สรุปผลการดำเนินการของ เขตพื้นที่การศึกษาที่ 1
ของจังหวัดเลย

สรุปผลการดำเนินการของเขตพื้นที่การศึกษา 1
ของจังหวัดเลย
           เขตพื้นที่การศึกษา 1 จังหวัดเลยมีพื้นที่ประมาณ 7,816.46 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอ 8 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเลย อำเภอนาด้วง อำเภอปากชม อำเภอเชียงคาน อำเภอท่าลี่ อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้ว มีประชากร 362,704 คน สถานศึกษาจำนวน 331 แห่ง และนักเรียนจำนวน 63,453 คน

  • เด็กพิการวัยการศึกษา เป็นชาย 100 คน หญิง 72 คน รวม 172 คน
  • เด็กอัจฉริยะ เป็นชาย 1,142 คน หญิง 762 คน รวม 1,904 คน
  • เด็กด้อยโอกาสไม่มี

          ที่ตั้งเขตใช้อาคารสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย

เขตพื้นที่การศึกษา 1
ผลการดำเนินงาน
ปัญหาอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ

 

 

 

 

 

 

ผลการดำเนินงาน

1. โครงการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเลย งบประมาณ 18,187.50 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย
2. โครงการจัดระบบสารสนเทศ ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเลย งบประมาณ 30,600 บาท หน่วยงานรับผิดชอบ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย
3. โครงการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเลย งบประมาณ 53,000 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย
4. โครงการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและการดำเนินการเขตพื้นที่ งบประมาณ 53,463 บาท หน่วยงานรับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
5. โครงการสรุปการวิเคราะห์เชิงคุณภาพแบบประเมินตนเอง ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 25,000 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย
6. โครงการจัดทำแผนการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 7,500 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย
7. โครงการประชุมอบรมการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 25,000 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย
8. โครงการติดตามผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 15,000บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย
9. โครงการจัดตั้งศูนย์อำนวยการและประสานงานการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 15,000 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย
10. โครงการจัดทำข้อมูลสารสนเทศด้านบุคลากร สู่เขตพื้นที่การศึกษา งบประมาณ 17,215 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย
11. โครงการพัฒนาบุคลากรสู่เขตพื้นที่การศึกษา งบประมาณ 377,940 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย
12. โครงการประชุมปฏิบัติการการจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเลย งบประมาณ 140,485 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย
13. โครงการจัดหาที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 1,2 การสำรวจวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ อาคาร สถานที่งบประมาณ 20,750 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดเลย
14. โครงการประชุมสัมมนา รายงานความก้าวหน้าผลการเตรียมความพร้อมการประการเขตพื้นที่ งบประมาณ 10,000 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ

 

 

 

ปัญหาอุปสรรค

1) ครูมีงานในความรับผิดชอบมากทั้งงานธุรการและการสอน งานที่มอบหมายให้ครูน่าจะมีเฉพาะงานการสอน
2) การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการทำงานแนวใหม่ ทำให้การปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา ไม่บรรลุตามเป้า หมายที่ตั้งไว้
3) บุคลากรยังขาดการพัฒนาตนเอง เนื่องจากเงื่อนไขทางสังคมไม่เอื้ออำนวย และขาดมาตรการจูงใจให้ปฏิบัติ
4) การทำงานที่มุงผลประโยชน์ต่อชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ แต่มีการทำงานเพื่อพวกพ้องทำให้การศึกษาล้มเหลว
5) กฎระเบียบต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
6)
ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปอย่างแท้จริง ผู้แนะนำส่วนมากเน้นเพื่อทำผลงานอาจารย์ 3 แล้วจะได้เงินประจำตำแหน่ง ซึ่งจริงๆ แล้วน่าจะเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีคุณภาพจริงๆ
7) ความวิตกกังวลของข้าราชการที่จะได้รับผลกระทบในการเปลื่ยนแปลงโครงสร้างการปฏิรูปการศึกษา
8) โรงเรียนอยู่ห่างไกลจากพื้นที่เขตการศึกษา โดยเฉพาะเขต 1 ในส่วนของอำเภอนาแห้ว ซึ่งยังมีความต้องการเขตพื้นที่ การศึกษาแยกเป็นเขตที่ 3 ต่างหาก ประกอบด้วย อำเภอนาแห้ว ด่านซ้าย ภูเรือ ท่าลี่

 

 

 

 

 

            ข้อเสนอแนะ

             1. เร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับบุคลากรในแนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์   
                 และทิศทางการจัดการศึกษา

              2. ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ทั้งทางด้านวิชาการ การจัดกระบวนการเรียนการสอน การใช้สื่อเทคโนโลยี
                  และการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการทำงานแนวใหม่

              3. ควรเร่งรัดกฏหมายการบริหารราชการกระทรวง และกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตาม
                   พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ให้มีผลบังคับใช้ เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาสามารถขับเคลื่อนได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น