ความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดในการจดนับตัวเลขแบบง่ายๆในอดีต
แล้วได้รับการพัฒนาขึ้นถึงวิธีการคำนวณ อันได้แก่ การบวก การลบ และการหาร
เครื่องมือที่ใช้ในการจดนับ และคำนวณได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
ทำให้สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ตัวอย่างของเครื่องคำนวณแบบง่ายๆ
และได้รับความนิยมแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันได้แก่ ลูกคิด เครื่องมือถัดมาที่ได้รับการดัดแปลง
เพื่อเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการคูณ คือ เครื่องมือที่ชื่อว่า
Napier Bones ประดิษฐ์ขึ้นโดย John Napier นักคณิตศาสตร์ชาวสก๊อตแลนด์
ในปี ค.ศ. 1617 ก่อนหน้านี้คือในปี ค.ศ.1614 Napier ได้สร้างตาราง logarithms
ฐาน e ไว้อันเป็นแนวความคิดให้กับ William Oughtred นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ
ในการค้นคิดเครื่องมือ อันเป็นต้นกำเนิดของ Slide Rule ในปัจจุบัน ได้ในปี
ค.ศ.1622 ต่อมา Blaise Pascal นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขเครื่องแรกได้สำเร็จในปี
ค.ศ.1642 โดยใช้ระบบฟันเฟืองเข้าช่วย คือเมื่อมีการบวกเลขในหลักหน่วยเกินกว่า
9 ก็จะมีเฟืองหมุนทำให้เกิดการทดกันในฟันเฟืองของเลขหลักสิบ หลักการนี้ก็เช่นเดียวกับที่ใช้ในการวัดระยะทางตามที่ปรากฏบนหน้าปัทม์รถยนต์ทั่วๆไป
ในปี ค.ศ. 1666 Sir Samuel แห่งอังกฤษได้คิดค้นเครื่องคิดเลขซึ่งสามารถคูณได้(
ใช้หลักการบวกสะสมหลายๆครั้ง ) และมีขนาดกระทัดรัดขึ้นได้สำเร็จ และในปี
ค.ศ.1694 Gottfried Wilhelm and Baron leibniz นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
ก็ประสบความสำเร็จกับงานประดิษฐ์ " Stepped reckon " ซึ่งเริ่มคิดตั้งแต่ปี
ค.ศ. 1671 เครื่องจักรนี้สามารถทำการคำนวณพื้นฐานทั้ง 4 อย่างได้ คือการ
บวก ลบ การคูณ และการหาร รวมทั้งการถอด Square root ด้วยการคำนวณเหล่านี้ทำได้โดยการอาศัยเทคนิคการบวกหลายๆครั้ง
และการบวกในทางตรงข้าม (การลบ) นั่นเอง
สำหรับวิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์นับตั้งแต่
ค.ศ. 1800 มาจนถึงปัจจุบันมีรายละเอียด ดังนี้
ค.ศ. 1822 Charles Babbage ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นเครื่องมือชื่อ "Analytical
Engine" ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณตารางทางคณิตศาสตร์ การควบคุมการทำงานของเครื่องอาศัยการเจาะรูบนบัตร
นับได้ว่า Babbage เป็นเสมือนผู้ต้นคิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับวงการสมัยใหม่เป็นอย่างมากทีเดียว
ค.ศ. 1843 Ada Augusta เป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมคนหนึ่ง เป็นผู้ที่เข้าใจเครื่องวิเคราะห์ของ
Babbage ได้เป็นอย่างดี จึงได้เขียนวิธีใช้เครื่องแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ขั้นสูงไว้ในหนังสือ
Taylor's Scientific Memoirs ซึ่งอาจนับได้ว่า เธอเป็นนักโปรแกรม (Programmer)
คนแรกก็ได้
ค.ศ. 1890 Dr.Herman Hollerith นักสถิติที่มีชื่อเสียงได้คิดค้นเครื่องมือ
เพื่อช่วยในการทำงานด้านสถิติเครื่องแรกขึ้นโดยอาศัยหลักของการเจาะรูบนบัตร
เครื่องมือในการเจาะบัตรได้รับการพัฒนาจนใช้ประโยชน์ได้ในการทำสำมะโน ในปี
ค.ศ.1890 และได้รับการยกย่องว่าเป็นการนำเอาบัตรเจาะรู มาใช้ได้สำเร็จเป็น
ครั้งแรกในโลกของธุรกิจ
ค.ศ.1944 Haward H. Aiken แห่งมหาวิทยาลัย Harvard ได้ประดิษฐ์เครื่อง
