สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร
ระเบียบมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร

ของประเทศไทย(ต่อ)

3.การจัดการด้านสุขภาพสัตว์
3.1
การป้องกันและควบคุมโรค
  ฟาร์มจะต้องมีระบบการป้องกันและควบคุมโรคที่ดี ซึ่งรวมถึงระบบการฆ่าเชื้อโรค
  ก่อนเข้า-ออกจากฟาร์ม รวมถึงมาตรการในการควบคุมโรคให้สงบและไม่ให้แพร่
ระบาดออกจากฟาร์ม
  3.1.1 การทำลายเชื้อโรคก่อนเข้า-ออกฟาร์ม
  (1) บ่อน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ลักษณะบ่อต้องกว้างและยาวเพียงพอ สำหรับยานพาหนะทุก
  ชนิดที่แล่นเข้า-ออกฟาร์ม มีความลึกและลาดชันเหมาะสมที่ยานพาหนะจะแล่นลง
  ไปโดยสะดวก วัสดุที่สร้างเป็นบ่อต้องแข็งแรง โดยบ่อน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอาจจัดสร้าง
  ต่างหาก หรือประกอบอยู่กับโรงพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก็ได้ ในบ่อต้องใส่น้ำยาฆ่าเชื้อ
  โรคที่ผสมน้ำในอัตราส่วนตามที่ระบุในเอกสารกำกับ อีกทั้งมีการเปลี่ยนน้ำยาฆ่า
  เชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค ยานพาหนะที่จะเข้า-
  ออกต้องแล่นผ่านบ่อน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกคัน
(2) โรงพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ยานพาหนะและบุคคลภายนอกที่ผ่านเข้า-ออกฟาร์ม
  ต้องผ่านโรงพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ซึ่งควรอยู่บริเวณหน้าประตูทางเข้าฟาร์ม อุปกรณ์
  สำหรับฉีดพ่อนน้ำยาฆ่าเชื้อโรค จะต้องสามารถพ่นเป็นละออกให้ครอบคลุมทั่วยาน
  พาหนะที่แล่นผ่านภายในฟาร์มด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีความเข้มข้นเหมาะสมไม่
  กัดกร่อน
  (3) ห้องอาบน้ำและฆ่าเชื้อโรค ประกอบด้วย
  (3.1) ห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย ก่อนเข้าห้องอาบน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
  (3.2) ห้องอาบน้ำยาฆ่าเชื้อโรค มีความยาวห้องพอประมาณ พื้นต้องไม่ลื่น น้ำยาฆ่า
  เชื้อโรคที่ใช้ต้องไม่ระคายเคือง
  (3.3) ห้องอาบน้ำ หลังผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
  (3.4) ห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย ก่อนเข้าโรงเรือน
  *ทั้งนี้ทุกห้องต้งมีประตูปิด แบ่งแยกสัดส่วนชัดเจน อุปกรณ์ทุกอย่างต้องอยู่ในสภาพ
  พร้อมใช้งาน มีการรักษาความสะอาดตลอดเวลา เสื้อผ้าและรองเท้าที่ใช้ในฟาร์ม
  ต้องซักล้างให้สะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน
  3.1.2 การป้องกันการสะสมของเชื้อโรคในฟาร์ม มีระบบการดำเนินการดังนี้
  (1) เครื่องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเคลื่อนที่ ภายในฟาร์มต้องมีเคตรื่องพ่นยาฆ่าเชื้อโรค
  และอุปกรณ์ที่สามารถเคลื้อนย้ายได้สะดวกในการใช้งานตามจุดต่างๆ ภายในฟาร์ม
  จำนวนเครื่องพ่นที่มีต้องเหมาะสมกับขนาดของฟาร์มและต้องใช้งานได้เป็นอย่างดี
  (2) ความเข้มงวดในการทำลายเชื้อโรค
  (2.1)ยานพาหนะเข้า-ออก
  - บริเวณประตูเข้า-ออกโรงเรือนต้องเข้มงวด โดยยานพาหนะจะต้องแล่นผ่านโรงพ่น
  และบ่อน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ประตูต้องปิดตลอดเวลา จะเปิดให้เข้าได้ต่อเมื่อทราบจุด
  ประสงค์และได้รับอนุญาตการเข้าจากผู้รับผิดชอบ และต้องบันทึกรายละเอียดการ
  เข้า-ออก และเวลาที่เข้า-ออก ให้เป็นที่เรียบร้อย พาหนะที่ใช้ในฟาร์มและนอกฟาร์ม
  ไม่ควรใช้ร่วมกัน ไม่ควรอนุญาตให้พาหนะภายนอกเข้าฟาร์มโดยเด็ดขาด ต้องมี
  สมุดบันทึกแสดงให้ตรวจสอบได้ตลอดเวลา
  (2.2)บุคคลเข้า-ออก
  -บุคคลที่จะเข้าฟาร์มจะต้องผ่านห้องอาบน้ำยาฆ่าเชื้อดรค เปลี่ยนชุดที่ฟาร์มจัด
  เตรียมไว้ให้ และต้องมีการจดบันทึกการผ่านเข้า-ออกในสมุดให้ตรวจสอบได้ตลอด
  เวลา
  3.1.3 การสร้างภูมคุ้มกันโรค
  การทำวัคซีน สุกรทุกตัวในฟาร์มต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามคำแนะนำของสัตว
  แพทย์ประจำฟาร์ม
  3.1.4 การควบคุมโรค
  (1) การจัดการสุกรป่วย
  (1.1) แยกสุกรป่วยออกจากฝูง เพื่อทำการรักษา
  (1.2) ฟาร์มต้องมีบริเวณสำหรับสุกรป่วย แยกออกจากสุกรปกติ เพื่อไม่ให้มีการติด
  ต่อของโรค
  (1.3) ให้สังเกตอาการป่วยและรักษาจนกว่าอาการของโรคที่พบจะหมดไป และแน่ใจ
  ว่าไม่มีการแพร่ของโรคไปยังสุกรตัวอื่น
  (1.4) หากสุกรเป็นโรคระบาดร้ายแรง ต้องทำลาย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ
  โรค
  (1.5) สุกรที่ป่วยหรือตาย ให้ทำการตรวจวินิจฉัยโรคโดยสัตวแพทย์ และให้ส่งตรวจ
  ห้องปฏิบัติการตามความเห็นของสัตวแพทย์
  (2) การทำลายซากสุกร
  ต้องมีบริเวณเฉพาะสำหรับทำลายซากสุกรที่ตาย พื้นที่ต้องห่างจากบริเวณโรงเรือน
  อื่น และไม่ใช่ทางผ่านประจำของเจ้าหน้าที่ในฟาร์ม การทำลายซากมี 2 วิธี ดังนี้
  (2.1) การทำลายโดยการฝัง ต้องมีเนื้อที่เพียงพอ และอยู่ในบริเวณน้ำท่วมไม่ถึง ฝัง
  ซากได้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสม ทำ
  การราด หรือโรยบนส่วนต่างๆ ของซากสุกรจนทั่ว กลบหลุมเหนือระดับผิวดิน และ
  ราดหรือโรยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคซ้ำ
  (2.2) การทำลายโดยการเผา มีสถานที่เผา หรือเตาเผา อยู่ในบริเวณที่เหมาะสม ใช้
  ไฟเผาซากจนหมด
3.2
การบำบัดโรค
  การบำบัดโรคต้องอยู่ภายใต้การควบคุมรับผิดชอบของสัตวแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาต
  ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ ชั้นหนึ่ง และต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมการบำบัด
  โรคสัตว์ พ.ศ. 2505 และตามข้อกำหนดควบคุมการใช้ยาสัตว์ (มอก.7001-2540)
  หรือตามที่ประกาศ และมีผลบังคับใช้ในขณะนั้น
   
