จากใจศึกษาธิการจังหวัดเลย
                      การพิจารณาทุน"ทวี  บุญยเกียรติ
                       คำสั่งย้าย/เลื่อนตำแหน่ง
                      
ข่าวคุรุสภาจังหวัด    
                       การประชุมกาแฟหน่วยงานทางการศึกษา 
                                เงินกู้ยืมพัฒนาชีวิตครู
                                รายการโทรทัศน์ "ปฏิรูปการศึกษา"
                               การส่งเสริมประสิทธิภาพข้าราชการ
                           
    ความเคลื่อนไหวการปฏิรูปการศึกษา
                           
    บทความพิเศษ หัวข้อ ความหลากหลายของเผ่าพันธุ์ คือ "พลังสร้างชาติสิงค์โปร์"
ขอต้อนรับคณะประเมินการกำหนดตำแหน่งของข้าราชการครู
นายเฉลียว  อยู่สีมารักษ์ นายประเสริฐ  แก้วเพ็ชร นายสุรเทพ  ตั๊นประเสริฐ

        ในวันที่ 27 สิงหาคม 2545 คณะกรรมการประเมินการกำหนดตำแหน่งของข้าราชการครูผู้บริหารการศึกษานอกสถานศึกษาจะเดินทางมาตรวจเยี่ยมคณะผู้บริหารการศึกษาของจังหวัดเลย ซึ่งนำโดยท่านเฉลียว  อยู่สีมารักษ์ รองเลขาธิการ ก.ค. ท่านประเสริฐ  แก้วเพ็ชร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตการศึกษา 7 และท่านสุรเทพ  ตั๊นประเสริฐ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พร้อมคณะ 
        สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย  ซึ่งมี นายเทวรัฐ  โตไทยะ ศึกษาธิการจังหวัดเลย นายปรีชา  กมลรัตน์ ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดเลย นายบัณฑิต  พรโสภิณ ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดเลย และบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาอำเภอและกิ่งอำเภอ รู้สึกเป็นเกียรติและขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง จากใจชาวเสมาเลย

 

 

            

จากใจศึกษาธิการจังหวัดเลย
                          ภาวะวิกฤตเกิดขึ้นได้ทุกขณะจิต แต่ใครผ่านพ้นได้ถือว่ากล้าแกร่ง แต่วิกฤตครั้งนี้เป็นภัยจากธรรมชาติ ด้วยอุทกภัยจาเทือกเขาหลวง ที่มีฝนตกหนักในวันที่ 1 ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนถึง 240 มิลลิเมตร สายวันที่ 2 ได้ถล่มเข้าตัวอำเภอวังสะพุง โชคดีที่มีเพื่อนเป็นห่วงโทร.บอก และขออนุญาตงัดบ้านเก็บข้าวของขึ้นชั้นบน อายก็อาย เพราะเจ้าของบ้านไม่ได้อยู่บ้านหลายวัน สกปรกมาก ขณะเดียวกันข้าวของก็ไม่เป็นระเบียบ แต่ด้วยความมีน้ำใจของเพื่อนร่วมงาน จึงอนุญาตให้เก็บขึ้น

            

            จะดูเพื่อน  ยามยาก      อนาถา
                    ดูภรรยา     รู้เห็นเมื่อ    เป็นไข้
                    ดูหมู่มิตร   ก็เมื่อยาม    เรามีภัย
                    ดูข้าไท       รู้เห็น          เมื่อเป็นงาน