Mark I หรือ ASCC (Automatic Sequence Controlled Calculator) ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณ
เครื่องแรกที่สามารถทำการคำนวณและเปรียบเทียบตามขั้นตอนต่างๆที่บันทึกไว้บนเทปได้อย่างอัตโนมัติ
เครื่องนี้จัดเป็นเครื่องคำนวณแบบกลไฟฟ้า ( Electromechanical device )สร้างขึ้นได้โดยได้รับการช่วยเหลือทางด้านการเงินโดยบริษัท
IBM ( International Business Machines Corporation )
ค.ศ. 1946 Dr.John Mauchly และ J.P. Eckert แห่ง University of Pennsylvania
ได้ ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์แบบ electronic เครื่องแรกขึ้น ชื่อว่า
ENIAC ( Electronic Numerical Integrator And Calculator ) เป็นเครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วยหลอดไฟสูญญากาศ
ค.ศ. 1951 มีการประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC I ( UNIVersal Automatic Computer
) เพื่อการ ค้าเป็นเครื่องแรก เครื่องนี้ได้รับการติดตั้งเพื่อใช้ในงานสำมะโนประชากร
เมื่อ เดือน เมษายน 1951
ค.ศ.1954 มีการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ UNIVAC I สำหรับงานด้านธุรกิจเครื่องแรกที่
General Electric Appliance Park , Loisville , Kentucky
ค.ศ.1958 เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการผลิตขึ้นด้วย Transister เป็นครั้งแรก
ค.ศ.1964 เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการผลิตขึ้นด้วย Microelectronics และ
Integrated circuitry เป็นครั้งแรก
ยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์
ในระยะเวลาที่ผ่านมาเกือบ30ปีเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาเป็นขั้นๆ
และ สามารถแยกความแตกต่างได้เป็น4ยุคด้วยกัน การแบ่งยุคนี้อาจพิจารณาได้ทั้งทาง
Hardware(ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์) และทาง
Software (โปรแกรมและ routimes ต่างๆที่จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ
ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
1.การพิจารณาทางด้าน Hardware
ยุคที่1 (ระหว่างปี ค.ศ. 1946-1957) เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกประกอบด้วยหลอดไฟสูญญากาศ
ซึ่งนับเป็นการนำเอาส่วนประกอบทางไฟฟ้าชนิดนี้มาใช้เป็นครั้งแรก ในเครื่องมือเพื่อการคำนวณ
เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคนี้ได้แนะให้เห็นถึงแนวความคิดใหม่ ในการรับข้อมูลและแสดงผลลัพธ์
ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่มากและมักจะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย เมื่อมีความร้อนสูง
ตัวอย่างของเครื่องในยุคนี้คือเครื่อง IBM600 และเครื่อง UNIVAC 1103
ยุคที่2 (ระหว่างปี ค.ศ.1958-1964) เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่2 เริ่มขึ้นประมาณปี
ค.ศ. 1958 ซึ่งเป็นปีที่ได้มีการนำเอาทรานซิสเตอร์มาใช้ เป็นครั้งแรกในเครื่องคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของการใช้ระบบทรานซิสเตอร์ ทำให้ได้ Speed การทำงานเร็วขึ้น ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากกว่า
และทำให้ต้นทุนในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ต่ำ หน่วยเก็บความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปเก็บข้อมูลไว้ในวงแหวนแม่เหล็ก
(Magnetic core) ยกเว้นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้หน่วยเก็บความจำ
เป็น Magnetic drum ต่อมาได้มีการนำเอา thin film memory มาใช้ในปี ค.ศ.
