แหล่งโบราณสถานและโบราณวัตถุในจังหวัดเลย

ที่มา : สัมฤทธิ์  สุภามา กลุ่มส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม


        ศิลปะถ้ำ

                                จากการสำรวจศิลปะถ้ำในพื้นที่จังหวัดเลย ที่อยู่ตามถ้ำเพิงผาหรือหน้าผา เคยถูกใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีทั้งถาวรและชั่วคราว   
             บางแห่งใช้เป็นสถานที่ฝังศพหรือใช้ทั้งสองอย่างรวมกัน บางแห่งใช้เป็นที่สร้างศิลปะ เช่น วาดภาพไว้บนผนัง หรือตามซอกหิน หรืออีก
            ลักษณะหนึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัด เท่าที่ได้มีการสำรวจกันมาเมื่อแรกอยู่ตามเขาหินปูน ๖ แห่ง เทือกเขาหินทราย ๓ แห่ง และ
            หินแกรนิต ๑ แห่ง ดังต่อไปนี้

            เขาหินปูน ๕ แห่ง ได้แก่

ถ้ำผาปู่ วัดถ้ำผาปู่ บ้านนาอ้อ หมู่ ๙ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง

ถ้ำมโหฬาร วัดถ้ำมโหฬาร บ้านน้อยสุขใจ ตำบลหนองหิน กิ่งอำเภอหนองหิน

ถ้ำสูง วัดถ้ำมโหฬาร บ้านน้อยสุขใจ ตำบลหนองหิน กิ่งอำเภอหนองหิน

ถ้ำผาฆ้อง ๑ ภูผาฆ้อง บ้านผาฆ้อง ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง

ถ้ำผาฆ้อง ๒ ภูผาฆ้อง บ้านผาฆ้อง ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง

            เขาหินทราย ๓ แห่ง

ถ้ำพระ บ้านนาน้อย ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง

ถ้ำมือ บ้านนาน้อย ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง

ถ้ำคิววิว บ้านนาน้อย ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง

       เขาหินแกรนิต ๑ แห่ง

ภูถ้ำพระบ้านกกดู่ ตำบลกกดู่ อำเภอเมือง

                            การสำรวจแหล่งศิลปถ้ำหินปูน สำหรับแหล่งที่ ๖ ถ้ำลายแทง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ดงลาน เขตอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น
             ต่อมาในปี ๒๕๒๑ มีพระธุดงค์ไปพำนักปักกลด อยู่ที่ถ้ำภูฝาง ถัดภูรวกแหล่งแร่โบราณที่ได้สำรวจไปแล้ว ท้องที่บ้านทรัพย์มงคลตำบลนาดินดำ
             อำเภอเมือง ชาวบ้านสำคัญว่าเป็นลายแทงกรุสมบัติ จนถึงปี ๒๕๒๘ จึงได้เปิดเผย ซึ่งนายประพนธ์ พลอยพุ่ม ได้เข้าไปสำรวจ เป็นภาพลายเส้น
            เขียนด้วยสีแดงอมส้มอยู่เพิงผาปากถ้ำ ซึ่งมีต้นมะขามลำต้นโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕ เซนติเมตร อยู่ ๑ ต้น ชาวบ้านเรียกถ้ำขามและพื้นที่
            ปากถ้ำ จะสูงกว่าระดับดินเดิมประมาณ ๑๕ เมตร ปัจจุบันสภาวัฒนธรรมจังหวัดสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองเลยและกรมป่าไม้อนุรักษ์พื้นที่ไว้
            เป็นวนอุทยานแห่งชาติ เพื่อการท่องเที่ยวทางโบราณวิทยา

ศิลปสมัยก่อนประวัติศาสตร์

                            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานมีพื้นที่รวมกันถึง ๑ ใน ๒ ของประเทศไทย หรือประมาณ ๑๗๐,๒๖๖ ตารางกิโลเมตร
             ประกอบด้วยพื้นที่ ๑๙ จังหวัด ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับความสูงโดยเฉลี่ย ๒๐๐ เมตร พื้นที่ส่วนนี้ยังถูกแบ่งออก
            ๒ ส่วนโดยแนวเทือกเขาภูพาน จากลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดพื้นที่เป็นแอ่ง ๒ บริเวณ คือ แอ่งโคราช และ แอ่งสกลนคร ในที่นี้จะกล่าวถึง   
            แอ่งสกลนคร หรือ อีสานเหนือ