                                   จากเช้าวันที่ 3 ที่หนีตายออกจากบ้านเพราะน้ำระดับอกแล้ว จนถึงวันที่ 8 ได้อาศัยพักนอนที่ห้องสำนักงาน ท่ามกลางน้ำล้อมรอบ แสงเทียนริบหรี่ หมู่ยุงและข่าวน้ำจะขึ้นอีก 2-3 เมตร ได้มองเห็นสัจจธรรมหลายอย่าง และเห็นความจริงของบทกลอนข้างบน หลายคนไม่เชื่อว่าน้ำท่วม หลายคนไม่รู้ว่าเหตุใดจึงเก็บข้าวของขึ้นสูง หลายคนว่าน้ำท่วมไม่เห็นมีอะไร ขี้โคลนก็ไม่มี คนเหล่านี้ไม่ได้ประสบด้วยตัวเอง ไม่ได้ยกข้าวของ ไม่ได้ห่วงงานตัวเองจะเสียหาย ไม่ได้ล้างโคลนทำความสะอาด จึงไม่ทราบความจริงที่เจ็บปวด ผมต้องขอขอบคุณด้วยความจริงใจแก่ผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข...
                     ด้วยคุณความดีที่ท่านได้กระทำในครั้งนี้ ขอจงได้เป็นเครื่องเชิดชูเกื้อหนุนและน้อมนำให้คุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย  ดลประทานพรให้ทุกท่านดังกล่าว ได้ประสบแต่ความสุข ความเจริญ โชคดีมีชัย ร่ำรวยด้วย ยศฐาบรรดาศักดิ์ ตลอดไปเทอญ

 

การพิจารณาทุน"ทวี  บุญยเกียรติ" จังหวัดเลย ประจำปี 2545

                ในวันที่ 18 กันยายน 2545 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย จะดำเนินการจัดการประชุมคณะกรรมการในการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสายสามัญและสายอาชีพที่เหมาะสมจะได้รับทุน "ทวี  บุญยเกียรติ" จำนวน 1 ทุน ๆ ละ 5,000 บาท ซึ่งผลการพิจารณาประการใดจะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป 

 

 คำสั่งย้าย/เลื่อนตำแหน่งข้าราชการ สป.จ.เลย ประจำปี 2545 
             
นายเทวรัฐโตไทยะศึกษาธิการจังหวัดเลยเปิดเผยว่า ในเดือนกันยายนนี้ ได้มีคำสั่งโยกย้ายและเลื่อนระดับของข้าราชการสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย โดยแยกเป็น
                      * ข้าราชการเลื่อนระดับ
  จำนวน  2 ราย
                     
1. นางเกื้อกูล  อาจแก้ว  เจ้าพนักงานธุรการ 5 สนง.ศธจ.เลย เลื่อนเป็น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6 สนง.ศธจ.เลย
                      2. นางนพวรรณ  เลี้ยงรักษา  เจ้าพนักงานธุรการ 5 สนง.ศธอ.เชียงคาน เลื่อนเป็น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6 สนง.ศธอ.เชียงคาน
                     * ข้าราชการโยกย้าย  จำนวน  8 ราย
                     
1. นางเยาวลักษณ์  เกษทองมา  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6 สนง.ศธอ.เมืองเลย ย้ายไปเป็น นักวิชาการศึกษา 6 สนง.ศธก.เอราวัณ
                      2. นางวรรณภรณ์  สุทธิแสน  เจ้าพนักงานการเงิน 5 สนง.ศธอ.ด่านซ้าย ย้ายไปเป็น เจ้าพนักงานการเงิน 5 สนง.ศธอ.นาแห้ว
                      3. นางวรรณวิไล  ขุมดินพิทักษ์  เจ้าพนักงานธุรการ 5 สนง.ศธอ.นาแห้ว ย้ายไปเป็น เจ้าพนักงานธุรการ 5 สนง.ศธอ.เมืองเลย
                      4. นางมัลลิกา  วงษ์ลา  เจ้าพนักงานการเงิน 5 สนง.ศธอ.ท่าลี่ ย้ายไปเป็น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6 สนง.ศธอ.ปากชม
                      5. นางเฑียรการดา  ต่างใจ  เจ้าพนักงานการเงิน 2 สนง.ศธจ.หนองคาย ย้ายมาเป็น เจ้าพนักงานการเงิน 2 สนง.ศธอ.นาแห้ว
                      6. นายนฤมิตร  รัตนมงคล  นักวิชาการศึกษา 6 สนง.ศธอ.นาแห้ว ย้ายไปเป็น นักวิชาการศึกษา 6 สนง.ศธอ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
                      7. นายสัมพันธ์  อะทะสุวรรณ  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6 สนง.ศธอ.ท่าลี่ ย้ายไปเป็น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6 สนง.ศธอ.เชียงของ จ.เชียงราย
                      8. นางสาวสุชัญญา  อาจปาสา  นักวิชาการศึกษา 3 สนง.ศธอ.ศรีบุญเรือง ย้ายมาเป็น นักวิชาการศึกษา 3สนง.ศธอ.ภูหลวง