1960 นอกจากนี้การใช้ทรานซิสเตอร์ ยังช่วยทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงเท่ากับโต๊ะทำงานเพียงตัวเดียว
หน่วยที่ใช้วัดความเร็วในการทำงานของเครื่องคือ Millisecond หรือ 1ส่วน10ยกกำลัง3
วินาที ตัวอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่เครื่อง IBM 1620, IBM
1401 และ UNIVAC
ยุคที่3 (ระหว่างปี ค.ศ. 1965 -1969) เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่3เป็นยุคที่นำเอา
Intergrated circuits มาใช้ทำหน้าที่แทนหลอดไฟสูญญากาศและทรานซิสเตอร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคก่อนๆ
ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงและสามารถทำงานได้เร็วขึ้น หน่วยที่ใช้วัดความเร็วในการทำงานของเครื่องคือ
Microsecond หรือ 1ส่วน 10ยกกำลัง6 วินาที ตัวอย่างของเครื่องในยุคนี้ได้แก่
เครื่อง IBM 360
ยุคที่4 (ตั้งแต่ปี ค.ศ.1970มาจนถึงปัจจุบัน) เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่4
เป็นเครื่องที่ใช้ Monolithic circuits ทำให้ speed การทำงานสูงขึ้นกว่าเดิม
หน่วยวัดความเร็วในการทำงานเปลี่ยนเป็น Nanosecond หรือ 1ส่วน10ยกกำลัง9
วินาที ตัวอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้คือ เครื่อง IBM 370
2. การพิจารณาทางด้าน Software
ยุคที่1 ได้แก่ยุคที่ใช้ภาษาเครื่องจักร ในการเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้เครื่องทำงาน
ภาษานี้ประกอบด้วยคำสั่งที่เป็นตัวเลขล้วนๆ ซึ่งทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจความหมายได้ทันที
ยุคที่2 ได้แก่ยุคที่ภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาขึ้น
เนื่องจากภาษาเครื่องจักรเป็นภาษาที่ยากต่อการเขียน เพราะผู้เขียนโปรแกรม
(Programmer) จะต้องใช้รหัสแทนคำสั่งต่างๆอย่างถูกต้อง การใช้รหัสที่เป็นตัวเลขไม่ได้ให้ความหมายอย่างใดจึงยากต่อการจดจำ
ดังนั้นจึงได้มีการดัดแปลงเอาอักษรภาษาอังกฤษ มาเป็นรหัสแทนคำสั่งในการทำงานต่างๆ
เช่นใช้ A แทนการบวก(Addition) และ S แทนการลบ(Subtraction) ภาษาที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสัญลักษณ์นี้
เรียกว่า Symbolic Language (Assembly)
ยุคที่3และยุคที่4 ได้มีการพัฒนาภาษาขึ้นเป็น High - Level Language เช่นภาษา
FORTRAN ( FORmula TRANslation ) และภาษา COBOL ( Common Business Oriented
Language ) ภาษาเหล่านี้เป็นภาษาที่สร้างขึ้น โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นรากฐาน
มีตัวคำสั่งที่มีความหมายคล้ายคลึงกับคำแปลในภาษาอังกฤษ ทำให้เป็นการสะดวกต่อการจำและง่ายต่อการเขียน
เนื่องจากเครื่องไม่สามารถเข้าใจตัวคำสั่งในภาษาเหล่านี้ได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องใช้ตัวแปล
( Compiler หรือ Processor ) เข้าช่วยในการเปลี่ยนคำสั่งจากภาษาเหล่านี้เป็นภาษาเครื่องจักรก่อน
เครื่องจึงจะทำการประมวลผลได้
ส่วนประกอบต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์
การที่คอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นต้องมีองค์ประกอบดังนี้
1. Hardware คืออุปกรณ์ต่างๆที่ประกอบกันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
2. Software คือ โปรแกรมต่างๆ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ และ แอพพลิเคชันต่างๆ
3. Peopleware คือ บุคลากรผู้ใช้คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์นั้นไม่สามารถทำงาน
เองได้โดยปราศจากมนุษย์เป็นผู้สั่งการ
ความหมายของระบบ(System)
ระบบ หมายถึง ระเบียบวิธีการปฏิบัติที่รวมส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อปฏิบัติงานให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด
ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) นั้นจะต้องประกอบขึ้นด้วยองค์
ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟท์แวร์ (Software)
3. พีเพิลแวร์ (Peopleware)
1. ฮาร์ดแวร์ (Hard ware)
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆที่ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อใช้ในการประมวลผล เช่น
ก. เครื่องบันทึกข้อมูล (Data Entry Equipment) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียม
และบันทึกข้อมูลเพื่อใช้ในการประมวลผล เช่น เครื่องเจาะบัตร (Card Punch),
เครื่องบันทึกข้อมูลลงเทป (Key-To-Tape), เครื่องบันทึกข้อมูลลงจานข้อมูล
(Key-To-Disk) เป็นต้น
ข. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ได้แก่ อุปกรณ์นำส่งข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
เช่น เครื่องอ่านจานข้อมูล (Disk Drive), เครื่องอ่านเทป (Tape Reader),
แป้นพิมพ์ข้อมูล (Keyboard) เป็นต้น
ค. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หมายถึง ส่วนที่ ทำการประมวลผล
ง. หน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) หมายถึง หน่วยที่แสดงผลลัพธ์ จากการประมวลผล
เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) , จอภาพ (CTR.) เป็นต้น
2. ซอฟท์แวร์ (Software)
ซอฟท์แวร์ หมายถึง ส่วนของโปรแกรมต่างๆ ที่สั่งให้เครื่องทำงานตามที่เราต้องการ
แบ่งออกได้เป็นหลายๆ แบบ
3. พีเพิลแวร์ หมายถึง บุคลากรที่ทำงานในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
แบ่งออกได้เป็นหลายระดับ ดังนี้
ก. ผู้บริหารระดับสูง Top Manager) เป็นผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงานนั้น
ข. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นผู้ออกแบบแผนผังของระบบข้อมูลให้สอดคล้องกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้
ค. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) เป็นผู้เขียนโปรแกรมสั่งให้ครื่องทำงานได้ตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้วางไว้
ง. พนักงานบันทึก,ควบคุมข้อมูลและเครื่อง (Operator) เป็นผู้ที่ส่งข้อมูลเข้าสู่เครื่อง,ตรวจสอบข้อมูล,รับผลลัพธ์จากเครื่อง
ตลอดจนควบคุมเครื่อง
ในระบบคอมพิวเตอร์นั้น ถ้าขาดส่วนหนึ่งส่วนใดใน 3 ส่วนที่กล่าวมาแล้ว จะทำให้ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน
หรือถึงกับทำงานไม่ได้เลย อย่างเช่นถ้าเรามีฮาร์ดแวร์ แต่ไม่มีซอฟท์แวร์
ก็เท่ากับมีคอมพิวเตอร์ไว้ตั้งโชว์ หรือถ้ามีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ แต่ขาดพีเพิลแวร์คอยควบคุมคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้เช่นกัน
การเข้าใจส่วนประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะถ้าหากมีความเข้าใจส่วนประกอบพื้นฐานเป็นอย่างดีแล้ว
เราก็จะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
ก่อนที่จะรู้จักรายละเอียดภายใน เราควรทราบพื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์
ซึ่งมักแบ่งการทำงานของคอมพิวเตอร์ออกเป็นสามส่วนหลักๆ คือ
1.หน่วยประมวลผล ( Processing Unit ) ส่วนนี้เป็นสมองของคอมพิวเตอร์มีไว้สำหรับคิดและคำนวณ
2.หน่วยความจำ ( Memory Unit ) ส่วนนี้ทำหน้าที่พักและเก็บข้อมูล
3.หน่วยอินพุทเอ้าท์พุท ( Input/Output Unit ) ส่วนนี้จะทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้และอุปกรณ์ต่างๆ
อินพุท คือส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือคำสั่งเข้าไปในระบบ เช่นคีย์บอร์ดและเมาส์เป็นต้น
เอ้าท์พุท คือส่วนที่แสดงหรือส่งข้อมูลออกจากระบบเช่น จอคอมพิวเตอร์ ลำโพงเป็นต้น
อุปกรณ์บางอย่างที่เป็นได้ทั้งอินพุทและเอ้าท์พุท เช่นโมเดม สามารถส่งและรับข้อมูลภายนอกได้โดยผ่านสายโทรศัพท์
ตัวอย่างการทำงานของคอมพิวเตอร์ เช่น เมื่อเราสั่งให้คอมพิวเตอร์คำนวณ 2+5
เริ่มแรกต้องป้อนคำสั่งจากคีย์บอร์ด(หน่วยอินพุท) หน่วยประมวลผลกลางจะทำหน้าที่คำนวณผลลัพธ์ที่ได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ
จากนั้นจึงแสดงผลลัพธ์ดังกล่าวออกมาบนจอคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นหน่วยเอ้าท์พุท
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
จอภาพ (The Monitor)
จอภาพหรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า CRT ( ย่อมาจาก Cathode Ray Tube )
คือส่วนประกอบหลักที่ใช้ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เราต้องดูที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อสังเกตดูว่าเครื่องกำลังทำอะไรอยู่
และเราจะได้ข้อมูลที่ต้องการโดยเราจะสามารถอ่านข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งมาให้ได้บนจอ
คีย์บอร์ด (The Keyboard)
บทบาทของคีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์คงเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนนั่นก็คือ
เป็นที่ที่เราสามารถพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการจะเก็บเอาไว้ในคอมพิวเตอร์ เเละเป็นที่ที่เราสามารถพิมพ์คำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
สิ่งที่เราพิมพ์เข้าไปจะไปปรากฏอยู่บนจอภาพ คีย์บอร์ดนี้ได้มีการจัดเรียงตัวอักษรต่างๆ
ในลักษณะเช่นเดียวกับแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด พร้อมด้วยแป้นพิเศษอีก2-3อัน
ซึ่งเป็นแป้นพิเศษเฉพาะของคอมพิวเตอร์
เมาส์ (The Mouse)
เมาส์คือ อุปกรณ์ที่เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งนอกเหนือจากคีย์บอร์ดในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์
โปรแกรมในปัจจุบันส่วนใหญ่จะทำมาให้สามารถใช้เมาส์ได้ ดังนั้นเมื่อเราคิดที่จะซื้อคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องมีเมาส์เป็นส่วนประกอบด้วย
เมาส์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้ง่ายโดยเราใช้ได้โดยเลื่อนตัวเมาส์ไปบนโต๊ะของเรา
ลูกศรเล็กๆที่เรียกว่า เมาส์พอยน์เตอร์ จะเคลื่อนที่ไปมาบนจอภาพในทิศทางเดียวกับที่เราเลื่อนตัวเมาส์
และเมื่อเมาส์พอยน์เตอร์เคลื่อนที่ไปถึงจุดที่เราต้องการ เราก็กดปุ่มใดปุ่มหนึ่งบนตัวเมาส์เพื่อเลือกรายการนั้น
เครื่องพิมพ์ (The Printer)
เครื่องพิมพ์แม้ว่าจะเป็นเครื่องมือเผื่อเลือกก็เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์
ในขณะที่จอภาพจะให้ข้อมูลบนจอเพื่อตอบโต้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ก็จะให้ข้อมูลที่เป็นเอกสารที่พิมพ์แล้วแก่เราแน่นอนว่าถ้าเราต้องการพิมพ์จดหมาย
รายงาน ภาพกราฟิกหรืออะไรก็ตามเครื่องพิมพ์ก็เป็นสิ่งจำเป็น
ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (The System Unit
)
Case
ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย
อุปกรณ์เก็บข้อมูล (Disk Storage Capacity)
วัตถุประสงค์หลักของการใช้คอมพิวเตอร์คือ เพื่อการเก็บและการใช้ข้อมูล ข้อมูลดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นลักษณะของตัวอักษร
ตัวเลขหรือรูปภาพจะต้องเก็บเอาไว้ในแผ่นดิสก์ ยิ่งข้อมูลที่เก็บไว้เป็นดิสก์นี้มีความจุมากเท่าไรเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถเก็บข้อมูลของเราได้มากเท่านั้น
จำนวนข้อมูลของคอมพิวเตอร์นับเป็นหน่วยไบต์หรือเท่ากับ1 ตัวอักษร
1 กิโลไบต์ หรือ ที่เรียกย่อๆว่า KB มีความจุเท่ากับ1000ไบต์หรือเท่ากับ1000ตัวอักษร
สำหรับกระดาษพิมพ์ที่เว้นบรรทัดขนาด 8 ? คูณ 11นิ้ว จะสามารถเก็บตัวอักษรได้ราวๆ
3,000 ตัวอักษรหรือ 3 KB
1 เมกะไบต์ หรือทีเรียกย่อๆ ว่า MB มีค่าเท่ากับ1,000,000 ไบต์ ความจุขนาด1
MB จึงเท่ากับข้อมูลที่อยู่บนกระดาษพิมพ์ดีดเว้นบรรทัดจำนวน 333 หน้า