4.การจัดการสิ่งแวดล้อม
ฟาร์มจะต้องมีระบบกำจัดหรือบำบัดของเสียที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อ
  ผู้อยู่อาศัยข้างเคียง และสิ่งแวดล้อม
4.1
การกำจัดของเสีย
  4.1.1 ขยะมูลฝอย ต้องทำการเก็บรวบรวมในภาชนะที่มิดชิด และนำไปกำจัดทิ้งใน
  บริเวณที่ทิ้งของเทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรวบรวมและ
  กำจัดในที่กำจัดขยะซึ่งจัดไว้เป็นสัดส่วนแยกออกจากบริเวณที่เลี้ยงสุกร
  4.1.2 ซากสุกรกำจัดได้2วิธีคือ กำจัดโดยการฝังหรือโดยการเผาตามข้อ3.1.4(2)
  การทำลายซากสุกร
  4.1.3 มูลสุกรมีการกวาดเก็บและกำจัดมูลสุกรที่เหมาะสมตามาตรฐานของทาง
  ราชการเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง และก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นเป็นที่
  รำคาญต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง รวบรวมมูลสุกรในที่เฉพาะเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ
  และการขนถ่ายไปทำประโยชน์ต่อไป เช่น ใช้เป็นอาหารปลา ตากแห้งหรือหมักทำ
  ปุ๋ย หรือ นำไปผลิตก๊าซชีวภาพ
  4.1.4 น้ำเสีย ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของการเลี้ยงสุกร ต้องมีการกำจัดที่จะไม่ก่อ
  ให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมได้ โดยมีระบบระบายน้ำเสีย ที่ระบายได้คล่อง ไม่เกิด
  การอุดตัน ระบายลงกักเก็บในบ่อพัก เพื่อทำการบำบัดต่อไป จำนวนและขนาดของ
  บ่อต้องเพียงพอที่จะกักเก็บน้ำเสียจากฟาร์มได้
4.2
การบำบัดน้ำเสีย
  น้ำเสียต้องได้รับการบำบัดก่อนทีจะระบายออกสู่ภายนอก น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว
  ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง โดยการตรวจสอบวิเคราะห์ค่า OD, BOD,COD,
และ pH ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง หากมีการนำน้ำทิ้งกลับ
  มาใช้ในฟาร์มอีก ต้องมีการทำลายเชื้อโรคก่อน
 
(จบ)