พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย               
                       ปลากัดลูกหม้อ
                               หรือปลากัดหม้อนั้นเป็นปลากัดที่ถูกนำมาคัดสายพันธุ์โดยนักพันธุศาสตร์สมัครเล่นชาวไทยที่มุ่งหวังจะได้ปลากัดเก่งจากคำบันทึก
บอกเล่าของนักเลงปลาเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ ครอบสุวรรณคาดว่าปลาลูกหม้อน่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปีพ.ศ.๒๔๓๐ซึ่งท่านจำ
ได้ว่า"ก่อนหน้านั้นยังต้องจับปลาป่ามากัดพนันกันอยู่ต่อมานักเลงปลาบางคนเริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่เลี้ยงไม่ได้การที่ขุด
ปลานี้ยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณปีพ.ศ.๒๔๙๖หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลากัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปีและหาปลาป่าตัวเมียมาผสมลูกปลาที่ได้จากการผสม
ในชุดแรกจะเรียกว่า"ปลาสังกะสี"ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่งไม่ถูกกัดขาดง่ายเหมือนปลาป่าและปลาขุดปลาสังกะสีจะมีตัว
ใหญ่สีสันลักษณะต่างจากปลาป่าและปลาขุดนักเลงปลาป่าจึงมักไม่ยอมพนันด้วยจึงต้องกัดแข่งขันระหว่างปลาสังกะสีด้วยกันเองปลาสังกะสีที่กัดเก่ง
อดทนสวยงามก็จะถูกคัด
ไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เมื่อผสมออกมาก็จะได้ปลาลักษณะรูปพรรณสีสันที่สวยงามแปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพร้อมความ
เก่งและอดทนในการกัดจะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทยนับว่าได้เริ่มมาตั้งแต่ยุคนี้
                              คำว่า "ลูกหม้อ" นั้นมาจากการใช้หม้อดินในการเพาะและอนุบาลปลากัด ในระยะแรกๆปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ที่สร้างมา
แท้ๆกับมือของนักเลงปลาทั้งหลายเพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้และให้มีสีสันสวยงามดูแล้วน่าเกรงขามกว่าพันธุ์อื่นๆ สีส่วนมากจะเป็นสีน้ำเงิน
แดง เทาเขียว ครามหรือ แดงปนน้ำเงิน ในการเล่นปลากัดในยุคก่อนนั้นปลาลูกหม้อจะมี ๒ ประเภทคือ "ลูกแท้" หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่
ที่มาจากครอบครัวเดียวกันและ "ลูกสับ" หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากคนละครอก ปลากัดลูกหม้อนี้ถ้าเอาไปผสมกลับกับปลาป่าลูกปลา
ก็จะเรียกว่า"สังกะสี"เช่นเดียวกัน                       
                       ปลากัดป่า
                           หรือปลากัดลูกทุ่ง ที่พบในธรรมชาติ ตามท้องนา หนองบึง ส่วนใหญ่จะเป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่เด่นมากนัก ในสภาพปกติสีอาจเป็น
สีน้ำตาลเทาหม่นหรือสีเขียวและอาจมีแถบดำจางๆ พาดตามความยาวลำตัว อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ระหว่างพรรณไม้น้ำที่ในที่ตื้นความพิเศษของปลากัด