1 กิกะไบต์ เท่ากับ1,000,000,000 ไบต์ GB หรือเท่ากับข้อมูลขนาด 333,333
หน้า
ฮาร์ดดิสก์
ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นตัวเก็บข้อมูล ความจุของฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันมีมากถึงหลายกิกะไบต์และมีราคาสูงมากจึงต้องคำนึงถึงความจำเป็นในการใช้ฮาร์ดดิสก์ให้เหมาะสมกับความต้องการ
ส่วนใหญ่แล้วฮาร์ดดิสก์มักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าฟิกซ์ดิสก์ จะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ใน
คอมพิวเตอร์ เราไม่สามารถที่จะไปเคลื่อนย้ายมันได้ หรือเราอาจจะไม่เคยเห็นตัวเจ้าฮาร์ดดิสก์นี้ด้วยซ้ำไป
เนื่องจากมันบรรจุอยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามเราสามารถเห็นการทำงานของเจ้าฮาร์ดดิสก์นี้ได้จากหลอดไฟดวงเล็กๆที่อยู่ด้านหน้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะมีแสงสว่างปรากฏให้เห็นเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์
กำลังอ่านข้อมูลออกมาหรือเขียนข้อมูลลงไปใน ฮาร์ดดิสก์
หน่วยความจำ (RAM)
หน่วยความจำหรือที่มักเรียกกันว่าแรม (Random Access Memory - RAM)เป็นส่วนสำคัญที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี
หน่วยความจำมีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลชั่วคราว เพื่อส่งไปให้ซีพียูประมวลผล
และเก็บข้อมูลที่ประมวลผลเรียบร้อยเเล้ว เพื่อรอส่งไปให้อุปกรณ์อื่นๆต่อไปเช่นฮาร์ดดิสก์หรือการ์ดแสดงผล
แรมจะมีความเร็วสูงกว่าฮาร์ดดิสก์มาก ซึ่งจะมีหน่วยวัดความเร็วเป็นนาโนวินาที(หนึ่งส่วนพันล้านวินาที)
ขณะที่ฮาร์ดดิสก์จะมีหน่วยความเร็วเป็นมิลลิวินาที Ram
ซีพียู(CPU)
สิ่งที่ถือว่าเป็นหัวใจของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็คือ ชิปไมโครโปรเซสเซอร์หรือซีพียู
(Central Processing Unit - CPU) นั่นเอง ซึ่งบริษัทผู้ผลิตซีพียูที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่มากมายหลายบริษัทเช่น
อินเทล เอเอ็มดี และไซริกซ์ แต่ซีพียูที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุดก็คือซีพียูของบริษัทอินเทล
ซึ่งได้มีการพัฒนาการมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ตั้งแต่ซีพียูในรุ่น 8080 ,
80286 , 80386 , 80486 , เพนเทียม , เพนเทียมโปร , เพนเทียมmmx , เพนเทียมทู
และล่าสุดคือเพนเทียมทรี CPU ชนิดต่างๆ
ความเร็วของซีพียู
ซีพียูจะมีหน่วยที่ใช้วัดความเร็วคือ เมกะเฮิรตซ์ ความเร็วที่พูดถึงนี้คือความเร็วสัญญาณนาฬิกา
หลายคนคงจะเริ่มงงว่า อะไรคือสัญญาณนาฬิกา สัญญาณนาฬิกาก็คล้ายกับจังหวะในการทำงานเช่นการเล่นดนตรีก็ต้องมีจังหวะเครื่องดนตรีที่ให้จังหวะก็คือกลอง
สัญญาณนาฬิกาในซีพียูก็เช่นเดียวกัน ปกติแล้วสัญญาณนาฬิกาในซีพียูจะเร็วมากกว่า
1ล้านครั้งต่อวินาที สัญญาณนาฬิกาที่สามารถวิ่งได้1ล้านครั้งต่อวินาทีพอดีจะมีความเร็ว
1เมกะเฮิรตซ์ ในคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆจะใช้ซีพียูที่มีความเร็วเพียง 4.77 เมกะเฮิรตซ์แต่ในปัจจุบันซีพียูมีความเร็วถึง
600 เมกะเฮิรตซ์ และคาดว่าในอนาคตความเร็วคงจะเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เมนบอร์ด (MainBoard)
นับตั้งแต่ได้มีการคิดค้น เรื่องพีซีขึ้นมาก็ปรากฏเจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่
ที่รวบรวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆเข้ามาไว้ด้วยกัน เจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้านี้มีชื่อเรียกว่าเมนบอร์ด
Mainboard หรือมาเธอร์บอร์ดMotherboard ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็เรียกว่าแผงวงจรหลัก
ซึ่งเมนบอร์ดนี้เองเป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
