เทคนิคเรียนเก่ง
เริ่มต้นที่ชั้นเรียน เพื่อให้เรียนรู้อย่างได้ผลที่สุดในชั้นเรียนคุณควรเตรียมตัวดังนี้
เตรียมรายละเอียดหัวข้อวิชาที่กำลังเรียนไว้ให้พร้อม
อ่านบทเรียนก่อนเข้าชั้น
เมื่ออยู่ในชั้นให้ตั้งใจฟังประเด็นสำคัญ
ข้อโต้แย้งหลักสูตรและตัวอย่างแบบฝึกหัดที่สำคัญต่าง
ๆ
หลังเลิกเรียนแล้วให้ทำบันทึกย่อจากคำบรรยายและบทเรียนในหนังสือ
การเตรียมตัว การเรียนรู้ทุกอย่างต้องการการเตรียมตัวที่ดี
คุณควรเตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับชั้นเรียนโดย
จัดหารายละเอียดหัวข้อวิชาสำหรับอ้างอิงก่อนเข้าชั้นเรียนในแต่ละวิชา
อ่านหนังสือส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนเข้าเรียนแต่ละครั้งให้คุ้นเคยกับบทเรียนยิ่งขึ้น
เขียนคำถามที่คิดว่าสำคัญต่อการทำความเข้าใจในหัวข้อเรื่องที่กำลังเรียนอยู่
จากนั้นพยายามหาคำตอบขณะเข้าชั้นเรียนในวิชานั้น
เปิดแฟ้มสำหรับเก็บข้อมูลสำคัญ
ๆ ในแต่ละหัวข้อ (เช่น
หัวข้อโดยสังเขป บันทึก
คำบรรยาย หนังสืออ้างอิง
สรุปประเด็นสำคัญ ฯลฯ)
สมาธิ คุณจะไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยหากไม่มีสมาธิ
สมาธิที่ว่านี้หมายความถึงการตั้งใจฟังในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทเรียนเพื่อจะได้เกิดการเรียนรู้
คุณสามารถเพิ่มพูนสมาธิได้โดย
จูงใจตัวเองว่าคุณสามารถเรียนได้ดีในวิชานั้น
ๆ
พุ่งความสนใจของตัวเองไปในเรื่องนั้น
เตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับบทเรียนนั้น
นั่งให้ห่างจากสิ่งรบกวนสมาธิ
เช่น เพื่อนที่ชอบชวนคุย
วิทยุและโทรทัศน์
มีส่วนร่วมในบทเรียน
การบรรยายหรือขณะอ่าน เช่น
จดคำบรรยาย
สรุปเนื้อหาของบทเรียน
หรือพยายามรวบยอดความคิดการบรรยายในชั้นเรียนหรือบางบทของเนื้อหาในหนังสือให้เป็นแผนภูมิหรือแผนภาพ
ทดสอบตัวเองเป็นระยะ
ๆ
ว่าสามารถจำความคิดหลักที่เพิ่งฟังจากการบรรยายในชั้นเรียนหรือจากหนังสือที่เพิ่งอ่านได้หรือไม่
การสรุปย่อรายวิชา
ใช้เอกสารการจัดระเบียบความคิดหลักล่วงหน้า
เพื่อให้ได้ภาพรวมของหัวข้อเรื่องและคำถามหลักของแต่ละบทเรียน
ใช้เอกสารเหล่านี้เป็นตัวช่วยทบทวนอย่างรวดเร็วหรือช่วยฟื้นความจำ
(แต่ควรใช้สมุดจดบันทึกคำบรรยายอื่น
ๆ ประกอบด้วย)
อย่าใช้เอกสารเหล่านี้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับศึกษาวิชานั้น
ๆ เพียงอย่างเดียว
เนื่องจากเอกสารประเภทนี้ไม่สามารถใช้ทดแทนการอ่านตำราหรือเนื้อเรื่องฉบับเต็มได้อย่างแท้จริง
ผู้สอน
