antelope = ละอง - ละมั่ง

รูปภาพประกอบ AltaVista

ล ะ อ ง - ล ะ มั่ ง : a n t e l o p e



ละองหรือละมั่งเป็นกวางชนิดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกกันไปตามท้องถิ่น บางแห่งนิยมเรียกตัวผู้ใหญ่ๆ ที่มีขนคอยาวและเขาใหญ่ว่า "ละอง" เรียกตัวเมียและตัวผู้เล็กๆ ว่า "ละมั่ง" ละมั่งที่พบในประเทศไทยมี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ไทย และสายพันธุ์พม่า

ลั ก ษ ณ ะ เ ด่ น

เขาของละมั่งนั้นมีลักษณะไม่เหมือนกับเขากวางชนิดอื่นๆคือ ตัวลำเขาจะติดกับฐานเขาเป็นมุมฉากแล้วโค้งเป็นวงมาข้างหน้า โดยปลายกิ่งจะโค้งงอขึ้นและกางออกเล็กน้อย เขาที่อยู่ข้างหน้านี้เรียกว่า "กิ่งรับหมา" ส่วนลำเขาด้านหลังจะแยกจากกิ่งรับหมาแล้วทอคู่กันขึ้นไปข้างบนอย่างนิ้วมือ ขนของละมั่งมีสีน้ำตาลปนแดงและสั้นไม่เท่ากันในแต่ละฤดูกาล มีขนสีขาวที่ขอบหู ขอบตาและคาง ส่วนตัวเมียนั้นอาจมีจุดสีขาวตามตัว

antelope = ละอง - ละมั่ง

ที่ อ ยู่ อ า ศั ย - พ ฤ ติ ก ร ร ม

ละมั่งชอบอาศัยอยู่ตามป่าทุ่งที่เป็นป่าโป่ง พื้นที่โล่งแจ้ง มีน้ำขังแฉะๆ ไม่ชอบอยู่ที่ป่าทึบและภูเขาสูง ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ปกติละมั่งตัวผู้ที่โตเต็มที่แล้ว ชอบออกหากินตามลำพัง จะเข้าฝูงในฤดูผสมพันธุ์ ละมั่งเวลาตกใจ มันจะเผ่นหนี วิ่งเร็วมาก มักร้องสุดเสียงโดยร้องออกเสียงเป็นช่วงสั้นๆ

antelope = ละอง - ละมั่ง

อ า ห า ร

ละมั่งชอบออกหากินในเวลาเช้าและเย็น อาหารส่วนใหญ่ได้แก่หญ้า โดยเฉพาะหญ้าอ่อน หรือหญ้าระบัดซึ่งเกิดหลังจากไฟไหม้ป่า นอกจากนั้นมีผลไม้ ใบไม้ และดอกไม้ป่าบางชนิด

ฤ ดู ผ ส ม พั น ธุ์

ละมั่งผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ระยะตั้งท้องประมาณ 7-8 เดือน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว มีอายุยืนถึง 20 ปี วัยเจริญพันธุ์เพศผู้อายุได้ 2 ปี

ส ถ า น ก า ร ณ์ ปั จ จุ บั น

ในประเทศไทยเคยมีละมั่งชุกชุมตามป่าเต็งรัง ที่เป็นป่าโปร่งทั่วไปของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ที่ไม่มี ต่อมาการล่าสัตว์โดยใช้สปอตไลท์ส่องยิงในเวลากลางคืน ทำกันไม่กี่ปีละมั่งก็ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จนแทบไม่เหลืออยู่ในประเทศไทยเลย


ที่มา : นิตยสาร สวนเด็ก ปีที่ 1 ฉบับที่ 13 เดือน มีนาคม ปี 2533 : หน้า 26 - 27 เรื่อง : บ้านเด็ก และ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ แห่งประเทศไทย



ห น้ า แ ร ก | ค ลิ นิ ก เ ด็ ก ดี | ล ะ อ ง - ล ะ มั่ ง | ^ น่ า รู้ ^ | ~ เ พ ลิ น นิ ท า น ~ ~