อยู่ที่ความเป็นนักสู้โดยธรรมชาติเมื่อพบปลาตัวอื่นจะเข้าต่อสู้ทันทีและที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือ การที่ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีให้งดงามเมื่อถูกกระตุ้น
ในสภาวะที่ตื่นตัวครีบทุกครีบจะแผ่กางออกเต็มที่แผ่นเยื่อหุ้มเหงือกขยายพองออกพร้อมกับสีน้ำเงินหรือแดงที่ปรากฎขึ้นมาชัดเจนในโทนต่างๆ
ทำให้ดูสง่าอาจหาญและสวยงามปลากัดป่าแท้นั้นส่วนมากครีบ หางและ กระโดงที่ภาษานักเลงปลาเรียกรวมๆว่า"เครื่อง" จะมีสีแดงเกือบตลอดม
ีประดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีเส้นเขียวๆแซมบ้าง ที่เรียกว่าเขียวก็มีเพียงแต้มเขียวอ่อนๆ ที่กระโดงเท่านั้น เวลาถอดสีปกติทั้งตัวและเครื่องสีน้ำตาล
จืดๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ที่ห้อยแช่น้ำอยู่ ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของปลากัดก็คือ เป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่อยู่บริเวณเหงือกทำให้ปลา
สามารถใช้ออกซิเจน จากการฮุบอากาศได้โดยตรง ปลากัดจึงสามารถทนทานดำรงชีวิตอยู่ได้ในที่มีออกซิเจนต่ำ
                           ที่เขียนไว้เมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๖ ได้พูดถึง "การขุดปลากัดในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง ริมคูและ รางน้ำ ซึ่งปลากัดเข้าไปอาศัย
อยู่กับปูในรูตั้งแต่ต้นหนาวเมื่อน้ำเริ่มลดไปจนตลอดหน้าแล้งปูก็จะขุดรูลึกตามระดับน้ำที่ลดลงไปเรื่อยๆ ปลากัดจะออกมาแพร่พันธุ์ใหม่ในต้นฝน
ในเดือนพฤษภาคม กระจายออกไปหากินตามที่มีหญ้ารกๆ ในเขตน้ำตื้นปลากัดเป็นปลาที่ชอบน้ำตื้นจึงไม่พบตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ที่มีน้ำลึก
อันที่จริงในธรรมชาติการต่อสู้ของปลากัดไม่จริงจังเท่าไรนักส่วนมากมักแผ่พองครีบหางขู่กันเพื่อแย่งชิง บางตัวเห็นท่าไม่ดีก็อาจเลี่ยงไปโดยไม่ต่อ
สู้กันเลยก็มี แต่บางคู่ก็ต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง ปลาตัวผู้ตัวไหนที่ยึดชัยภูมิเหมาะได้ที่ก็จะก่อหวอดไว้แล้วพองตัวเบ่งสีเกี้ยวจัวเมียที่ผ่านไปมา
เพื่อผสมพันธุ์วางไข่"             

                   ความเป็นมาของปลากัด
                         นับแต่การสร้างชาติไทยตั้งแต่ยุคมัยสุโขทัย การชนไก่ กัดปลาเป็นเกมการพนันที่ได้รับการจารึกว่าเป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมา
แต่โบราณอันที่จริงแล้วเกมกีฬาการกัดปลาของชาวไทยนั้นนอกจากปลากัดแล้วยังมีปลากัดอีกสองชนิดที่นำมากัดกันคือ "ปลาหัวตะกั่ว" และ
"ปลาเข็ม"
แต่ก็ไม่แพร่หลายติดใจคนทั่วไปเหมือนปลากัด ทั้งเนื่องมาจากสัตว์น้ำชนิดนี้นอกจากจะมีน้ำอดน้ำทน ในการต่อสู้เป็นระยะเวลานานๆ
แล้วลีลาการต่อสู้ก็เต็มไปด้วยชั้นเชิงและศิลปะและเหนือสิ่งอื่นใดนักรบจิ๋วเหล่านี้จะสง่างามยิ่งในระยะเวลาเข้าต่อสู้ความสวยงามตามธรรมชาติ
ของปลากัดจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนนิยมปลาชนิดนี้จึงเป็นทั้งสัตว์เลี้ยงสวยงามและนักกีฬาตัวโปรดของคนไทย
                        ปลากัด ชื่อวิทยาศาสตร์ Betta Splenders และชื่อสามัญว่า Siamese Fighting Fish เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะ
เลี้ยงเป็นเวลานานมาแล้วทั้งนี้เพื่อไว้ดูเล่นและเพื่อกีฬากัดปลากันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่ายจึงเหมาะสม
สำหรับผู้ที่หัดเริ่มเลี้ยงปลาต้องการการเอาใจใส่ไม่มากนักและไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยมากเนื่องจากมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่เรียกว่า
Labyrinth โดยทำให้สามารถดึงเอาออกซิเจนจากอากาศได้ ในธรรมชาติแล้วพบทั่วไปในน้ำที่นิ่งหรือน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ นอกจากนั้นพบใน
นาข้าวและกระจายทั่วไปในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลากัดเลี้ยงมีอายุเฉลี่ย๒ ปีหรือน้อยกว่าปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติมีสีน้ำตาล
ขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว มีลายตามตัว ครีบและหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวลักษณะครีบแผ่กว้างใหญ่สวยงามกว่าพันธุ์ดั้งเดิมมากและ
จากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้หลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกทุ่ง ปลากัดเขมร ปลากัดจีน เป็นต้น
                            ปลากัดจีน
                            ตามปกติเวลาพูดถึง ปลากัดหม้อก็จะมีคำว่าปลากัดจีนคู่กันอยู่เสมอจนหลายคนเข้าใจผิดว่าปลาจีนเป็นปลาอีกสายพันธุ์หนึ่ง
ซึ่งมาจากประเทศจีน ซึ่งโดยแท้จริงแล้วปลาทั้งสองชนิดนี้เป็นปลากัดไทยที่มีพื้นเพมาจากปลากัดป่าของเราทั้งคู่ เพียงแต่มีการผสมคัดพันธุ์เพื่อ
ให้ได้ ปลากัดลูกหม้อที่กัดเก่งมีลักษณะที่ดีและสวยงามก็เผอิญได้ปลาชนิดใหม่ที่ครีบและหางยาวออกมามากกว่าปกติ หลังจากนั้นก็มีการปรับ
ปรุงพันธุ์ให้ได้ครีบและหางที่แผ่กว้างขึ้นมีลักษณะสวยงามขึ้นมีสีสันใหม่ๆ ที่สวยงาม โดยวัตถุประสงค์หลักที่เลี้ยงจะเป็นปลาสวยงาม
โดยเฉพาะลักษณะครีบที่ยาว รุ่มร่ามและสีสันฉูดฉาดเหมือนต้นงิ้ว จึงเรียกกันว่า "ปลากัดจีน" เลยทำให้คนเข้าใจผิดไปมากมาย                                                                                                                                               
                   สีสันความงามของปลากัดสามารถแบ่งออกเป็นแบบต่างๆได้ดังนี้
                  ๑.สีเดี่ยว(Solid Colored Betta)

                   
เป็นสีเดียวทั้งครีบและลำตัว ปลากัดสีเดี่ยวเป็นปลากัดที่มีสีเดียวทั้งลำตัวและครีบและเป็นโทนเดียวกันหมด แบ่งได้
๒ กลุ่มใหญ่คือปลากัดสีเดี่ยวสีเข้มและ ปลากัดสีเดี่ยวสีอ่อน