ผู้สอนเป็นส่วนจำเป็นยิ่งส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
แต่บ่อยครั้งที่คุณไม่มีโอกาสได้เลือกผู้สอน
จึงจำเป็นต้องทนเรียนรู้กับผู้สอนประจำวิชาบังคับอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้
คำถามที่น่าคิดก็คือ
ถ้าไม่ได้เรียนกับผู้สอนในอุดมคติ
คุณจะทำอย่างไรให้เกิดผลดีกับตัวเองมากที่สุด
เรียนให้หนักยิ่งขึ้น
การเตรียมตัวเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งหากได้ผู้สอนที่ไม่ชำนาญการสอน
คุณต้องตั้งใจฟังและเข้าชั้นเรียนให้มากยิ่งขึ้น
ขอยืมสมุดจดบันทึกคำบรรยาย
เอกสารประกอบการบรรยายจากชั้นอื่น
ๆ ที่มีผู้สอนที่ดีกว่า
พยายามทำให้ผู้สอนของคุณดีขึ้นด้วยพฤติกรรมของคุณเอง
เพราะผู้สอนส่วนใหญ่จะใช้ความพยายามมากขึ้นสำหรับผู้เรียนที่ดี
คุณควรขอบคุณผู้สอนหลังการบรรยายสรุปหรือสาธิตพิเศษในชั่วโมงสุดท้ายของชั้นเรียนตามสมควร
คุณควรตั้งคำถามในชั้นเรียนเพื่อแสดงความสนใจในวิชาที่เรียน
(โดยไม่ทำตัวโดดเด่นจากเพื่อน
ๆ ในชั้นเรียน)
ลองถามผู้สอนเกี่ยวกับงานพิเศษหรือรายชื่อเอกสารอ้างอิงเพิ่มเติม
(แต่ควรระวังว่าผู้สอนที่ด้อยคุณภาพอาจไม่ชอบทำงานพิเศษเท่าใดนัก)
หาผู้สอนหรือติวพิเศษในวิชาที่เรียน
งานที่ได้รับมอบหมาย
วิชาส่วนใหญ่มักมีการมอบหมายงานให้ผู้เรียนทำเป็นการบ้านเนื่องจากการเรียนการสอนในแต่ละวิชาไม่สามารถครอบคลุมรายละเอียดหัวข้อวิชาทั้งหมดได้ในชั้นเรียน
คุณควรใส่ใจว่างานที่ได้รับมอบหมายแต่ละชิ้นมีคะแนนเท่าไรและจะมีผลกระทบต่อคะแนนสอบไล่มากเพียงไร
เพื่อจะได้ตัดสินใจได้ถูกต้องว่าจะใช้เวลามากน้อยหรือต้องทำงานหนักเพียงไรในการทำงานชิ้นนั้น
จะไม่คุ้มค่าหากคุณใช้เวลาเป็นวัน
ๆ
กับงานที่มีคะแนนเพียงไม่กี่คะแนนและยังมีงานชิ้นอื่น
ๆ ต้องทำอีกมาก
วางแผนว่าคุณจะทำงานที่ได้รับมอบหมายแต่ละชิ้นเมื่อไร
(ไม่ใช่ในนาทีสุดท้าย) โดย
จดรายการขั้นตอนต่าง
ๆ
ที่คุณต้องทำสำหรับงานที่ได้รับมอบหมายแต่ละชิ้นและประเมินเวลาที่ต้องใช้สำหรับแต่ละขั้นตอน
คุณควรซื่อสัตย์กับตัวเองและยอมรับความจริงว่างานส่วนใหญ่มักใช้เวลามากกว่าที่คาดไว้
คุณอาจต้องไปห้องสมุดเพื่อค้นคว้าเนื้อหาหัวข้อวิชาที่จะทำ
หรือต้องปรึกษาหารือกับเพื่อน
หรือต้องนำสมุดจดบันทึกคำบรรยายมาสรุปประเด็นใหม่อีกครั้งหนึ่งเพื่อจัดระเบียบความคิดให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
จากนั้นก็ทำร่างหัวข้อเนื้อหาอย่างคร่าว
ๆ
ก่อนจะนำเสนอเป็นรายงานตัวจริง