 

 ข่าวคุรุสภาจังหวัดเลย 
                 1. นายเทวรัฐ
โตไทยะ ผู้อำนวยการคุรุสภาจังหวัดเลยเปิดเผยว่า คุรุสภาจังหวัดเลยมีความเป็นห่วงเป็นใยสมาชิกคุรุสภาที่ได้รับความเดือดร้อนและความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมจังหวัดเลย เมื่อระหว่างวันที่ 2-7 กันยายน 2545 จึงขอแจ้งให้สมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้ ได้มาติดต่อขอรับแบบฟอร์มในการขอรับความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานคุรุสภาจังหวัดเลย ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในเวลาราชการ
                 2. เนื่องจากในวันที่ 11 ตุลาคม 2545 คณะกรรมการคุรุสภาจังหวัดและอำเภอจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี พร้อมกันทั่วไป ทางสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ จะดำเนินการออกเกียรติบัตรให้แก่คณะกรรมการคุรุสภาจังหวัดและอำเภอ ที่ทุกท่านได้ทำงานด้วยความเสียสละ อดทน และช่วยเหลืองานของคุรุสภาด้วยดีมาตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งอยู่ ส่วนกำหนดการมอบเกียรติบัตรนั้น จะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป

 

ารประชุมสภากาแฟหน่วยงานทางราชการ/สถานศึกษาจังหวัดเลย ครั้งที่ 5/2545 

                        การประชุมสภากาแฟหน่วยงานทางการศึกษา/สถานศึกษาจังหวัดเลยครั้งที่
5/2545 โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 25 ันยายน 2545 เวลา 07.30 น. ที่ห้องประชุมสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย เน้นการดำเนินกิจกรรมการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาภายใต้แผนยุทธศาสตร์ 9 ประการกระทรวงศึกษาธิการในการป้องกันแก้ไขปัญหา ดังนี้
           1. การรวมพลังรณรงค์สมัชชาต่อต้านยาเสพติด เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 ณ สมาคมพ่อค้าจังหวัดเลย โดยเยาวชน ลูกเสือ เนตรนารี นักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 3,000 คน

2. พิธีการเดินสวนสนามเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติจังหวัดเลยในวันที่  1 กรกฎาคม 254  ณ สนามกีฬากลางจังหวัดเลยเพื่อทบทวนกฏและคำปฏิญาณของลูกเสือและรวมพลังต่อต้านยาเสพติดจังหวัดเลยโดยมีลูกเสือผู้บังคับบัญชาลูกเสือเข้าร่วม  จำนวน 3,800คน
3. จัดตั้งคณะกรรมการตรวจหอพัก ร่วมกับประชาสงเคราะห์จังหวัด

4
. การจัดประชุมคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยจังหวัดเลย ด้านการให้การศึกษาและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้การประชาสัมพันธ์การใช้ถนนการขับขี่ยานพาหนะการใช้หมวกกันน๊อคการจอดรถในที่ปลอดภัย

 เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เงื่อนไขการกู้ยืมเงินตามโครงการพัฒนาชีวิตครู

กระทรวงศึกษาธิการแจ้งว่าได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ตามโครงการพัฒนาชีวิตครู โดยได้มีการร่วมมือกัน 3 ฝ่าย ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ ข้าราชการครูและธนาคารออมสิน พร้อมทั้งได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เงื่อนไขการกู้ยืมเงิน ดังนี้
     1.จำนวนเงินกู้ ขยายวงเงินรวมจากเดิมรายละไม่เกิน 1,400,000 บาท เป็นไม่เกินรายละ 2,000,000 บาท ดังนี้
         1.1 กรณีบุคคลค้ำประกัน จากเดิมกำหนดให้กู้ “ไม่เกิน 20 เท่าของเงินเดือนแต่ไม่เกิน 400,000 บาท ” เป็น “ไม่เกิน 30 เท่าของเงินเดือน 
               แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท ”
     
   1.2 กรณีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จากเดิมกำหนดให้กู้ “ ไม่เกิน 1,400,000 บาท ”เป็น “ ไม่เกิน 2,000,000 บาท ”
         1.3 กรณีกู้ตาม 1.1 และ 1.2 จากเดิมกำหนดให้กู้ “ ไม่เกิน 1,400,000 บาท ”เป็น “ ไม่เกิน 2,000,000 บาท “
      2.ระยะเวลาชำระเงินกู้ ขยายระยะเวลากู้กรณีบุคคลค้ำประกัน จากเดิม “ไม่เกิน 8 ปี ”เป็น “ ไม่เกิน 10 ปี ”
      3.หลักประกัน
         3.1 กรณีหลักประกันเป็นที่ดินพร้อมอาคารขยายจาก “ไม่เกินร้อยละ 85 ของราคาประเมิน ” เป็น “ไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมิน ”
         3.2 กรณีหลักประกันเป็นที่ดินว่างเปล่าขยายจาก “ ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมิน ” เป็น “ไม่เกินร้อยละ 85 ของราคาประเมิน" บุคลากรผู้สนใจสามารถติดต่อขอกู้ได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย

 


รายการโทรทัศน์ “ปฏิรูปการศึกษา”

กระทรวงศึกษาธิการ ขอเชิญชวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและประชาชนทั่วไป ชมรายการโทรทัศน์ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่รายงานความก้าวหน้าการปฏิรูปการศึกษา ดังนี้
1.รายการ “ประกายเยาวชน ” เผยแพร่ วันพุธที่ 1,3 ของเดือน   เวลา 13.00 – 13.30 น.
2.รายการ “ก้าวไกลปฏิรูปการศึกษา” เผยแพร่ทางช่อง 9 อังคารที่ 3 ของเดือน  เวลา 13.00  – 14.00 น.
3.รายการ “ เปิดประตูสู่ปฏิรูปการศึกษา ” เผยแพร่ทางช่อง 11 วันพุธที่ 4 ของเดือน เวลา 22.30 - 23.30 น.

 


ความเคลื่อนไหวการปฏิรูปการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการได้สรุปความเห็นและข้อเสนอของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างการบริงานกระทรวงการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 จากการประชุมเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2544 สรุปข้อเสนอหลัก 4 ประเด็น ดังนี้
1.ให้มีสำนักงานปลัดกระทรวงการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นหน่วยบริหารงานกลางมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และมีหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติ
การและประสานแผนของส่วนราชการกระทรวงการกำกับติดตามการดำเนินการตามนโยบายของส่วนราชการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีส่วนงานด้านกฏหมายและกิจการพิเศษ
2.สำนักคณะกรรมการการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษามีภารกิจทั้งด้านการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมและเป็นตัวแทนของกระทรวงในระดับพื้นที่ที่จะนำนโยบายด้านต่างๆไปสู่การปฏิบัติ รองรับการการกระจายอำนาจจากกระทรวง มีข้อเสนอ 2 ประเด็น คือ
2.1เห็นด้วยที่จะแบ่งเขตพื้นที่เป็น 295 เขต แต่ในระยะเริ่มแรกให้กำหนดเขตพื้นที่เป็น 142 เขต โดยยึดจังหวัดเป็นฐาน จังหวัดที่มีขนาดใหญ่มีความพร้อมสูง สามารถแบ่งได้มากกว่า 1 เขต
2.2สำนักงานฯเขตพื้นที่การศึกษาให้อยู่ในกำกับดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงเพื่อการประสานงานทั้งด้านการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเอกภาพการส่งผ่านนโยบายจากรัฐมนตรีไปสู่การปฏิบัติมีความชัดเจน สำนักงานฯเขตพื้นที่การศึกษา เป็นตัวแทนกระทรวง จึงต้องอยู่ในการกำกับดูแลของตัวแทนกระทรวงในระดับชาติ คือ ปลัดกระทรวง ส่วนการแต่งตั้งผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการดำเนินการ โดยมีปลัดกระทรวงเป็นเลขานุการเสนอรัฐมนตรีแต่งตั้ง
3.กรมการศาสนา และกรมศิลปากร ให้คงความเป็นกรมและเป็นนิติบุคคลขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวง โดยปรับปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ใหม่ ดังนี้
กรมการศาสนา
ให้ทำหน้าที่สนองงานของมหาเถรสมาคมเป็นหลัก อาจเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม มีฐานะเทียบเท่ากรม เป็นนิติบุคคล งาน นโยบาย ประสาน ส่งเสริมศาสนาอื่นๆให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม กรมศิลปากร ให้ทำหน้าที่เฉพาะงานปฏิบัติระดับชาติ เช่น หอสมุดแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ โบราณคดีและประวัติศาสตร์หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นต้นส่วนงานด้านการศึกษาให้อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการอุดมศึกษาสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา ให้กำหนดเป็นวิทยาเขตของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
4.การอาชีวศึกษาควรให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษามาตรา20ให้มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยเฉพาะโดยปรับเปลี่ยนกรมอาชีวศึกษาเป็นสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาหรือสำนักงานนโยบายและแผนการอาชีวศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล ทำหน้าที่เฉพาะการประสานนโยบายและแผน กำกับ ติดตาม การดำเนินงานด้านอาชีวศึกษา รวมทั้งให้สถานศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษารวมกันเป็นเครือข่ายจัดการอาชีวศึกษาในรูปคณะกรรมการ

                                                                   

ประเพณีแห่เทียน    เข้าพรรษา
กรกฎาคมนี้    ช่างสุขสันต์
ชาวประชาพร้อมหน้า     ทำบุญกัน
ให้ชีวันได้สดชื่น    และรื่นรมย์

ความหลากหลายของเผ่าพันธุ์  คือ พลังสร้างชาติ “สิงคโปร์”
โดย…นายวีรพงษ์ อุ่นมานนท์