                   ๒.สีผสม(Bi-Colored Betta)  
                         ส่วนใหญ่จะมีสีผสมกันแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเทภใหญ่ๆ คือ -ปลากัดสองสีชนิดลำตัวสีเข้มครีบจะมีสีตัดกันกับลำตัวชัดเจน
-ปลากัดสองสีชนิดลำตัวสีอ่อนครีบจะมีสีตัดกันกับสีลำตัวชัดเจน
                   ๓.สีผสมเขมร(CombodiaColoredBetta)
ปลากัดสีผสมเขมรลำตัวจะมีสีจางอ่อนๆ โดยที่สีครีบและลำตัว
จะมีความใกล้เคียงกัน
                   ๔.ลายผีเสื้อ(ButterflyColoredBetta) ปลากัดลายผีเสื้อเป็นปลาที่มีสีเป็นลวดลายรูปแบบเฉพาะที่บริเวณครีบ
โดยครีบจะมีสีเป็นแถบๆขนานกับเส้นวงรอบลำตัว การพิจารณาลักษณะที่ดีของปลากัดลายผีเสื้อจะพิจารณาที่การตัดกันของแถบสีและความคมของ
ขอบสีเป็นหลักไม่ใช่ดูที่สีของลำตัวและครีบเหมือนทั่วๆไป
                         ๕.ลายผีเสื้อเขมร(CombodiaButterflyColoredBetta)
                         ครีบจะประกอบด้วยแถบสีที่ตัดกันชัดเจน ๒ แถบ ลักษณะที่ดีแถบสีทั้งสองควรจะมีความกว้างเท่ากัน เป็นคนละครึ่งของ
ความกว้างของครีบ
                   ๖.ลายหินอ่อน(MarbleColoredBetta)
                         ปลากัดลายหินอ่อนเป็นปลากัดในชุดของปลากัดที่มีสีเป็นลวดลายรูปแบบลวดลายเฉพาะเช่นเดียวกันโดยครีบจะไม่มีแถบสี
และบนลำตัวจะมีสีอื่นแต้มเป็นลวดลายหินอ่อน ปลากัดลายหินอ่อนแบ่งเป็น ๒ ชนิดหลัก คือ
-                       ลายหินอ่อนธรรมดา ปลากัดชนิดนี้จะไม่มีสีแดง เขียว น้ำเงินและเทา ปลาจะมีสีดำเข้มหัวหรือหน้าขาว ลวดลายจะประกอบ
ด้วยสีดำ สีเนื้อและสีขาวเท่านั้น
                       ลายหินอ่อนสี สีบริเวณหน้าและคางยังคงลักษณะเป็นสีขาว หรือสีเนื้อแต่ลำตัวและครีบอาจปรากฎสีผสมของสีแดง
เขียวน้ำเงินและเทา ลำตัวของปลากัดลายหินอ่อนสีอาจจะประกอบด้วยสีเหล่านี้ในลวดลายแต่จะต้องมีสีเนื้ออยู่ 
                  การเทียบปลา
                    การเทียบปลาหรือเรียกว่า "เทียบคู่" เมื่อทำการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลากัดมาแล้วให้นำมาใส่ขวดไว้ขวดละตัวนำเอาขวด
มาตั้งคู่กันโดยไม่ต้องใช้อะไรกั้น เพื่อให้ปลามองเห็นกันตลอดเวลาและเป็นการเร่งให้ไข่พัฒนาเร็วขึ้น บริเวณที่เทียบคู่ควรปราศจากสิ่ง
รบกวนที่จะทำให้ปลาตื่นตกใจใช้เวลาในการเทียบคู่ประมาณ ๓-๑๐ วัน ขึ้นอยู่กับปลาตัวเมียว่ามีความสมบูรณ์ท้องอูมเป่งมากเพียงใด
ตามธรรมดาปลากัดตัวเมียถึงแม้ไม่ได้เห็นหน้าปลาตัวผู้ก็จะท้องใหญ่ขึ้นเองและถึงแม้จะไม่มีตัวผู้ผสมก็จะสามารถออกไข่ได้เพียงแต่
ไข่จะไม่เป็นตัว ในระหว่างที่ทำการเทียบคู่ให้เตรียมอ่างเพาะหรือที่เรียกว่า "อ่างรัด" จะเป็นอ่างดินเผาขนาดย่อมหรือจะใช้ภาชนะอื่น
ที่สะดวกและเหมาะสมเช่น โหลแก้ว ตู้กระจก หรืออ่างซีเมนต์ที่มีขนาดย่อม ไม่กว้างมากนัก มีปากแคบเพื่อป้องกันปลากัดกระโดด ถ้าหากภาชนะเพาะปากกว้างหรือสูงไม่พอต้องปิดฝาด้านบนป้องกันปลากระโดดและป้องกันศัตรูปลาด้วย เติมน้ำที่มีคุณสมบัติเช่นเดียว
กับน้ำที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่ปลาให้ระดับน้ำสูงเพียง ๒-๔ นิ้ว หาต้นไม้น้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักเป็ด หรือสาหร่าย ใส่ไว้เพื่อให้เป็นที่ยึดเกาะของหวอด
จะใช้ดินเหนียวที่ไม่ปนดินเลนหรือทรายใส่ไว้ก้นอ่าง กดให้แน่นหนาประมาณ ๑ นิ้วเอาต้นไม้น้ำปักลงในดินต้นไม้จะไม่ตายหรือเน่าน้ำ
ที่ใส่ดินเหนียวนั้นเลี้ยงลูกปลาได้ดีมากหลังจากที่ตัวผู้สร้างหวอดเสร็จปลาเพศเมียจะพองตัวกางครีบไล่ต้อนตัวเมียให้ไปใต้หวอดขณะที่
ตัวเมียลอยตัวขึ้นมาบริเวณผิวน้ำปลาตัวผู้จะรัดตัวเมียตรงบริเวณอวัยวะเพศจากนั้นไข่ก็จะหลุดออกมาพร้อมกับตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม
และปลาเพศผู้จะตามมลงไปใช้ปากดูดไข่อมไว้ว่ายน้ำขึ้นไปพ่นไข่เข้าไปในหวอดจนกว่าจะหมด เมื่อสิ้นสุดการวางไข่ปลาเพศผู้จะทำ
หน้าที่ดูแลไข่เพียงลำพังและจะไล่ต้อนปลาเพศเมียไปอยู่ที่มุมภาชนะ หลังจากนั้นรีบนำปลาเพศเมียออกจากภาชนะเพื่อป้องกันไม่ให้
ปลาเพศเมียกินไข่ปล่อยให้ปลาเพศผู้ดูแลไข่ ๒ วัน จึงแยกปลาเพศผู้ออกต้องระวังการกระแทกที่จะทำให้ไข่ได้รับความเสียหาย

                      การอนุบาลปลากัด
                             ไข่ปลากัดจะฟักเป็นตัวหลังจากได้รับการผสมน้ำเชื้อประมาณ ๓๖ ชั่วโมงโดยในช่วงแรกจะมีถุงอาหาร
(Yolk Sac) ติดตัวมาด้วยดังนั้นช่วงเวลา ๓-๔ วันแรกจึงยังไม่ต้องให้อาหารหลังจากถุงอาหารยุบหมอควรให้ไข่แดงต้มสุกกรองผ่าน
กระชอนตาถี่ให้อาหารวันละ๑ ครั้งเป็นเวลา ๓-๕ วันแล้วจึงเปลี่ยนเป็นตัวอ่อนของไรแดง (Moina) ต่อมาจึงเป็นไรแดงตัวเต็มวัยเลี้ยง
ต่อไปจนกระทั่งปลาสามารถกินลูกน้ำได้ประมาณ ๕ สัปดาห์ลูกปลาบางตัวจะเห็นสี ช่วงนี้อาจจะเร่งการเจริญเติบโตโดยการเพิ่มการ
ให้อาหารทีละน้อยอาจจะให้ได้๓-๔ ครั้งต่อวัน ช่วงนี้ลูกปลาสามารถกินอาหารได้หลายชนิด เช่น หนองแดง อาหารแผ่นบาง เคยบด
ตับไก่สดแช่แข็งหั่นเป็นชิ้นเสียบไม้ใสไว้ในบ่อ ปลาจะมาตอดกินได้อีกทั้งยังเป็นการช่วยเร่งสีเนื่องจากมีธาตุเหล็กให้แก่ปลาอีกด้วย
และผู้เลี้ยงสามารถแยกเพศปลากัดได้เมื่อปลามีอายุ ๑ ๑/๒ เดือนขึ้นไปปลาเพศเมียที่ไม่สมบูรณ์จะถูกคัดออกมาขายเพื่อเป็นปลาเหยื่อต่อไป

                    การหมักปลา
                          คือ วิธีการรักษาปลาและบำรุงปลาด้วยวิธีการทางธรรมชาติโดยใช้สมุนไพร จุดมุ่งหมายของการหมักปลานั้นแบ่ง
ออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
                           ๑.การหมักปลาเพื่อให้ได้ปลากัดเก่ง สู้เก่ง สำหรับปลากัดหม้อนั้นจะใช้ใบจากแห้งผสมกับใบตะไคร้ บางคนจะ
ใช้สมุนไพรที่เป็นไม้น้ำชนิดหนึ่งนำมาหมักรักษาปลา
                          ๒.หมักเพื่อรักษาแผลจากการต่อสู้