หากงานที่ต้องนำเสนอนั้นมีลักษณะพิเศษกว่างานทั่วไป
คุณควรเผื่อเวลาให้มากกว่าเดิมด้วย
เริ่มทำงานจากวันที่ถึงกำหนดส่งย้อนมาข้างหน้าตามหมายกำหนดการที่จดไว้ในสมุดบันทึกประจำวันของคุณ
ตัดสินใจให้ดีว่าคุณจะลงมือทำงานชิ้นใดท่ามกลางงานอื่น
ๆ ที่มีอยู่
ทำตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
(นี่เป็นขั้นตอนที่ทำได้ยากที่สุด)
บันทึกประจำวัน
คุณจะต้องมีสมุดบันทึกประจำวันและใช้มันให้เกิดประโยชน์เต็มที่
ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำการใช้สมุดบันทึกประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ
จดบันทึกการนัดหมาย
กิจกรรมต่าง ๆ
ที่สำคัญต่อการศึกษาโดยเร็ว (เช่น
ต้นปีการศึกษาหรือทันทีที่ทราบ)
วันสำคัญเป็นพิเศษ ได้แก่
วันสอบ วันไปทัศนศึกษานอกสถานที่
และวันไปพบปะญาติพี่น้องในครอบครัวซึ่งคุณต้องไปร่วมด้วย
จดบันทึกวันที่ต้องส่งงานที่ได้รับมอบหมายรวมทั้งวันที่ได้รับ
เพื่อจะได้วางแผนว่าจะทำงานแต่ละอย่างให้เสร็จสิ้นเมื่อใด
ทำรายการกิจกรรมที่ต้องทำให้สำเร็จ
จากนั้นก็เขียนเวลาที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรมเหล่านั้น
เช่น เวลาที่ต้องไปห้องสมุด
เขียนร่างรายงาน
อ่านสมุดจดคำบรรยายและอื่น ๆ
สมุดบันทึกประจำวันมักมีตารางสำหรับวางแผนล่วงหน้าตลอดปีที่ส่วนหน้า
คุณควรจดบันทึกวันหยุดพักผ่อน
วันสอบธรรมดา วันสอบไล่ ฯลฯ
ไว้ให้ครบถ้วน
คุณจะวางแผนได้ดีขึ้นหากมีแผนที่ระบุกิจกรรมทั้งปีล่วงหน้า
การทำเช่นนี้จะช่วยให้หลอกตัวเองได้ยากขึ้นว่ายังมีเวลาอีกมากพอที่จะไปทำกิจกรรมอื่น
ใช้สมุดบันทึกประจำวันเก็บข้อมูลข่าวสารย่อ
ๆ ที่สำคัญ เช่น
ผลการทดสอบและงานที่ได้รับมอบหมาย
เมื่อมีการสอบหรือประเมินการเรียนเป็นระยะ
ๆ อย่างต่อเนื่อง
วิธีนี้จะช่วยให้ทราบว่าคุณต้องทำคะแนนที่เหลือให้ได้อีกเท่าไรในแต่ละวิชา
เพื่อให้ได้ระดับที่ต้องการเมื่อใกล้สิ้นสุดปีการศึกษา
นอกจากนี้ยังช่วยให้ทราบว่าตัวเองใช้เวลาหมดไปเท่าไรกับการทำการบ้านหรือทบทวนบทเรียน
(เวลาที่ใช้ทบทวนตำราควรเพิ่มมากขึ้นตลอดปี)
และเพื่อทดสอบติดตามประเมินผลว่าคุณกำลังจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้แต่ต้นปีสำหรับกิจกรรมนี้
การใช้แผ่นการ์ดช่วยจำ
แผ่นการ์ดช่วยจำเป็นการ์ดเล็ก
ๆ พร้อมคำจดบันทึกสั้น ๆ
ที่เขียนอยู่ในนั้น
คุณอาจเคยเห็นผู้เรียนใช้แผ่นการ์ดที่ว่านี้ขณะโต้วาที
หรือคุณอาจเคยใช้มันมาก่อนในวิชาการอ่านก็ได้
เขียนข้อความสำคัญที่ต้องจำลงในแผ่นการ์ดเล็ก
ๆ