                        สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นเกาะเล็กๆอยู่ปลายแหลมมลายูและตั้งอยู่ในท่ามกลางของผืนน้ำที่กว้างใหญ่ ทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิค ล้อมรอบด้วยผืนแผ่นดินอันประกอบด้วยประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย และออสเตรเลีย สิงคโปร์มีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ ประชากรและทรัพยากรธรรมชาติ แต่มีจุดเด่นในด้านยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางในการคมนาคม และการเดินเรือสมุทร กล่าวกันว่าใครก็ตามที่สามารถควบคุมสิงคโปร์ได้ ก็เปรียบเสมือนสามารถควบคุมช่องแคบมะลักกาได้ เอกลักษณ์ของสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษา และศาสนาที่แตกต่างกัน ปัจจุบันสิงคโปร์มีประชากรประมาณสามล้านคนประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ร้อยละ 76 ประกอบด้วยชาวจีนฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว และกวางตุ้ง ชาวมาเลย์ ร้อยละ 15 มาจากประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ชาวอินเดียร้อยละ 7 ประกอบด้วยชาวทมิฬ มาลายัน ปันจาบ ปากีสถานและศรีลังกาและชาติอื่นๆร้อยละ 2 มาจากทวีปยุโรปและเอเซีย กลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่เกิดขึ้นมาใหม่ ลูกครึ่งยุโรป–เอเชียหรือเรียกว่าชาวยูเรเซี่ยนการนับถือศาสนาประชาชนสิงคโปร์มีความเป็นเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาซึ่งเชื้อชาติอาจไม่ใช่เหตุผลหรือข้อจำกัดที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกและนับถือศาสนา คนสิงคโปร์นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 28  คริสต์ร้อยละ 19 อิสลามร้อยละ 16 เต๋าร้อยละ 13 ฮินดูร้อยละ 5 อื่นๆร้อยละ 1 และไม่มีศาสนาร้อยละ 18สำหรับการใช้ภาษาถือว่ามีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุด เพราะภาษาเป็นตัวสื่อกลางของมโนทัศน์ ทัศนคติและจุดมุ่งหมายอุดมการณ์ที่จะทำให้ภาษาสามารถครอบงำความคิดของบุคคลอื่นได้ ภาษาที่ใช้ในสิงคโปร์มีด้วยกันหลายภาษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาเกิดที่ถูกถ่ายทอดกันมาตามบรรพบุรุษส่วนภาษาทางการที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันมี 4 ภาษา คือ ภาษามาเลย์ ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และภาษาทมิฬ จากความแตกต่างและหลากหลายของเชื้อชาติ ภาษาและศาสนา ดังที่ได้กล่าวมาแล้วหากจะมองในด้านรัฐศาสตร์การปกครองจะได้คำตอบในการตั้งสมมุติฐานว่าเป็นประเทศที่น่าจะมีปัญหามากมายทางสังคมและการเมือง เหมือนกับหลายประเทศที่ประสบปัญหาอยู่ซึ่งถือเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวและขยายวงกว้างของปัญหาไปอย่างรวดเร็ว เพราะความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติพูดกันคนละภาษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตที่ล้วนแตกต่างกันทั้งสิ้นแต่ในทางตรงกันข้ามประชาชนสิงคโปร์มีความเป็นชาตินิยมมีระเบียบวินัยขยันกล้าหาญนิยมการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองทุกเชื้อชาติที่เข้ามาดำรงชีพในสิงคโปร์มีความต้องการให้คนอื่นยอมรับและเรียกตนเองว่าเป็นคนสิงคโปร์ซึ่งจะเป็นความภาคภูมิใจมากกว่าที่จะให้ถูกเรียกว่าเป็นชาวจีนมาเลย์อินเดียหรือชาติอื่นๆเพียงเป็นผู้อาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์เท่านั้นความเป็นสิงคโปร์ได้แสดงออกในลักษณะความกระตือรือร้นมุ่งมั่นรักสามัคคีที่จะพัฒนาประเทศของตนเองให้ทัดเทียมกับนานาอารยะ
