มาตรฐานของการวัดเป็นการแสดงหน่วยการวัดทางฟิสิกส์ หน่วยนี้จะเป็นการอ้างอิงโดยการกำหนดมาตรฐานของวัตถุ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติควบคู่กับค่าคงที่ของอมตะ ตัวอย่างเช่น หน่วยพื้นฐานของมวลในระบบสากล (SI) ปริมาณและหน่วยของการวัดพื้นฐานของระบบ SI ทั้งหมด 6 ชนิด แสดงไว้ตามตาราง
ปริมาณ หน่วย สัญลักณ์
ความยาว (meter) เมตร (meter) m
มวล (mass) มวล (mass) กิโลกรัม (Kilogram) Kg
เวลา (time) วินาที (second) S
กระแสไฟฟ้า (electric current) แอมแปร์ (ampere) A
อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงตามความร้อน (thermodynamic temperature) องศาเคลวิน (degree kelvin) K
ความเข้มการส่องสว่าง (luminous intensity) แคนเดลา (candela) Cd
[ Enter your title here ] การใช้เลขยกกำลังนับว่ามีบทบาทในการใช้งานมาก เลขยกกำลังใช้แทนหน่วยย่อยต่างๆ เพื่อใช้ในการคำนวณค่า ของปริมาณต่างๆเลขยกกำลังแสดงไว้ในตาราง
ชื่อ สัญลักษณ์ เลขยกกำลัง
เทระ (tera) T 10 ยกกำลัง12
จิกะ (giga) G 10 ยกกำลัง9
เมกะ (mega) M 10 ยกกำลัง6
กิโล (kilo) k 10 ยกกำลัง3
เฮโต (hecto) h 10 ยกกำลัง2
เดคา (deca) da 10 ยกกำลัง10
เดซิ (deci) d 10 ยกกำลัง-1
เซนติ (centi) c 10 ยกกำลัง-2
มิลลิ (milli) m m 10 ยกกำลัง-3
ไมโคร (micro) m 10 ยกกำลัง-6
นาโน (nano) n 10 ยกกำลัง-9
พิโก (pico) p 10 ยกกำลัง-12
เฟมโต (femto) f 10 ยกกำลัง-15
อัลโต (atto) a 10 ยกกำลัง-18
ชนิดของมาตรฐานในการวัด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยวัดพื้นฐานหรือหน่วยวัดต่อเนื่อง เราจะพบว่ามาตรฐานที่นำมาใช้การวัดจะแตกต่างกันไปใช้งาน
มาตรฐานสากล
    มาตรฐานสากล (inernational standards) เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นจากการตกลงระหว่างนานาชาติ โดยการแทนหน่วยของการวัดค่าให้ใกล้เคียง และเที่ยงตรงที่สุดที่เทคโนโลยีในการผลิตและการวัดจะเออำนวยให้ มาตราฐานสากลนี้จะถูกตรวจและทดสอบค่าอย่างสม่ำเสมอ โดยการวัดแบบสัมบูรณ์ (absolute measurments) ในรูปของหน่วยพื้นฐานมาตรฐานสากลนี้จะถูกเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานของน้ำหนักและการวัดสากล และไม่ได้นำมาใช้ในการเปรียบเทียบค่าและปรับแต่งค่าของเครื่องวัด เป็นการปรับแต่งมาตรฐานของอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรฐานขั้นต้นหรือมาตรฐานปฐมภูมิ
    มาตรฐานขั้นต้นหรือมาตรฐานปฐมภูมิ (primary standards) เป็นมาตรฐานที่ถูกเก็บรักษาไว้ในห้องปฏิบัติการมาตรฐาน แห่งชาติในส่วนๆของโลก เช่น สำนักงานมาตรฐาน แห่งชาติ (National Bureau Standard หรือ NBS) ในกรุงวอชิงตัน ซึ่งเป็นผู้เก็บรักษามาตราฐานขั้นต้น สำหรับในทวีปอเมริกาเหนือ ส่วนในห้องปฏิบัติการ แห่งชาติส่วนอื่นคือ ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์แห่งชาติ ( National Physical Laboratory หรือ NPL ) ในสหราชอาณาจักรซึ่งเก่าแก่ที่สุดในโลก และ ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์แห่งชาติเยอรมัน ( Physikalish – Technische Reichsanstalt ) ในประเทศเยอรมนี มาตราฐานขั้นตอนนี้จะถูกใช้ในการแทนหน่วยพื้นฐาน และหน่วยต่อเนื่อง ในหน่วยทางเครื่องกลและหน่วยทางไฟฟ้า จะขึ้นอยู่กับการปรับแต่งโดยการวัดแบบสัมบูรณ์ที่ห้องปฏิบัติการ แห่งชาติแต่ละแห่งผลของการวัดค่าไปเปรียบเทียบค่ากับค่า อื่นๆอีกครั้ง ค่าที่หาได้จากการเฉลี่ยทั่วโลกจะใช้เป็นค่า มาตราฐานขั้นต้นค่ามาตราฐานขั้นต้นนี้จะใช้เพียงใน ห้องปฏิบัติการเท่านั้นโดยใช้ในการตรวจสอบและ ปรับแต่งค่ามาตรฐานขั้นที่2




มาตราฐานขั้นที่ 2 หรือมาตรฐานทุติยภูมิ