และใช้ทบทวนความจำในช่วงเวลาว่าง
ๆ เช่น
ขณะเดินทางไปโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
หรือช่วงรับประทานอาหารกลางวัน
คุณสามารถเก็บการ์ดเหล่านี้ไว้ในกระเป๋ากระโปรงหรือกางเกงเพื่อนำมาทบทวนได้เสมอ
แต่ควรจำไว้ว่าการทบทวนห้านาทีในหนึ่งอาทิตย์จะได้ผลดีกว่าการทบทวนสิบห้านาทีในเวลาสามอาทิตย์
ทดลองบันทึกข้อความในรูปแบบต่าง
ๆ เช่น เขียนสูตรต่าง ๆ
ที่ส่วนหน้าของการ์ดและตัวอย่างต่าง
ๆ ที่ส่วนหลัง
เขียนความคิดหลักต่าง ๆ
ที่ส่วนหน้าของการ์ดและรายละเอียดสนับสนุนต่าง
ๆ ที่ด้านหลัง เป็นต้น
การเน้นสาระสำคัญ
เป็นการทำเครื่องหมายจุดสำคัญ
ๆ
ในหนังสือเรียนให้เด่นชัดน่าสนใจยิ่งขึ้น
โดยแทนที่จะเน้นความสำคัญด้วยเครื่องหมายต่าง
ๆ
บนเนื้อเรื่องที่เห็นว่าสำคัญด้วยวิธีทั่วไป
คุณควรใช้สีที่แตกต่างสำหรับประเด็นหลักและประเด็นรอง
ใช้เครื่องหมายสี่เหลี่ยมสำหรับเน้นประเด็นหลักที่สำคัญมาก
และวงกลมสำหรับประเด็นรองที่ให้รายละเอียดสนับสนุนประเด็นหลัก
หากคุณเน้นสาระสำคัญสิ่งต่าง
ๆ
มากกว่าครึ่งหนึ่งของสิ่งที่อ่าน
แสดงให้เห็นว่าคุณยังไม่ได้เลือกสรรกลั่นกรองมากพอ
วิธีปรับปรุงก็คือลองตรวจสอบดูว่าคุณไม่ได้เน้นเนื้อหาอื่น
ๆ ที่ไม่ใช่ประเด็นหลัก
การบ้าน
การบ้านเป็นงานที่ต้องทำ
(เช่น การอ่าน การทำแบบฝึกหัด
การศึกษาตัวอย่างข้อสอบเก่า
การทำงานที่ได้รับมอบหมาย
ฯลฯ)
ซึ่งกำหนดโดยผู้สอนและใช้เวลาทำนอกชั้นเรียน
แต่ไม่จำเป็นต้องทำที่บ้าน
ควรทำในช่วงเวลาที่ว่างจากการเข้าห้องเรียน
เช่น
ในห้องสมุดหรือแม้แต่ในรถประจำทาง
(หากคุณมีที่นั่งและสมาธิดีพอ)
คุณควรบันทึกงานเหล่านี้ลงในสมุดบันทึกประจำวันอย่างระมัดระวังและควรทำให้เสร็จภายในวันเวลาที่กำหนดแม้บางครั้งผู้สอนอาจไม่ได้นำมาใช้คะแนนก็ตาม
เพราะงานเหล่านี้มักสำคัญสำหรับวิชานั้น
ๆ
ผู้เรียนที่ดีมักขยันมากกว่าเพียงทำการบ้านต่าง
ๆ
ที่กำหนดไว้ในวิชาเรียนเท่านั้น
งานสำคัญอื่น ๆ
ซึ่งไม่ใช่การบ้านที่คุณอาจทำเองในยามว่างที่บ้าน
ได้แก่ การเตรียมบทเรียน
การทบทวน
การศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติม
(เช่น
การพยายามจำประเด็นสำคัญ)
ข้อสำคัญที่ควรตระหนักก็คือการทำการบ้านให้เสร็จวันต่อวันนั้นไม่เพียงพอต่อการเรียนให้ได้ดี
เทคนิคความจำ
ข้อมูลข่าวสารบางอย่างต้องเรียนรู้ในลักษณะความเป็นจริงที่ไม่ต่อเนื่อง
ถึงแม้ว่าการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดในสถาบันการศึกษามักกระทำเป็นขบวนการหรือเกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์ต่าง
