้จาระบีหล่อลื่น แต่การถอดชิ้นส่วนทำให้ค่อนข้างยาก ควรให้ช่างดูแลปีละครั้ง
- มือจับเบรกและมือจับเปลี่ยนเกียร์ หล่อลื่นด้วยเสปรย์ หล่อลื่น WD
40
- ชุดเบรก ฉีดน้ำมันหล่อลื่นทุกครั้งที่ออกเดินทาง หากทำได้ควรถอดปีกผีเสื้อ
หรือกลไกเบรกต่าง ๆ มาทำความสะอาดและลงจาระบีที่หลักหมุนและฉีดน้ำมันที่สปริงทุกชิ้น
- ขอบล้อหน้า-หลัง
- ดุมล้อหน้า-หลัง คานปลดดุมล้อหน้า-หลัง ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด และฉีดน้ำมันหล่อลื่นเป็นประจำ
- ชุดบันได บันไดขวาขันเข้าตามเข็มนาฬิกา บันไดซ้ายขันเข้าตามเข็มนาฬิกา
ใช้จาระบีและฉีดน้ำมันหล่อลื่น
- คานบันได
- กะโหลกบันได ถ้าต้องลุยน้ำถึงกะโหลกเมื่อไร เมื่อเสร็จภารกิจควรเอาใจใส่ทำความสะอาดและหล่อลื่นด้วยจาระบี
- ตัวถัง หยอดน้ำมันที่จุดหมุนต่าง ๆ
- ชุดเฟืองท้าย ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด และฉีดน้ำมันหล่อลื่นเป็นประจำ
- โซ่ ควรใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด และฉีดน้ำมันหล่อลื่นเป็นประจำ
- ตีนผี ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด และฉีดด้วยน้ำมันหล่อลื่นเป็นประจำ
- สับจาน ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด และฉีดด้วยน้ำมันหล่อลื่นเป็นประจำ
- หลักอาน ควรถอดหลักอานทั้งหลักออกมาทำความสะอาดภายนอกภายในอย่างสม่ำเสมอ
- คานปลดหลักอาน ฉีดน้ำมันหล่อลื่นเป็นประจำ
|
การดูแลเสือภูเขาด้วยตนเอง
|
แม้คุณจะมิใช่ช่างซ่อมเสือภูเขา และคุณอาจรู้เรื่องเครื่องจักรกลน้อยถึงน้อยมาก
แต่เพื่อความสนุกสนานในการเดินทางโดยไม่มีอุปสรรคจุกจิกในระหว่างการเดินทางแต่ละครั้ง
คุณสามารถดูแลเสือภูเขาด้วยตนเองได้ตามตารางการดูแลดังต่อไปนี้
ทุกครั้งก่อนการนำเสือภูเขาออกทริป
- ตรวจการเกาะของดุมล้อให้แน่นหนา
- ตรวจสภาพยางและความดันของลม
- ตรวจคอแฮนด์ให้ตั้งตรงทางและแน่นหนา
- ตรวจสอบการำทงานของเบรกให้เป็นปกติ
- ฉีดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่าง ๆ ให้ครบครัน
ทุกครั้งเมื่อสิ้นสุดการเดินทาง
- ล้างและเช็ดตัวจักรยานและชิ้นส่วนต่าง ๆ และตากให้แห้งสนิท
- ตรวจดูร่องรอยการกระทบกระแทกและบาดแผลต่าง ๆ หากมีให้ฉีดน้ำยากันสนิทและน้ำมันรักษาเนื้อโลหะ
- ฉีดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่าง ๆ ให้ครบครัน
ตรวจทุกสัปดาห์
- เช็ดตัวรถด้วยผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ให้ทั่วคัน
- ตรวจซี่ลวดไม่ให้หย่อน
ตรวจทุกเดือน
- ตรวจสอบและหยอดน้ำมันโซ่และเฟืองท้าย
- ตรวจสอบและหล่อลื่นตัวจัดเฟือง
- ตรวจหานอตที่หลวมตามจุดต่าง ๆ
- ตรวจสอบสายเกียร์และเบรก หารอยสึกและชำรุด
- ตรวจสอบและปรับลูกปืนคอจักรยาน
ตรวจทุก 3 เดือน
- ตรวจดูรอยสึกของขอบล้อ เปลี่ยนถ้าจำเป็น
- ตรวจและหล่อลื่นมือจับเบรก
- ทำความสะอาดจักรยานทั้งคันด้วยผ้าและน้ำอุ่น
- ตรวจสอลชุดบันได
ตรวจปีละครั้ง
- อัดจาระบีลูกปืนที่กะโหลกและแกนบันได
- อัดจาระบีลูกปืนล้อหน้าและล้อหลัง
- อัดจาระบีคอจักรยาน
- หล่อลื่นหลักอาน
บัตรเครดิต สินเชื่อ สินเชื่อเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล เงินด่วน เงินกู้ สมัครบัตรเครดิต สินเชื่อ บัตรเครดิต
โปรแกรมบัญชี โต๊ะจีน-จัดเลี้ยง บ้านจัดสรร-บ้านใหม่-บ้านเดี่ยว ธนาคารกรุงไทย สกินhi5 วิเคราะห์บอล ราคาบอล
|