ประเทศจนกลายเป็นประเทศที่สามารถพัฒนาตนเองอยู่ในระดับชั้นนำของโลก ความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา และภาษาจึงเป็นเป็นเหตุผลสำคัญในการสร้างพลังของชาติที่ยิ่งใหญ่ประชาชนของชาวสิงคโปร์ถึงแม้จะมากมายหลากหลายกลุ่ม ที่สำคัญได้แก่ จีน มาเลย์ และอินเดียซึ่งทั้งสามกลุ่มนี้มีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติพันธุ์ที่เห็นได้ชัดเจน แต่ประชากรของสิงคโปร์อยู่รวมกันอย่างสงบไม่มีการแตกแยกกัน ทั้งนี้เป็นเพราะประชากรส่วนใหญ่คือร้อยละ 76 เป็นชาวจีนและเป็นกลุ่มที่คุมอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองไว้ได้ประกอบกับประชากรทุกกลุ่มมีความเป็นอยู่อย่างดีอย่างสุขสบายสมกับ
ฐานะตน มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถ้วน ทุกกลุ่มได้รับความดูแลและได้รับผลประโยชน์จากรัฐอย่างเป็นธรรม จึงทำให้ความสามัคคีภายในรัฐมั่นคงทางด้านภาษา แม้ว่าจะมีภาษาราชการถึง 4 ภาษา แต่โรงเรียนประถมและมัธยมสามารถเลือกสอนเป็นภาษาใดภาษาหนึ่งได้ และทางรัฐยังยินยอมให้ชาวสิงคโปร์ใช้ภาษาได้ 2 ภาษา ขณะที่ภาษาที่ใช้ในการบริหารกิจการของรัฐเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งถือได้ว่าเป็นภาษากลาง ความแตกต่างในประชากรที่เนื่องมาจากภาษาจึงไม่มีชาวสิงคโปร์ยังมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาอีกด้วยจะเห็นได้ว่าแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนาแต่ชาวสิงคโปร์ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐโดยทั่วหน้า เรื่องเหล่านี้จึงไม่ทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งซึ่งจะไปกระทบต่อการเมืองได้การบริหารกิจการของรัฐ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นรัฐขนาดเล็ก การที่มีรัฐบาลกลางเพียงรัฐบาลเดียวจึงเป็นเรื่องเหมาะสม การที่มีขนาดเล็กยังทำให้อำนาจรัฐกระจายไปทั่วถึงทั้งรัฐ นอกจากนั้นระหว่างที่สิงคโปร์เป็นอาณานิคมของอังกฤษนั้น อังกฤษได้พัฒนาสิงคโปร์ไว้มาก การค้าในสิงคโปร์ก็เป็นการค้าเสรี ทั้งอังกฤษยังไม่ได้แบ่งแยกชาวสิงคโปร์ออกเป็นกลุ่มๆ ชาวสิงคโปร์จึงไม่มีความรู้สึกเป็นศัตรูต่ออังกฤษ และยังมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาโดยตลอดจะเห็นได้ว่าการที่สิงคโปร์เป็นรัฐที่เจริญก้าวหน้ามีฐานะทางเศรษฐกิจมั่งคั่ง มีเสถียรภาพทางการเมืองสภาพการเมืองสงบเรียบร้อย ปัญหาทางการเมืองมีน้อยมากจนเกือบกล่าวได้ว่าไม่มีเลยนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพภูมิศาสตร์ของสิงคโปร์ช่วยส่งเสริมปัจจุบันนี้สิงคโปร์ในสายตาของชาวโลก ถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีเสน่ห์และน่าทึ่ง ความเป็นเสน่ห์ของสิงคโปร์จะพบเห็นแต่ความลงตัวของธรรมชาติกับความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และความน่าทึ่งคือพลังความสามัคคีที่ยิ่งใหญ่ ที่ผลักดันให้ประชาชนบนเกาะเล็กๆนี้สามารถพัฒนาตนเองและประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองด้วยความรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ สมควรอย่างยิ่งที่เราคนไทยจะได้รับรู้ เรียนรู้ความชื่นชมปราศจากอคติ เพราะมนุษย์เราที่พัฒนาได้จนถึงทุกวันนี้ก็เนื่องจากมีการเลียนแบบและเอาอย่างกันนั่นเอง การเรียนรู้การพัฒนาสิงคโปร์จึงเป็นแบบอย่างที่ดีที่จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพลัง เกิดกำลังใจ เกิดความหวังว่า คนไทยของเราก็มีความสามารถที่จะพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าได้เช่นกัน หากคนไทยทุกคนได้ใช้ความเป็นไทและความหลากหลายทางธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศชาติรักสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจเพื่อสร้างพลังของแผ่นดินเพื่อให้ประเทศหลุดพ้นจากวิกฤติการณ์ต่างๆ ในที่สุดความสำเร็จและความยิ่งใหญ่ของชาติไทยอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

 

กลับเมนู