สถาบันราชภัฏจันทรเกษม



พาร์ทิชัน


การแบ่งพาร์ทิชันนั่นก็คือการแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เป็นส่วน ๆ นั้นเอง โดยปกติก่อนที่จะนำฮาร์ดดิสก์ใหม่มาใช้งานจะต้องทำการเตรียมฮาร์ดดิสก์เสียก่อน ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ

1. Physical Formatting
2. Partitioning
3. Logical Formatting

Physical Formatting

หรือ Low-level Formatting เป็นขั้นตอนสำหรับกำหนดโครงสร้างทางกายภาพของฮาร์ดดิสก์ เช่น กำหนดแทร็ก,คลัสเตอร์ และ ไซลินเดอร์ ขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะทำมาจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว

Partitioning

พาริชั่นแต่ละพาริชั่นนั้นจะประกอบด้วยกลุ่มของไซลินเดอร์ที่ต่อเนื่องกันจำนวนหนึ่งขึ้นอยู่กับขนาดที่เรากำหนดซึ่งพาริชั่นแต่ละพาริชั่นที่เรากำหนดขึ้นมานั้น ก็มีลักษณะคล้ายกับห้องที่แยกออกจากกันทำให้เงลาที่ระบบปฏิบัติการมองเห็นฮาร์ดดิสก์นั้น ก็จะมองเห็นแยกเป็นห้อง ๆ ตามแต่พาร์ทิชันที่เราได้แบ่งแยกเอาไว้
การแบ่งพาร์ทิชันนั้นทำได้หลายวิธี นับตั้งแต่ใช้คำสั่งของดอส ที่ชื่อ Fdisk ไปจนถึงใช้ยูทิลิตี้ต่าง ๆ ช่วย พาร์ทิชันสำหรับฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

1. Primary Partition ไพรมารีพาร์ทิชัน เป็นพาร์ทิชันหลักของฮาร์ดดิสก์

2. Extended Partition เอ็กซ์เทนเดด พาร์ทิชัน เป็นพาร์ทิชันขยาย ที่ใช้สำหรับสร้างลอจิกคอลพาร์ทิชันขึ้นมา พาร์ทิชันนี้โดยปกติจะไม่สามารถใช้งานอย่างอื่นได้ นอกจากเก็บลอจิกคอลพาร์ทิชัน เอ็กซ์เทนเดดพาร์ทิชันนี้ ถือเป็นพาร์ทิชันหลักชนิดหนึ่งเหมือนกับไพมารีพาร์ทิชันเช่นกัน ดังนั้นจึงสามารถสร้างไพรมารีพาร์ทิชันและเอ็กซ์เทนเดดพาร์ทิชัน รวมกันไม่เกิน 4 พาร์ทิชัน บนฮาร์ดดิกส์ 1 ตัวเช่นเดียวกัน

3. Logical Partition ลอจิกคอลพาร์ทิชัน เป็นพาร์ทิชันที่สร้างขึ้นในเอ็กซ์เทนเดดพาร์ทิชัน เพื่อแก้ปัญหาไม่สามารถแบ่งพาร์ทิชันเกินกว่า 4 พาร์ทิชันในฮาร์ดดิสก์ตัวเดียวกันได้ ซึ่งถ้าหากไม่สร้างเอ็กซ์เทนเดดพาร์ทิชันขึ้นมาก่อนก็ไม่สามารถที่จะสร้างลอจิกพาร์ทิชันขึ้นมาได้ พาร์ทิชันนี้ไม่สามารถกำหนดให้บูทได้และจะถูกกำหนดตัวเลขไดรฟ์ไว้อยู่หลังไพรมารีพาร์ทิชันเสมอ

Logical Formatting

หลังจากทำการแบ่งพาร์ทิชันแล้วก็จะถึงขั้นตอนสุดท้ายคือ การกำหนดโครงสร้างของฮาร์ดดิกส์โดยระบบปฏิบัติการขั้นตอนนี้จะเป็นการกำหนดโครงสร้างของการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งตามปกติแล้วระบบปฏิบัติการแต่ละตัวก็จะมีลักษณะของโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโครงสร้างของการจัดเก็บข้อมูลที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีดังนี้

1. FAT (File Allocation Table) เป็นระบบโครงสร้างไฟล์ที่เรารู้จักกันดี เนื่องจากเป็นโครงสร้างดั้งเดิมที่ใช้กับ Dos และ Windows 3.1 เป็นต้นมา การใช้ระบบโครงสร้างไฟล์แบบนี้ ขนาดของคลัสเตอร์ จะข้นอยู่กับพาร์ทิชั่นที่กำหนดซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

- พาร์ทิชันขนาดไม่เกิน 128 MB ขนาดของคลัสเตอร์ 2 KB
- พาร์ทิชันขนาด 128 MB - 256 MB ขนาดของคลัสเตอร์ 4 KB
- พาร์ทิชันขนาด 256 MB - 512 MB ขนาดของคลัสเตอร์ 8 KB
- พาร์ทิชันขนาด 512 MB - 1.0 GB ขนาดของคลัสเตอร์ 16 KB
- พาร์ทิชันขนาด 1.0 GB - 2.0 GB ขนาดของคลัสเตอร์ 32 KB

2. VFAT (Virtual File Allocation Table) จัดเป็นระบบไฟล์แบบ Protect Mode ของโครงสร้างแบบ FAT ธรรมดา ที่ให้ใช้กับ Windows 95 เท่านั้น ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับ FAT ทุกประการ ข้อแตกต่างเพียงข้อเดียวคือสนับสนุนชื่อไฟล์อย่างยาว

3. NTFS (NT file system) เป็นระบบโครงสร้างไฟล์ที่ใช้กับ Windows NT

4. HPFS (High Performance File System) ระบบโครงสร้างไฟล์แบบนี้จะมีให้ใช้ใน OS/2 เท่านั้น ข้อดีของมันก็จะคล้ายคลึงกับ NTFS ในเรื่องของประสิทธิภาพระบบไฟล์นี้ไม่แพร่หลายเท่าใดนักเนื่องมาจากความล้มเหลวของตัว OS/2 นั่นเอง

5. FAT32 (32-Bit File Allocation Table) เป็นระบบไฟล์ที่มากับ Windows 95 OSR2 และคาดว่าจะเป็นระบบไฟล์ของ Windows 98 เองด้วยเป็นระบบที่เข้ามาลบข้อผิดพลาดของ FAT และ VFAT ของไมโครซอฟต์เอง คือ สามารถจัดการกับพาร์ทิชันที่มีขนาดสูงกว่า 2GB ได้ และสร้างขนาดของคลัสเตอร์เป็น 4 KB เท่า ๆ กัน




การแบ่งพาทิชันเพื่อติดตั้งระบบปฎิบัติการหลาย ๆ ตัวลงใน Harddisk เพียงตัวเดียว




โปรแกรม Partition Magic ที่ช่วยจัดการกับพาทิชัน ไม่ว่าจะเป็นการแบ่ง การสร้าง การรวม หรือการแปลงพาทิชัน




โปรแกรม Boot magic ที่มาพร้อมกับ patition magic 5 pro ช่วยให้คุณสามารถเลือกบูตระบบปฎิบัติการทำงานได้โดยสะดวก