                            แอ่งสกลนครเป็นพื้นที่ส่วนเหนือที่แยกตัวออกจากอีสานใต้หรือแอ่งโคราชโดยแนวเทือกเขาภูพานและภาคกลางโดยแนว
            เทือกเขาเพชรบูรณ์ตะวันออกและตะวันตก รวมทั้งเทือกเขาดงพญาเย็น ลักษณะแนวเทือกเขาดังกล่าวเป็นแนวขอบโดยรอบ ทำให้พื้นที่
            ตรงกลางมีลักษณะเป็นแอ่งกว้างระหว่าง ๕๐
– ๑๐๐ กิโลเมตร มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน อาทิ แม่น้ำสงคราม แม่น้ำพุง และลำน้ำห้วยหลวง
             ไหลลงสู่แม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันออก นอกจากนี้ยังมีหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ เช่น หนองหาน จังหวัดสกลนคร หนองหานกุมภวาปี
            จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น แอ่งสกลนครครอบคลุมจังหวัดต่าง ๆ เช่น อุดรธานี สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม เลย กาฬสินธุ์
            และมุกดาหาร ลักษณะภูมิประเทศมีความสูงเฉลี่ย ๑๔๐
–
๑๘๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล

                            อย่างไรก็ตามเมื่อมองย้อนกลับไปในอดีตพบว่าพื้นที่บริเวณนี้มีวิวัฒนาการมาไม่ต่ำกว่า ๒๒๐ ล้านปีมาแล้ว อยู่ในสมัยโทรแอสสิก
            บริเวณนี้เป็นลำธารน้ำจืดที่เป็นที่อาศัยของสัตว์โบราณหลายชนิด อาทิ ไฟโตซอร์ (สัตว์คล้ายจระเข้ขนาดใหญ่) เต่า และไดโนเสาร์ เป็นต้น
             ดังซากกระดูกไดโนเสาร์ ซอโรพอดและคาร์โบซอร์ ที่พบที่ภูประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นจุดหนึ่งที่แสดงถึงความอุดม
            สมบูรณ์ของพื้นที่ในบริเวณนี้ ที่เกิดมีสิ่งมีชีวิตและวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง

                               ในระหว่าง ๕,๖๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้วพบว่า ในบริเวณแอ่งสกลนครนี้มนุษย์ได้เริ่มตั้งถิ่นฐานอย่างมั่นคง ซึ่งนักวิชาการทั่วไป
            ได้กำหนดไว้ว่าเป็นลักษณะ “สังคมกสิกรรม” วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาจะทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และการแลกเปลี่ยนสินค้า มีการ
            แบ่งงานกันเป็นสัดส่วน อาทิ ช่างฝีมือในการปั้นเครื่องปั้นดินเผา, ทอผ้า, เครื่องมือเครื่องใช้, โลหะ, เกษตรกรและเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

                                ลักษณะการตั้งถิ่นฐานจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มและมีระเบียบแบบแผนในการปกครองกลุ่มมนุษย์ดังกล่าวยังได้ทิ้งร่องรอยของ
            การแสดงออกในความคิดเป็นพวก การเขียนสีบนผนังถ้ำหรือเพิงผา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดำรงชีวิต ความเชื่อและสภาพแวดล้อม
            ของกลุ่มนั้น ได้เป็นอย่างดี ดังได้พบหลักฐานในแหล่งต่าง ๆ เช่น จังหวัดอุดรธานี เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ และกาฬสินธุ์ เป็นต้น       
            (เอกสารกองโบราณคดี หมายเลข ๑๑/๒๕๓๒)
           
