นาย  อภิสิทธิ์  เอารัตน์

ประเภทของกล้องโทรทัศน์

    จำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ  คือ  การโทรทัศน์ขาวดำ  และกล้องโทรทัศน์สี  แต่ที่นิยมแบ่งกันมากคือ  เรียกชื่อตามประเภทหลอดรับภาพที่ใช้  โดยแบ่งเป็น  5 ประเภท 
1.  กล้องไอโอ
2.  กล้องวิดิกอน
3.  กล้องพลัมบิกอน
4.  กล้องซาติกอน
5.  กล้องทรนิตอน

        กล้องไอโอ (io camera)  เป็นกล้องขาวดำที่ใช้หลอดภาพแบบ  image  orthicon  (io)  ซึ่งมีหลอดรับภาพเส้นผ่าศุนย์กลาง 3 นิ้ว  ใช้ในเฉพาะประเทศที่ส่งภาพขาว-ดำเท่านั้น


รูปกล้องโทรทัศน์แบบไอโอและกล้องวิดิกอนด้านขวา

        กล้องวิดิกอน  (vidicon  camera)  เป็นกล้องโทรทัศน์ขาว-ดำที่ใช้หลอดวิดิกอนมีขนาดเล็กกว่าหลอด  io แต่มีความเร็วในการรับแสงมากกว่า  จึงทำให้มีขนาดเบา  ส่วนกล้องวิดิกอนส่วนมากจะใช้ในการศึกษาและการอุตสาหกรรม  มีใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์ขาว-ดำบ้างโดยใช้หลอดวิดิกอนที่มีขนาดใหญ่กว่า  แต่ไม่นิยมมากนัก

        กล้องพลัมบิกอน  (plumbicon  camera)  บางคนเรียกว่า  พลูมบิกอน  เป็นกล้องโทรทัศน์ที่ใช้หลอดรับภาพแบบพลัมบิกอน  ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จดทะเบียนของฟิลิบส์  แห่งเนเธอร์แลนด์  ที่ได้รับการพัฒนามาจากหลอดวิดิกอน  แต่มีสารฉาบผิวรับภาพให้สามารถรับแสงได้มากกว่า  ใช้สำหรับโทรทัศน์สีเป็นส่วนใหญ่ 


กล้องโทรทัศน์แบบพลบบิกอน (ซ้าย)  กล้องซาติกอน (ขวา)

        กล้องซาติกอน  (saticon  camera)  เป็นกล้องโทรทัศน์ที่ใช้หลอดภาพแบบซาติกอน  พัฒนาขึ้นจากศูนย์วิจัยโทรทัศน์ของ  NHK แห่งญี่ปุ่น  ปรับปรุงมาจากหลอดวิดิกอน  โดยการใช้สารเหนี่ยวนำแสง  ฉาบผิวรับภาพหมือนกัน  แต่มีคุณภาพสูงสู้สารเหนี่ยวนำแบบพลัมบิกอนไม่ได้  อย่างไรก็ตามได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ  และมีคุณภาพสูงขึ้นตามลำดับ  จึงเป็นที่นิยมสำหรับใช้เป็นหลอดภาพกล้องโทรทัศน์สำหรับการถ่ายนอกสถานที่

        กล้องทรินิตอน  (triniton)  เป็นกล้องโทรทัศน์ที่ใช้หลอดทรินิตอน  พัฒนาขึ้นโดยบริษัท  sony  โดยปรับปรุจากหลอดวิดิกอนและใช้สารเหนี่ยวนำสารเป็นพิเศษที่  sony  อ้างว่าไวกว่าหลอดซาติกอน  อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป


โดยทั่วไปแล้ว  การผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์มักจะใช้กล้องที่มีคุณภาพสูงที่ต้องมีหลอดภาพขนาดใหญ่ 3 หลอด เขียว  แดง  น้ำเงิน  บางประเภทมีหลอดขาว-ดำเข้ามาเพิ่ม  จึงมีน้ำหนักมากเรียกว่า  กล้องโทรทัศน์สตูดิโอ  (studio  camera) ซึ่งมีราคาแพงมาก


 ข้อมูลอ้างอิงจาก  หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุโทรทัศน์   มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช