เครื่องมือวัดไฟฟ้าและการทำงาน


* แบบของเครื่องมือวัดไฟฟ้า แบ่งเป็นประเภทกว้างๆ ได้ 2 แบบ
1.เครื่องมือวัดแบบสัมบูรณ์หรือแอ็บโซลูต (absolute instruments)
2.เครื่องมือวัดแบบทุติยภูมิหรือเซกันดารี (secondary instruments)


* เครื่องมือวัดแบบสัมบูรณ์
ใช้เปรียบเทียบมาตรฐานของเครื่องมือวัดแบบทุติยภูมิเท่านั้น


* เครื่องมือวัดแบบทุติยภูมิ แบ่งออกเป็น 2 แบบ
1.แบบอนาลอก (analog measurement) ใช้หลักการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้เป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไปควบคุมให้เข็มบ่ายเบน


2.แบบดิจิตอล (digital measurement) ใช้หลักการเปรียบเทียบค่ากับค่ามาตรฐานที่กำหนดขึ้นทำให้เกิดค่าผิดพลาดขึ้น นำค่าผิดพลาดนี้ไปใช้แสดงผลการวัด และแสดงออกมาเป็นตัวเลข


* ส่วนเคลื่อนไหวของมิเตอร์ (meter movement) ทำให้เกิดการแสดงค่าเคลื่อนไหวจน ทำให้เกิดการเบนของเข็มชี้ขึ้น เข็มชี้จะชี้ค่าของปริมาณต่างๆบนสเกล ส่วนเคลื่อนไหวของมิเตอร์แบ่งตามโครงสร้างได้หลายชนิดดังนี้
1.. ส่วนเคลื่อนไหวชนิดลวดความร้อนหรือชนิดฮอตไวร์ (hot-wire movement)
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเส้นลวดตัวนำทำให้เกิดความร้อนและจะเกิดการขยายตัว จะทำให้เข็มชี้บ่ายเบนไปก็จะชี้ค่าเปลี่ยนแปลงตามกระแสที่ไหลผ่านเส้นลวดตัวนำ
2. ส่วนเคลื่อนไหวชนิดขดลวดเอียงหรือชนิดอินไคลน์คอยล์ (inclined-coilmovement)
ใช้ผลของสนามแม่เหล็กเนื่องจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ขึ้น และไปผลักดันให้เข็มชี้บ่ายเบนไป
ความเข้มของสนามแม่เหล็กจะขึ้นอยู่กับจำนวนรอบของขดลวด และจำนวนของกระแสที่ไหลผ่านขดลวด


3. ส่วนเคลื่อนไหวชนิดแผ่นโลหะผลักเครื่อนที่หรือชนิดรีพัลชันเวน (repulsion-vene movement)
เมื่อมีกระแสไหลผ่านขดลวด แผ่นเหล็กทั้งสอง เช่น ขั้วเหนือ (N) ทั้งคู่ หรือขั้วใต้ (S) ทั้งคู่ ทำให้ แผ่นเหล็กทั้งสองผลักซึ่งกันและกันเกิดการเคลื่อนที่
ของแผ่นเหล็กที่เคลื่อนที่ได้หมุนไปรอบท่อนโลหะทรงกระบอก ทำให้เข็มชี้บ่ายเบนไปด้วยโดยมีสปริงก้นหอยเป็นตัวบังคับการบ่ายเบน




4. ส่วนเคลื่อนที่ไหวชนิดท่อนเหล็กอ่อนเคลื่อนที่หรือโซลีนอยด์ (solenoid movement)
เมื่อกระแสไหลผ่านขดลวดโซลีนอยด์ จะทำให้ขดลวดโซลีนอยด์เกิดสนามแม่เหล็กผลักดันท่อนเหล็ก อ่อนให้เคลื่อนที่


เข็มที่ยึดกับท่อนเหล็กอ่อนเกิดการบ่ายเบนไปชี้ค่าบนสเกลแสดงค่า
5. ส่วนเคลื่อนไหวชนิดขดลวดเคลื่อนที่หรือชนิดมูฟวิ่งคอยล์



(moving-coil movement) เป็นเครื่องมือวัดไฟฟ้า
ที่ใช้ผลของสนามแม่เหล็ก 2 ชุดคือ สนามแม่เหล็กถาวร กับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ผลักดันกันทำให้ขดลวดเคลื่อนที่ ส่งผลให้เข็มชี้บ่ายเบนไป
-แบบเดือยและรองเดือย


-แบบห้อยแขวนด้วยแถบตึง


6. ส่วนเคลื่อนไหวชนิดไดนาโมมิเตอร์ (dynamometer movement) การบ่ายเบนของเข็มชี้จะขึ้นอยู่กับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 2 ขด คือชุดขดลวดอยู่กับที่จะมี 2 ขด
และชุดขดลวดเคลื่อนที่โดยหมุนรอบตัวเองมี 1 ขด โครงสร้างประกอบด้วยขดลวด 3 ขด เป็นขดอยู่กับที่ 2 ขด วางอยู่ ซ้ายและขวา
และเป็นขดลวดที่หมุนรอบตัวเอง 1 ขด วางอยู่ตรงกลาง ถูกยึดติดแน่นกับอยู่กับแท่งเหล็กทรงกระบอกพร้อมเข็มสปริงก้นหอย
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดทั้ง 3 ขด จะทำให้ขดลวดทุกขดเกิดอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าพร้อมๆกันทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก
ผลักดันขึ้นระหว่างสนามแม่เหล็กของขดลวดคงที่ และสนามแม่เหล็กของขดลวดเคลื่อนที่ ขดลวดที่เคลื่อนที่รอบตัวเอง เข็มชี้จะบ่ายเบนไป




กลับไป center