ๆ
ความจำระยะสั้นของเราสามารถจำข้อมูลข่าวสารได้ประมาณห้าถึงเจ็ดอย่างก่อนที่จะเริ่มจำไม่ได้
ข้อจำกัดนี้จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อต้องเรียนรู้สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเป็นจำนวนมาก
เช่น ศัพท์ภาษาต่างประเทศ
ตารางธาตุ
คำพูดของบุคคลสำคัญ
ขั้นตอนต่าง ๆ ของย่อความ
สาเหตุของการปฏิวัติในรัสเซีย
ทฤษฎีของ Freud เป็นต้น
มีเทคนิคความจำที่จะช่วยเอาชนะข้อจำกัดเหล่านี้ที่ได้ผลหลายอย่าง
เช่น
สถานที่
เทคนิคนี้เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงสิ่งที่ต้องจำกับสถานที่ที่รู้จักดี
เช่น
ในห้องนอนคุณอาจใช้ความนึกคิดติดตารางธาตุยี่สิบตัวแรกไว้ในสถานที่ที่แตกต่างกัน
จากนั้นก็พยายามจำข้อมูลเหล่านั้นด้วยการใช้ความนึกคิดเคลื่อนไปรอบสถานที่นั้น
ๆ เช่น เตียงนอน
ขั้นบันไดแต่ละขั้น
หลังประตู ใต้หมอน และอื่น ๆ
ขณะวางข้อมูลข่าวสารแต่ละชิ้นในสถานที่พิเศษแต่ละแห่ง
ใช้เวลานึกถึงความจริงต่าง ๆ
ในสถานที่เหล่านั้นบ่อย ๆ
หากรู้สึกผ่อนคลายและขณะนั้นปราศจากเสียงรบกวนใด
ๆ
คุณจะพบว่าวิธีนี้ใช้ได้ผลดี
อักษรนำ เป็นเทคนิคที่ใช้ตัวอักษรตัวแรกของประโยคมาช่วยเตือนความจำ
เช่น SOHCAHTOA
สำหรับวิชาตรีโกณมิติ หรือ ROY G
BIV สำหรับการจำลำดับสีต่าง ๆ
ของสเปกตรัม
คำคล้องจอง
เป็นวิธีเชื่อมข้อมูลข่าวสารที่ต้องการจำเข้ากับคำที่ออกเสียงคล้องจองกันเหมือนวิธีสอนเด็ก
ๆ ในสถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก (เช่น
หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง
สองบวกสองเป็นสี่ ฯลฯ)
โซ่จินตนาการ
เป็นการโยงสิ่งที่ต้องการเรียนรู้เข้ากับจินตนาการที่จำได้ง่าย
กฎสำคัญสำหรับวิธีนี้คือยิ่งโยงเข้ากับเรื่องตลกขบขันหรือพิสดารมากเท่าไรก็ยิ่งดี
เช่น
ในการจำสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
คุณอาจนึกถึงภาพปืนใหญ่ยิงกระสุนใส่กัน
แต่ทำไมไม่ลองนึกถึงภาพสัญลักษณ์ที่จำได้ง่ายยิ่งขึ้นแทนละ
เช่น
คุณอาจวดภาพลาแทนกลุ่มพันธมิตร
และภาพกากบาทดำแทนลัทธิชาตินิยม
(หรือคลั่งชาติ)
จากนั้นก็นึกถึงบุคคลสำคัญในเหตุการณ์
เช่น Archduke Ferdinand (โอรสองค์จักรพรรดิ์แห่งออสเตรเลีย)
กำลังขี่ลา
ซึ่งบนอานบรรทุกหอกดาบเต็มไปหมดอันเป็นสัญลักษณ์แทนกำลังทหารเหล่าทัพต่าง
ๆ เป็นต้น
วิธีนี้จะทำให้นึกถึงภาพเหตุการณ์นี้พร้อมรายละเอียดและเขียนคำตอบลงในสมุดคำตอบระหว่างสอบได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