  
         ภาพที่ ๑ ภาพรอยเท้าไดโนเสาร์ที่ผาเตลิดบนภูหลวง

                                                                                                                    แหล่งโบราณคดีในพื้นที่แอ่งสกลนครหรืออีสานเหนือ จะได้ทำการศึกษา
                                                                                                                   เฉพาะกรณีจังหวัดเลย อยู่ในระหว่าง ๕,๖๐๐
– ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว เพื่อเป็น
                                                                                                                   แนวทางในการศึกษากลุ่มชนในจังหวัดเลย
  หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องก่อนประวัติ-
                                                                                                                   ศาสตร์ที่น่าสนใจ เช่นหลักฐาทางด้านโบราณวิทยาและหลักฐานทางโบราณ
                                                                                                                   คด
หลักฐานทางด้านโบราณวิทยา ที่พบในจังหวัดเลย ได้แก่ รอยเท้าไดโนเสาร์
                                                                                                                  ที่บริเวณผาเตลิดบนภูหลวง ในเขตอำเภอภูเรือ จำนวน ๑๖ รอยเท้า จากการศึกษา
                                                                                                                  ของผู้เชี่ยวชาญพบว่ารอยเท้าของไดโนเสาร์จำพวกกินเนื้อเดินสองขาด้วยขาหลัง
                                                                                                                  สูงประมาณ ๓ เมตร   มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ ๑๔๐ ล้านปีมาแล้ว 
                                                                                                                  (พิสิฐ เจริญวงศ์ . ๒๕๒๘)

                                                                                                                      

 

                        หลักฐานทางด้านโบราณคดี ที่พบได้แก่ ศิลปะถ้ำ เครื่องมือหิน กำไลสำริด เหล็ก ทองเหลือง และภาชนะต่าง ๆ  ศิลปะ เป็นทรัพยากรที่
            ต่างไปจากทรัพยากรธรรมชาติที่คนทั่ว ๆ ไป เห็นแล้วรู้ว่าเป็นอะไร แต่อาจมองศิลปะไม่เห็นเพราะรูปศิลปะที่ปรากฏอาจจะไม่เหมือนกับสิ่งที่
            เห็นในธรรมชาติก็ได้ เว้นแต่จะเลียนแบบขึ้น

                        อดีตมนุษย์ยังไม่มีหนังสือใช้ มนุษย์ใช้ศิลปะเป็นสื่อมากกว่าสมัยนี้เพราะศิลปะเป็นสื่อบอกเล่าให้คนในกลุ่มสังคมเดียวกันเข้าใจอีก
            ทางหนึ่งเพิ่มเติมจากภาษาพูด และเป็นสิ่งติดต่อกับพลังเหนือธรรมชาติอีกหลายเรื่องหลายทางด้วยกัน

            ถ้ำ คือ โพรงที่เว้าเข้าไปในภูเขา ปากถ้ำจะแคบมีระยะน้อยกว่าความลึก

            เพิงผา คือ โพรงที่ความลึกน้อยกว่าความกว้าง

            หน้าผา คือ ไม่มีความลึกเลย

                        งานศิลปะที่ทำอยู่ในถ้ำ ปากถ้ำ จึงเรียกว่าศิลปะถ้ำ แต่ในความเป็นจริงแล้ว งานศิลปะประเภทนี้ยังทำอยู่ตามหน้าผา เพิงผา และเพิงหิน
            ด้วย สำหรับจังหวัดเลย เพิงผาหรือเพิงหินที่ให้ร่มเงาได้ ชาวบ้านเขาเรียกว่า ถ้ำกันทั้งนั้น เช่น ถ้ำผาฆ้อง และถ้ำผาฆ้อง ๒ ถ้ำมโหฬาร ถ้ำสูง   

            ถ้ำลายแทง ถ้ำพระ ถ้ำมือ ถ้ำคิววิว ถ้ำผาปู่ ถ้ำพระ (ตำบลกกดู่) และถ้ำขาม ล้วนแต่เป็นเพิงหินและถ้ำที่ให้ร่มเงาทั้งสิ้น

            โปรดติดตามตอนต่อไป

        กลับเมนู