เมนบอร์ดจะมีลักษณะเป็นแผ่นรูปร่างสี่เหลี่ยม แผ่นที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในพีซี
ที่รวบรวมเอาชิปและไอซี ( IC-Integrated circuit ) รวมทั้งการ์ดต่อพ่วงอื่นๆ
เอาไว้ด้วยกันบนเมนบอร์ดแผ่นเดียว เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้
ถ้าขาดเมนบอร์ด
ฟลอปปี้ดิสก์ไดรว์
สื่อเก็บข้อมูลที่ถือว่าอยู่ยั้งยืนยงมานานแสนนานแล้วนั่นก็คือฟลอปปี้ดิสก์
ซึ่งมีใช้กันมานานหลายปีแล้ว และก็ยังใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ จากในอดีตที่ฟลอปปี้ดิสก์มีขนาด
5.25 นิ้ว ซึ่งเป็นแผ่นใหญ่บรรจุข้อมูลได้1.2 เมกะไบต์ ในปัจจุบันได้กลายเป็นแผ่นที่มีขนาด
3.5 นิ้ว แม้จะมีขนาดเล็กกว่าแต่จุข้อมูลได้มากกว่าคือ 1.44 เมกะไบต์ ปัจจุบันได้มีผู้คิดสื่อที่จะนำมาใช้เก็บข้อมูลแทนฟลอปปี้ดิสก์
ซึ่งรูปร่างภายนอกจะดูเหมือนฟลอปปี้ดิสก์ แต่ตัวแผ่นที่ใช้บรรจุข้อมูลนั้นจุได้กว่า
100เมกะไบต์ แต่ก็มีราคาสูงกว่ามาก
ซีดีรอมไดรว์
จากอดีตที่สื่อในการเก็บข้อมูลที่สามารถพกพาได้ง่ายที่สุดคือฟลอปปี้ดิสก์
แต่ปัจจุบันได้มีสื่อเก็บข้อมูลชนิดใหม่ที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากว่าหลายเท่า
สื่อนั้นก็คือซีดีรอม ฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 3.5นิ้วหนึ่งแผ่นมีความจุเพียง1.44เมกะไบต์แต่สำหรับแผ่นซีดีรอม
5.25 นิ้ว หนึ่งแผ่นมีความจุมากถึง 650 เมกะไบต์ ทำให้สื่อเก็บข้อมูลชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากไม่ว่าจะเป็นแผ่นโปรแกรม
แผ่นเกมส์ รวมทั้งซีดีรอมความรู้ต่างๆ ซีดีรอมไดรว์จึงเป็นส่วนประกอบอีกชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
การ์ดแสดงผล
หากจะเปรียบว่าคนที่สวยหรือไม่สวย ให้ดูที่หน้าตานั้นคอมพิวเตอร์ก็เช่นกันการที่ภาพจะออกมาคมชัดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการทำงานร่วมกันระหว่างจอภาพกับการ์ดแสดงผลเพราะการ์ดแสดงผลเปรียบเสมือนแหล่งที่จะนำข้อมูลขึ้นไปแสดงบนจอภาพ
คุณภาพของภาพที่ได้จะดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับการ์ดแสดงผลด้วยส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของจอภาพ
คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าซอฟต์แวร์ก็คือ
สิ่งที่จับต้องไม่ได้อันได้แก่พวกโปรแกรมต่างๆ ชึ่งในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด
ในที่นี้จะกล่าวถึงทางด้านระบบปฏิบัติการเท่านั้น
ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
ระบบปฏิบัติการเป็นพื้นฐานของการทำงาน การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่สำคัญไปไม่ได้นั่นก็คือระบบปฏิบัติการนั่นเอง
ระบบปฏิบัติการ คือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมด
ให้ทำงานสอดคล้องและประสานงานกันได้เป็นอย่างดี ระบบปฏิบัติการสำหรับพีซีส่วนใหญ่หรือจะเรียกว่าทั้งหมดก็ได้
เป็นระบบปฏิบัติการที่ผลิตโดยบริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของโลกนั่นก็คือ
ไมโครซอฟต์ ไมโครซอฟต์คือบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใหญ่รายหนึ่งของโลกซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกมาก็มีมากมายตั้งแต่แอพลิเคชั่นเฉพาะทาง
เกม และโดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ไมโครซอฟต์กำลังครอบครองตลาดอยู่
เริ่มจากดอส
ดอสเป็นระบบปฏิบัติการแบบเท็กซ์ตัวแรกของไมโครซอฟท์ ด้วยความมุ่งหมายแรกในการสร้างคือ
สร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับเครื่อง IBM แต่เมื่อมีการใช้เครื่องพีซีเพิ่มขึ้น
ดอสก็ได้รับความนิยมจนกลายเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับพีซีในระยะเวลาไม่นานนัก
เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาขึ้น การที่จะใช้ระบบปฏิบัติการที่เป็นแบบเท็กซ์