การสอบ การสอบเป็นรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากที่สุดในการประเมินผลการเรียนอย่างเป็นทางการ
เพื่อทำข้อสอบได้ดีคุณจำเป็นต้อง
จำเนื้อหาต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดี
โดยพยายามสร้างสมความเชี่ยวชาญในวิชาที่เรียนอยู่ด้วยการเรียนรู้ว่าอะไรเป็นกฎหรือเนื้อหาที่สำคัญ
จากนั้นก็พยายามจำด้วยเทคนิคการจำหรือฝึกหัดทำตัวอย่างต่าง
ๆ
พยายามควบคุมความตื่นเน้นวิตกกังวลให้อยู่ในระดับพอดี
ใช้เทคนิคการสอบที่ดีด้วยการฝึกหัดให้ช่ำชองก่อนสอบจริง
ๆ ซึ่งทำได้ดังนี้
วางแผนเรื่องเวลาให้ดี
โดยปรับให้เหมาะสมกับจำนวนคะแนนที่คำถามกำหนดให้สำหรับคำถามย่อยต่าง
ๆ ในข้อสอบ
โดยทั่วไปควรใช้เวลากับข้อที่มีคะแนนมากที่สุดให้นานที่สุด
อย่างไรก็ดีบางครั้งคุณสามารถทำคะแนนได้ง่ายและรวดเร็วหากมีความสนใจและชำนาญในบางวิชาหรือบางหัวข้อเป็นพิเศษ
อ่านดูให้ดีว่าคำถามแต่ละหัวข้อให้คะแนนเต็มเท่าไร
สำหรับคำถามที่ต้องการคำตอบสั้น
ๆ
คะแนนมักจะให้กับคำตอบที่เสนอประเด็นใหม่
ๆ เช่น
ในส่วนทดสอบความเข้าใจในเนื้อหาสิ่งที่อ่าน
ควรตอบอย่างน้อยสองประเด็น
สำหรับคำถามที่ให้คะแนนสองคะแนน
กฎง่าย ๆ
ก็คือควรเขียนอย่างน้อยหนึ่งประเด็นสำหรับแต่ละหนึ่งคะแนนของคำถาม
การเดา
คุณอาจใช้วิธีเดาได้หากข้อสอบนั้นเป็นแบบปรนัยและไม่คิดเป็นคะแนนติดลบในข้อที่ตอบผิด
หากมีคำตอบให้เลือก 4
ข้อก็แสดงให้เห็นว่ามีโอกาสตอบถูก
25 เปอร์เซ็นต์
หากมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อนั้นบ้างและพอทราบได้ว่าคำตอบข้อใดไม่ถูกต้อง
คุณมีโอกาสตอบถูกในเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นอีก
ในกรณีที่มีคะแนนติดลบสำหรับการเดาหรือการเขียนคำตอบในเรียงความโดยไม่ทราบข้อมูลอย่างแท้จริง
ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการเดาเพราะคุณอาจได้คะแนนน้อยลงไปอีก
คืนก่อนสอบ
การพยายามอ่านหนังสือแบบยัดทะยานในนาที่สุดท้ายก่อนสอบไม่เคยให้ผลดี
และอาจให้ผลร้ายยิ่งขึ้นเพราะเป็นการเตือนให้ทราบว่ายังไม่รู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง
ทำให้เกิดความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าอ่อนเพลียเนื่องจากนั่งนานเกนิไปหรือเข้านอนดึกเกินไปก็ได้
เป็นการดีที่สุดหากทบทวนการเรียนอย่างสม่ำเสมอจนเป็นกิจวัตรประจำวันและเข้านอนในเวลาปกติรวมทั้งรับประทานอาหารเช่นเคยทุกวัน