    มาตรฐานขั้นที่ 2 หรือมาตรฐานทุติยภูมิ (seccondards) นี้เป็นมาตรฐาน ที่ใช้การอ้างอิงจากมาตรบานขั้นต้น โดยนำไปใช้ในห้องปฏิบัติการการวัดใน ทางวัดในทางอุตสาหกรรม มาตรฐานขั้นที่ 2 นี้ถูกเก็บรักษาไว้ในห้องปฏิบัติการ ของโรงงานอุสากรรมแต่ละแห่ง และจะถูกตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งด้วยมาตรฐาน ขั้นต้นในบริเวณนั้น ผลของการตรวจสอบและปรับแต่งของมาตรฐานขั้นที่ 2 ทั้งหมดจะอาศัยห้องปฏิบัติการในรงงานอุตสาหกรรมของตัวเอง มาตรฐานขั้นที่ 2 นี้โดยปกติจะส่งไปปรับแต่งและเปรียบเทียบค่า กับมาตรฐานขั้นต้นที่ห้องปฏิบัติมาตรฐานแห่งชาติเป็นบางครั้ง บางคราวเพื่อให้ได้มาตรฐานที่คงที่ และจะออกใบรับรองให้ก่อน ที่จะส่งกลับมาใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม การวัดค่าดังกล่าว จะเป็นค่าที่ถูกเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานขั้นต้น
มาตรฐานการใช้งาน
    มาตรฐานใช้งาน ( Working Standards) นี้เป็นมาตราฐานที่ใช้ในเครื่องมือทั่วไปของการวัดค่าในห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้ในการตรวจสอบและปรับแต่งเครื่องมือในห้องปฏิบัติการทั่วไป สำหรับแสดงหรือเปรียบเทียบ ค่าความเที่ยงตรงของการวัดในการใช้งานทางอุสากรรม ตัวอย่างเช่น ในการผลิตค่าความต้านทานที่ถุกต้องจะใช้ตัวต้านทานมาตรฐาน ( Standard resistor ) ถือว่าเป็นมาตรฐานใช้งานในการควบคุมคุณภาพของการผลิตและตรวจสอบอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมา เพื่อให้การวัดค่าอุปกรณ์ที่ผลิตได้ยังคงอยู่ในขอบเขตความถูกต้องตามต้องการ
    นิยามของเครื่องมือวัดและการวัด
    เครื่องมือวัดได้ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางมากขึ้น เนื่องจากความสามารถของมนุษย์ในการผลิตเครื่องมือวัดมาใช้งาน การวัดส่วนใหญ่ การวัดส่วนใหญ่จะเป็นการวัดหาค่าปริมาณต่างๆ ที่ไม่ทราบค่าดังนั้นเครื่องมือวัดจึงถูกให้คำจำกัดความไว้ว่าคือ อุปกรณ์สำหรับหาค่า หรือขนาดของปริมาณ หรือการเปลี่ยนแปลง เครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นชื่ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าหรือทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ สำหรับหน้าที่ใการวัดทดสอบของเครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีส่วนประกอบแตกต่างไปจากโครงสร้าง เบื้องต้นของมิเตอร์วัดกระแสไฟตรง เนื่องจากเทคโนโลยีเจริญขึ้น ความต้องการที่จะประดิษฐ์เครื่องมือวัดอย่างประณีตและเที่ยงตรงมีมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องมือวัดใหม่ๆได้ถูกพัฒนาทั้งรูปแบบและการใช้งานเครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์จึงถูกประดิษฐ์ขึ้นมาwbr>wb ในการนำเครื่องมือวัดไปใช้งาน สิ่งหนึ่งที่จำเป็นคือ ต้องเข้าใจหลักการทำงานเบื้องต้น และประเมินความเหมาะสมสำหรับจุดมุ่งหมายของการนำไปใช้งาน ขอบเขตการใช้งาน ของเครื่องมือวัดทดสอบซึ่งจะนิยามกว้างๆ เครื่องมือวัด (instrument) เป็นอุปกรณ์สำหรับหาค่าหรือขนาดของปริมาณหรือตัวแปรใดๆ ความถูกต้อง (accuracy) คือการวัดที่เครื่องมือวัดอ่านค่าได้ใกล้เคียงกับค่าที่ถูกต้องของการวัดค่าตัวแปร ความเที่ยงตรง (precision) คือการวัดค่าซ้ำๆ กันของเครื่องมือวัดทดสอบ เช่น กำหนดค่าคงที่ของตัวแปรขึ้นมา ความเที่ยงตรงคือการหาค่าของระดับที่ต่อเนื่องกันของเครื่องมือวัดทดสอบ จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละค่า ความไว (sensitivity) คืออัตราส่วนของสัญญาณเอาต์พุตหรือผลตอบสนองของเครื่องมือวัด ต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณอินพุตหรือค่าเปลี่ยนแปลงที่วัดได้ ความสามารถในการแยกค่า (resolution) คือความสามารถของเครื่องมือวัดที่สามารถแสดงค่าการวัด ที่เปลี่ยนแปลงน้อยๆได้ ความผิดพลาด (ereor) คือค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากค่าที่ถูกต้องของการวัดค่าตัวแปร
กลับไป center