                          ๓.หมักเพื่อรักษาปลาที่ไม่สบายหรือมีอาการตกใจโดยเฉพาะปลากัดจีนในฤดูหนาวปลากัดจีนจะมีอาการห่อตัว
เกิดอาการตกใจชักกระตุกเมื่อกระทบอากาศหนาวในขณะเดียวกันการหมักใช้กับปลาที่เบื่ออาหารมีอาการไม่สดชื่นไม่กระปี้
กระเป่าเท่าที่ควรผู้เลี้ยงก็ใช้วิธีการหมักได้เช่นกัน
                     วิธีการหมักปลา
                            ใช้ใบตองแห้งหรือใบหูกวางแห้งที่แก่หลุดออกจากต้น ๑ ใบ
                            ใช้ใบตะไคร้ ๔-๕ ใบ
                            นำดินเหนียวมาปั้นพอประมาณ ปั้นเสร็จแล้วนำไปตากแห้งเพื่อฆ่าเชื้อโรค
                            นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมคลุกเคล้ากัน นำปลาที่ต้องการหมักปล่อยในอ่าง
                            ให้ทำการหมักปลาอย่างน้อย ๗ วัน ระหว่างหมักห้ามให้อาหารและควรปิดฝาให้มิดชิด แต่ให้มีอากาศถ่ายเทได้
พบครบ ๗ วันจึงนำปลาออกมาจากอ่างหมักปลาการนำปลาที่ผ่านการหมักแล้วออกจากอ่างหมักวิธีการทำดังนี้ให้เท่น้ำออกจาก
อ่างหมักปลาทีละน้อยจนถึงเกือบครึ่งแล้วใส่น้ำใหม่เข้าไปแทนที่น้ำเก่าเท่าปริมาณน้ำที่เทออกพักสักครู่ให้ทำอย่างนี้ ๒-๓ ครั้ง
จนกระทั้งได้น้ำใหม่ตามปกติการทำเช่นนี้เพื่อให้ปลาได้มีการปรับสภาพให้เข้ากับน้ำตามปกติเพราะหากเปลี่ยนเลยทันทีจะทำให้
ปลาช็อกน้ำเป็นอันตรายต่อปลาอย่างมาก

                      โรคที่มักพบในปลากัดทั่วไปได้แก่
๑.โรคจุดขาว จะเห็นเป็นจุดขาวๆบริเวณลำตัวปลาและติดต่อกันได้ด้วย
การรักษา
- ใช้เมททีนลีน บลู หยดลงในน้ำจำนวน ๕ หยดต่อน้ำ ๔.๕ ลิตร ทำซ้ำกันเป็นเวลา ๑-๒ วัน
- ใช้ยาแอนตี้ไบโอติค ๕๐ มิลลิกรัมต่อน้ำ ๔.๕ ลิตร
- ใช้มาลาไคร์กรีน โดยใช้สารละลาย ๑-๒ ซีซีต่อน้ำ ๑ ลิตร นำปลามาแช่ ๓ วันจึงเปลี่ยนน้ำ
๒.โรคสนิม โรคนี้ละมีละอองสีเหลืองคล้ายกำมะหยี่เกาะตามผิวหนัง ลำตัวและ
เหงือกของปลาจนทั่วตัวต่างกับโรคจุดขาวคือ มีสีเหลืองเล็กและเข้มกว่า
การรักษา
- ใช้เกลือแกงเข้มข้น ๑% แช่ปลาไว้นาน ๒๔ ชั่วโมง ควรทำซ้ำทุก ๒ วัน
- ใช้เมททีนลีน บลู อัตรา ๑๐ หยดต่อน้ำ ๔.๕ ลิตร ประมาณ ๒ สัปดาห์
- ใช้ยาเหลือง (Acriflavine) ๔ มิลลิกรัมต่อน้ำ ๔.๕ ลิตร และทำซ้ำจากครั้งแรก ๑ สัปดาห์
- ยาแอนตี้ไบโอติค ใช้เหมือนกับโรคจุดขาว
๓.โรคเชื้อรา โรคนี้เกิดต่อเมื่อปลาได้รับบาดเจ็บหรืออ่อนแอ ปลาจะมีลักษณะผิวเป็น
ปุยสีขาวคล้ายสำลีตามลำตัว หรืออาจมีเส้นราเกิดขึ้นถ้าไม่ได้รับการรักษาทันที ราจะกระจายและทำอันตรายเนื้อเยื่อของปลาและอาจถึงตายได้
การรักษา
- ใช้มาลาไคร์กรีนเข้มข้น ๖๐ ppm หรือ ๑ : ๑๕,๐๐๐ และนำไปแช่ ๓๐ นาที ถ้าไม่หายให้ทำซ้ำ
- ใช้เกลือแกงค่อยๆใส่ลงในน้ำปลาจะทนความเข้มข้นได้ ๐.๕% โดยเติมสารละลายเกลือ ๑
ช้อนชาต่อน้ำ ๔.๕ ลิตร ทุกๆ ๒-๓ ชั่วโมง จนครบ ๕ ช้อนพอดี จึงหยุดเพื่อความเข้มข้นของเกลือแกงในน้ำ
นี้ใช้เวลา ๑-๒ วัน