และพยายามเลี่ยงสิ่งที่มีผลกระทบต่อระบบประสาท
เช่น แอลกอฮอล์หรือกาแฟ
พยายามหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร
(เช่นแกงเผ็ด)
เพราะอาจทำให้คุณต้องไปเสียเวลาที่มีค่ายิ่งในห้องสุขา
ควรพยายามหลีกลี้จากสิ่งที่กระทบกระเทือนอารมณ์ด้วยเช่นกัน
อาจเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับคนรักในเรื่องขัดแย้งบางอย่างจนกว่าจะสอบเสร็จ
เพื่อให้จิตใจสงบและมีสมาธิอย่างเต็มที่ในวันสอบ
การอ่านข้อสอบก่อนตอบ
ผู้คุมสอบบางท่านอนุญาตให้อ่านคำถามทั้งหมดก่อนเริ่มลงมือทำ
ช่วงเวลาที่ว่านี้มีค่าอย่างยิ่งเพราะทำให้มีโอกาสเลือกได้ว่าจะตอบคำถามอะไรและทำข้อไหนก่อน
วิธีง่าย ๆ
ก็คือทำข้อที่ง่ายที่สุดก่อน
(นั่นก็คือข้อที่คุณมีความรู้ความเข้าใจมากที่สุด)
นี่เป็นการอุ่นเครื่องและทำให้เก็บคะแนนให้ได้มากที่สุดก่อนจะลงมือตอบคำถามอื่น
ๆ
ซึ่งอาจต้องใช้เวลามากขึ้นและไม่มีเวลาพอในช่วงท้าย
ๆ ของการสอบ
เมื่อได้รับอนุญาตให้เริ่มทำข้อสอบได้
ให้รีบเขียนแผนการตอบข้อสอบนี้ทันทีเพื่อกันลืม
การคลายเครียดหลังสอบเสร็จ
มักมีการฉลองอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอหลังสอบเสร็จ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคร่ำเคร่งดูหนังสืออย่างหนักมาก่อนตลอดภาค
ผู้เรียนประเภทนี้อาจไม่รู้ว่าจะจัดการเวลาว่างที่เหลือหลังสอบได้อย่างไร
นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมนักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่มักจะวางแผนไปเที่ยวทันทีเมื่อสอบเสร็จ
เพื่อเปลี่ยนแปลงสถานที่และกิจวัตรประจำวันหลังการสอบยังเป็นช่วงเวลาแห่งการ
"ระบายไอร้อน" (หรือในบางกรณี
"ปล่อยผี") อีกด้วย
อาจมีการจัดปาร์ตี้เพื่อสนุกสนานกันอย่างสุดเหวี่ยง
ยังมีวิธี
"คลายเครียด" อื่น ๆ
หลังสอบอีกหลายอย่างที่ไม่สิ้นเปลืองหรือเสี่ยงอันตราย
คุณอาจวางแผนทำกิจกรรมนันทนาการต่าง
ๆ เช่น
อ่านหนังสือที่เคยอยากอ่านมาก่อนแต่ไม่มีเวลาได้อ่านสักที
เริ่มท่าบริหารร่างกายหรือเล่นกีฬาใหม่
ๆ ที่อาจต้องใช้เวลานาน
ทำอะไรดี ๆ สำหรับคนอื่นบ้าง
การได้ช่วยเหลือผู้อื่นบ้างจะช่วยให้คุณกลับไปสู่ชีวิตประจำวันปกติอีกครั้งหนึ่ง
เช่น
การช่วยทำงานบ้างบางอย่างเป็นพิเศษ
การได้ทำอะไรให้แก่ครอบครัวบ้างเป็นการบอกกล่าวว่าคุณรู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณครอบครัวเพียงไรที่ได้อดทนและให้ความเกื้อกูลต่อคุณเป็นอย่างดีระหว่างที่กำลังสอบอยู่
l กลับสู่หน้าแรก Star Variety l