การศึกษาด้านอนุกรมวิธานมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิด แต่ในปัจจุบันการศึกษาวิจัยทางอนุกรมวิธานยังอยู่ในระยะเริ่มต้น เรายังไม่ทราบว่าประเทศเรานั้นมีทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พืช สัตว์ แร่ธาตุ ฯลฯ อยู่กี่ชนิด มีปริมาณมากน้อยเพียงใด การที่เราจะนำทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นมาใช้ให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นต้องรู้ชนิดและปริมาณเสียก่อน
ดังนั้น การที่จะพัฒนาด้านการเกษตร ป่าไม้ เภสัชกรรม ตลอดจนการทำเหมืองแร่นั้นจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาวิจัยทางอนุกรมวิธานเป็นหลักอยู่เสมอ
ระบบการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต
ระบบการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตมีหลายระบบ แต่โดยทั่วไปที่สำคัญ มีอยู่ 3 ระบบ คือ
1. ระบบผิวเผิน (Artificial system)
2. ระบบธรรมชาติ (Natural system)
3. ระบบสายสัมพันธ์ตามลำดับวิวัฒนาการ (Phylogenetic system)
ลักษณะและเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกสิ่งมีชีวิต
เกณฑ์ใหญ่ๆ ที่ใช้ในการจำแนกสิ่งมีชีวิตเป็นหมวดหมู่ มีดังนี้
1. ลักษณะโครงสร้างที่เด่นชัด
2. แบบแผนของการเจริญเติบโตในระยะตัวอ่อน (Embryo)
3. ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ
4. โครงสร้างของเซลล์
5. สารเคมีที่เซลล์สร้างขึ้นหรือหลักฐานทางชีวะเคมี (Biochemical evidence)
6. ลักษณะทางพันธุกรรม
7. ศึกษาถึงพฤติกรรม
8. หลักฐานทางคณิตศาสตร์ (Numerical evidence)
คำถามประกอบการศึกษา
1. จำเป็นต้องมีการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตเพื่ออะไร
2. การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตสามารถทำได้โดยใช้เกณฑ์ใดบ้าง