๔.โรคราที่ปาก โรคนี้เกิดจากแบคทีเรียบริเวณปากและกระจายไปอย่างรวดเร็ว
ลักษณะเป็นเส้นสีขาวและดำรอบริมฝีปาก ทำให้ปลาไม่ยอมกินอาหารเนื่องจากปลาเจ็บปากและเป็นไข้
การรักษา
- ใช้ยาเพนนิซิลิน ๑๐๐,๐๐๐ หน่วยต่อน้ำ ๔.๕ ลิตร
- ใช้ยาแอนตี้ไบโอติคที่ใช้กับโรคจุดขาว
- ใช้ยาแพนนิซิลิน ยานี้จะไม่เป็นอันตรายต่อปลาและสะดวกต่อการใช้กรณีที่ยังไมม่หายสามารถเพิ่มปริมาณเป็น ๒๐๐๐,๐๐๐ หน่วยต่อน้ำ ๔.๕ ลิตรปลาจะหายภายในไม่กี่วัน
๕.โรคครีบเปื่อยหางเปื่อย โรคนี้จะแสดงอาการได้ชัดคือเห็นว่าครีบและหางขาดและ
อาจลามถึงโคนทำลายเนื้อเยื่อบริเวณโคนหาง
การรักษา
- โดยให้ปลาได้รับ Acration ร่วมกับการใช้ยาเพนนิซิลิน ๑๕๐,๐๐๐ หน่วยต่อน้ำ ๑ แกลลอน
๖.โรคตาโปน เกิดจากแบคทีเรียหรือหลังจากการได้รับบาดเจ็บเป็นแผลถลอกบริเวณ
ใกล้ๆนัยน์ตา ตาจะปูดบวมขึ้นมาและโปนกว่าปกติมาก
การรักษา
- โดยการจับปลากัดไปแช่ไว้ในน้ำที่มีใบหูกวาง ๒-๓ วัน อาการตาปูดก็จะหายไปเอง อนึ่งยางของใบหูกวางที่ละลายอยู่ในน้ำจะช่วยรักษาแผลต่างๆได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
๗.โรคเชื้อแบคทีเรีย โรคนี้มีอาการปรากฏคือ มีอาการท้องบวมและมีของเหลวใน
ช่องท้องมากแต่ไม่มีอาการเกล็ดตั้งขึ้น
การรักษา
- แช่ไว้ในยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิเทตราไซคลินหรือคลอแรมฟินิคัลที่มมีความเข้มข้น ๑๐-๒๐ ส่วน ในล้านส่วนและต้องเปลี่ยนน้ำยาแช่ใหมม่ทุกวันและเติมยาให้มีความเข้มข้นเท่าเดิมทุกวัน โดยแช่ติดต่อกัน ๓-๕ วัน
๘.โรคกระเพาะปลา โรคนี้จะทำให้ปลาเสียการทรงตัว ปลาที่มีการทรงตัวไม่ดีอาจจะ
ท้องหงายขึ้นลอยตามผิวน้ำหรือจมอยู่ที่พื้นราบ
การรักษา
- ยังไม่มียารักษาโรคนี้ได้
๙.โรคลำตัวซีด โรคนี้เกิดจากสัตว์เซลล์เดียวมาเกาะ ทำให้ปลามีการขับเมือกออก
จากตัวมากผิดปกติ ปลาจะมีสีซีดจาง
การรักษา
- ทำตามขั้นตอนการรักษาโรคจุดขาว๑๐.โรคปรสิต (พยาธิใบไม้และหนอนสมอ) มักจะพบตามตัว เหงือก ครีบ มี
ลักษณะคล้ายๆเส้นด้ายสั้นๆส่วนหนอนสมอจะเห็นเป็นเส้ยด้ายสั้นเกาะอยู่ตามผิวตัว ทำให้ปลาแคระ
แกรนอาจตายในที่สุด
การรักษา
- ใช้ด่างทับทิมละลายในน้ำให้มีความเข้มข้น ๒ ppm ต่อน้ำ ๑ ลิตร
- ใช้กรดน้ำส้มเข้มข้น ๑ : ๕๐๐ แช่ปลานาน ๒๐ วินาที และจะทำซ้ำหลังจากนั้น ๓ วัน
- ใช้ฟอร์มาลิน ๒๐ หยดต่อน้ำ ๔.๕ ลิตร แช่ปลานาน ๕-๑๐ นาที
๑๑.โรคปลาตัวสั่น โรคนี้สาเหตุไม่แน่นอนเนื่องจากน้ำที่เลี้ยงสกปรกเกินไปหรือเกิด
จากในน้ำมีสารพิษเช่น คอรีนมากเกินไป ดังนั้นปลาจึงมีอาการตัวสั่น
การรักษา
- ต้องรีบเปลี่ยนน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเจริญเติบโตให้ใหม่ทันที   
                                                                                                                       
                                                                     กลับไปยังหน้าแรก/ภาพสวยงามของปลากัดแต่ละสายพันธุ์