คือจะมีลักษณะการสั่งงานแบบบรรทัดคำสั่ง คือเราจะต้องสั่งงานผ่านการพิมพ์คำสั่งไปทีละคำสั่ง
ซึ่งสร้างความหวาดหวั่นให้กับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่ ซึ่งไม่เคยเรียนรู้มาก่อนว่า
คำสั่งของดอสมีอะไรบ้าง จึงได้มีการสร้างระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้ง่าย
ไม่ต้องจำคำสั่งให้วุ่นวายเสียเวลา กำเนิดระบบปฏิบัติการพันธ์ใหม่ เหตุนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการตัวใหม่ของไมโครซอฟท์
ที่มีชื่อว่า วินโดวส์ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่ได้รับความนิยมมาก ก็เห็นจะเป็น
วินโดว์ส เวอร์ชัน 3.0 ซึ่งก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ก็ประกาศตัววินโดว์สในเวอร์ชันเก่าออกมาเป็นระยะ
แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยม จนกระทั่งวินโดวส์ 3.0 ที่มีความสามารถในการทำงานมากมายที่ระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าไม่มี
เช่นระบบการติดต่อกับผู้ใช้ผ่านกราฟฟิก(Graphic User Interface)ความสามารถในการเล่นมัลติมีเดีย
ความสามารถในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างแอพพลิเคชันผ่านคริปบอร์ดเป็นต้น และก็มีวินโดวส์
3.1 ตามออกมาซึ่งเป็นเวอร์ชันที่แก้ไขข้อผิดพลาดของวินโดวส์ 3.11 ตามมาอีกในช่วงเวลาภายใน
2ปี
เวลาของวินโดวส์ 95
หลังจากที่ได้มีการนำเอาวินโดวส์ 3.11 มาใช้ได้นานพอสมควรแล้ว พัฒนาการของระบบปฏิบัติการก็เดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งเพราะการกำเนิดของวินโดวส์
95 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่ได้รับการเปลี่ยนรูปโฉมใหม่หมดจดอีกครั้ง
หลังจากที่ได้เปลี่ยนแปลงจากดอสมาสู่วินโดวส์เมื่อหลายปีก่อน และก็เป็นไปตามความคาดหมายและการคาดการณ์ของไมโครซอฟท์
ที่จะทำให้วินโดวส์ 95 เป็นระบบปฏิบัติการบนพีซีทุกเครื่องให้ได้ ปัจจุบันมีผู้ใช้หลายสิบล้านคน
เครื่องพีซีหลายสิบล้านเครื่องทั่วโลกที่ใช้วินโดวส์ 95 เป็นระบบปฏิบัติการ
วินโดวส์ 95 OSR 2.1หรือ วินโดวส์97
บริษัทไมโครซอฟท์ไม่ได้หยุดนิ่งในการพัฒนาวินโดวส์ หลังจากเปิดตัววินโดวส์95ถึงสองครั้งในปี1996โดยออกวินโดวส์95
รุ่นปรับปรุงที่มีชื่อว่า วินโดวส์95 OSR 1และOSR 2 ซึ่งนอกจากแก้ไขปัญหาที่พบในวินโดวส์95
รุ่นแรก ยังได้เพิ่มคุณสมบัติใหม่บางประการเข้าไปด้วย เช่นสนับสนุนการทำงานของอุปกรณ์
ใหม่เช่น อุปกรณ์อินฟราเรต ในปี1997 ได้มีการออกวินโดวส์ 95 รุ่นปรับปรุงอีกครั้ง
เรียกว่าวินโดวส์95 OSR 2.1 ซึ่งได้มีการเพิ่มคุณสมบัติเพิ่มเติมที่น่าสนใจหลายประการ
อย่างไรก็ตามทางบริษัทไมโครซอฟท์ก็ไม่ได้ถือว่าการปรับปรุงในวินโดวส์95 OSR
2.1 เป็นการปรับปรุงที่สมควรจัดให้มันเป็นวินโดวส์95 รุ่นใหม่หรือวินโดวส์97
แต่อย่างใด แม้ว่าจะมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และสื่อบางรายจะเรียกวินโดวส์รุ่นปรับปรุงใหม่นี้ว่าวินโดวส์97
ก็ตาม ปัจจุบันวินโดวส์95 OSR 2.1 ได้ถูกพัฒนาเป็นรุ่นภาษาไทยด้วย ทำให้มันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกจากการใช้วินโดวส์95
รุ่นภาษาไทยรุ่นแรก
วินโดวส์NTระบบปฏิบัติการสำหรับงานในองค์การ
และจัดการเครือข่าย
วินโดวส์NTเป็นระบบปฏิบัติการอีกรุ่นหนึ่งที่แตกต่างจากวินโดวส์95 โดยบริษัทไมโครซอฟท์ได้ออกแบบวินโดวส์NT
เพื่อตอบสนองลักษณะการใช้งานภายในองค์การที่ต้องการความเสถียรภาพ คุณสมบัติด้านเครือข่าย
และความปลอดภัยของข้อมูลสูง ในขณะที่วินโดวส์95มุ่งเน้นกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตามบ้านมากกว่า
ที่ไม่จำเป็นต้องใช้คูณสมบัติที่มีในวินโดวส์NT โดยสามารถทำงานได้กับโปรแกรมและเกมส่วนใหญ่ในท้องตลาดได้
และสนับสนุนความบันเทิงดีกว่า
|