สรุปและอภิปรายผลการทดลอง

อภิปรายผลการทดลอง 

            จากการทดลองเปรียบเทียบความสามารถในการผลิตก๊าซออกซิเจนของพืช C3 และ C4 ผลปรากฏว่าพืช   C4     สามารถผลิตก๊าซ ออกซิเจนได้ดีกว่าพืช   C3อาจเป็นเพราะพืช   C4 มี การสังเคราะห์แสงมากกว่าพืช C3 (กนกมณฑล  ศรศรีวิชัย , 2526) จึงทำให้  พืช C4 มีการผลิตก๊าซออกซิเจนมากกว่าพืช C3 แต่ปริมาณออกซิเจนที่พืช C4 ผลิตได้มากกว่าปริมาณออกซิเจนที่พืช C3 ผลิตได้เพียงเล็กน้อย (ดังกราฟที่ 1)อาจเป็นเพราะขณะทำการทดลองสภาพอากาศค่อนข้างเย็นจึงทำให้อุณหภูมิค่อนข้างต่ำประกอบกับพืช C4 จะมีอัตราการ สังเคราะห์ด้วยแสงสูงเป็นสองเท่าต้องอาศัยอุณหภูมิในช่วง 30-45 องศาเซลเซียสและพืช C3  จะมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงสุด ต้องอาศัยอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส (ดร. สัมพันธ์  คัมภิรานนท์ , 2525) จีงทำให้ผลต่างของปริมาณออกซิเจนที่พืช C4 ผลิตได้ต่างกัน ปริมาณออกซิเจนที่พืช C3 ผลิตได้เพียงเล็กน้อย

            จากการทดลองใช้สารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเข้มข้นต่างกันคือ 0% และ 5% กับใบพืชชนิดต่างๆ  ผลปรากฏว่า ใบพืชชนิดเดียวกันในสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต เข้มข้น 5% สามารถผลิตก๊าซออกซิเจนได้มากกว่าใบพืชชนิดเดียวกัน ในสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเข้มข้น 0% อาจจะเป็นเพราะเมื่อใส่โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตลงในน้ำจะทำ ให้โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตแตกตัวดังสมการ

 

                                                                                NaHCO3                    Na+ +  HCO3-     

                                                                             Na+ +  HCO3-                     H2O  +  CO2

      

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซที่เกิดขึ้นนี้เกือบทั้งหมดควรจะละลายอยู่ในน้ำ ไม่ปุดออกฆมาในกระบอกเก็บก๊าซ  ทำให้พืชสามารถนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซที่ได้มาใช้ในการสังเคราะห์แสงได้มากขึ้นจึงทำให้ได้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นด้วย

             จากผลการทดลองวัดปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ผลิตได้จากใบพืชต่างชนิดกันพบว่าแสยกซึ่งเป็นพืช C3 สามารถผลิตก๊าซออกซิเจน ได้มากกว่าพืช C4 ทุกชนิด  เข้าใจว่าจะมีสาเหตุมาจาก  ขณะทำการทดลองอากาศค่อนข้างเย็น พืช C3 จะมีการสังเคราะห์แสงได้ดี  ส่วนพืช C4 เองก็ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ดีเท่าที่ควร (ดร. สัมพันธ์   คัมภิรานนท์ , 2525) จึงทำให้แสยกซึ่งเป็นพืช C3 สามารถผลิต ก๊าซออกซิเจนได้มากกว่าพืช C4 ทุกชนิดในการทดลอง

                                                    กราฟแสดงปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ผลิตได้ทุกชุดการทดลอง                                  

                      

 

สรุปผลการทดลอง

จากการสังเกตผลการเปรียบเทียบความสามารถในการผลิตก๊าซออกซิเจนของพืช C3 แสยก อโศก ราชพฤกษ์ และ C4   ข้าวฟ่าง ผักโขมสวน มันสำปะหลัง บานไม่รู้โรย   พบว่าในเวลา 5ชั่วโมงในพืช C3 แสยกสามารถผลิตก๊าซออกซิเจนได้ดีที่สุดในสารละลาย โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเข้มข้น 0%และ5% ส่วนในพืช C4 บานไม่รู้โรยสามารถผลิตก๊าซออกซิเจนได้ดีที่สุดในสารละลาย โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเข้มข้น 0%และ5% และผลการเปรียบเทียบความสามารถในการผลิตก๊าซออกซิเจนของพืช C3 และ C4 พบว่าพืช C4 สามารถผลิตก๊าซออกซิเจนได้มากกว่าพืช C3 ยกเว้นแสยก

ประโยชน์

1. ได้ทราบถึงกระบวนการการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช C3 และ C4 ว่ามีขั้นตอนแตกต่างกัน

                2. ได้ทราบว่าพืช C4 สามารถผลิตก๊าซออกซิเจนได้ดีกว่าพืช C3

                3. ได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ฝึกความอดทน และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

 

ปัญหาและอุปสรรค

                1. ความเข้มของแสงแดดในแต่ละวันไม่เท่ากัน

                2. อุณหภูมิขณะทำการทดลองต่ำกว่าปกติ      

 

ข้อเสนอแนะ

                1. ควรมีการศึกษาความสามารถในการผลิตก๊าซออกซิเจนของพืชชนิดอื่นๆที่คนนิยมปลูกและมีค่าทางเศรษฐกิจต่อไป 

                2. ควรมีการศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตต่อ        ความสามารถในการผลิตก๊าซออกซิเจนของใบพืชชนิดต่างๆ