นางสาว  วาสนา  เพชรฉวี

ชนิดของระบบวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบัน

        วิทยุโทรทัศน์ในโลกนี้มีหลายระบบ  ถ้าจะถามว่าทำไมมีหลายระบบ  ก็คงจะตอบเพราะคนเรามีความคิดเห็นไม่เหมือนกัน  จึงมีคนคิดค้นวิทยุโทรทัศน์แบบต่างๆ  ขึ้น

        เริ่มต้นทีเดียวก็เป็นเหตุผลตั้งแต่เรื่องไฟฟ้าก่อน  ทางยุโรปใช้ไฟฟ้า  220 โวลต์  50  เฮิรตซ์แต่ทางอเมริกาใช้ไฟฟ้า  110 โวลต์  60 เฮิรตซ์        ส่วนประเทศที่ใช้ความถี่ไฟฟ้า  60 เฮิตรซ์ต่อวินาทีก็จะใช้ระบบ  30 กรอบภาพต่อวินาทีภาพจึงไม่กระพริบ

        การที่ระบบใดจะส่งจำนวนเส้นในหนึ่งกรอบภาพ  คือ  จากส่วนบนสุดของจอจนถึงส่วนล่างสุดของจอภาพนั้น  ก็ต้องเป็นเรื่องที่จะต้องเลือกกัน  ถ้าจำนวนเส้นมาก  ภาพก็จะมีรายละเอียดมาก  มีความคมชัด  แต่ถ้าจำนวนเส้นมาก  ความกว้างของเส้นสัญญาณก็จะสูงขึ้น  ทำให้ส่งวิทยุโทรทัศน์ได้น้อยช่องลง  เพราะความถี่มีจำกัด

        ทางอเมริกาเลือกระบบ  525 เส้น เพราะมีความกว้างของเส้นสัญญาณเพียง  6 เมกะเฮิรตซ์  เรียกว่าระบบ FCC 

        ทางยุโรปเลือก 625 เส้นให้ความคมชัดกว่า  มีความกว้างช่องสัญาณ 7 เมกะเฮิรตซ์ ส่งได้ช่องน้อยกว่า เรียกว่าระบบ CCIR หรือเรียกว่าระบบยุโรป

        ฝรั่งเศษเลือก 819 เส้น เพราะคมชัดกว่า  แต่ปัจจุบันก็เปลี่ยนมาใช้ 625 เส้นแล้ว เรียกว่าระบบ ฝรั่งเศษ

        ความถี่ที่จะทำให้ลากเส้นบนจอโทรทัศน์เรียกว่า ไลน์ฟรีเควนซี่  linefrequency  บางแห่งเรียกว่า  ฮอริซอนทอล  ฟรีเควนซี  horizontal  frequency ความถี่นี้ได้จากจำนวนภาพต่อวินาที  คูณ  กับจำนวนเส้น  เช่น  525 เส้นส่ง 30 กรอบต่อวินาที  จะมีจำนวนเส้นเท่ากับ  15750 เฮิรตซ์ต่อวินาที 

        สิ่งต่างๆ  เหล่านี้ทำให้เกิดระบบต่างๆ  ขึ้น  นอกจากนั้นยังมีเหตุผลปลีกย่อยอีกมากมายที่ทำให้เกิดการต่างระบบ  เพราะความคิดคนเราไม่เหมือนกัน  ได้มีผู้คิดรวมทุกระบบให้เป็นแบบเดียวกันแต่ก็ยังทำไม่ได้ในขณะนี้  แต่ก็เชื่อกันว่าจะทำได้ในอนาคตอันใกล้ 

        ด้วยเหตุผลดังกล่าว  และประกอบที่ทุกชาติมีเหตุผลที่ต้องการจะให้โทรทัศน์ไม่มีการรบกวนซึ่งกันและกัน  ทางสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ  หรือที่เรียกว่า  ไอทียู     ITU  ที่มีชื่อเต็มว่า  INTERNATIONAL  TELECOMMUNICATION  UNION จึงได้มีการแบ่งการบริการโทรทัศน์ออกเป็น 3 เขต

                เขตที่ 1 ยุโรป  แอฟริกา  และสหภาพโซเวียด
                เขตที่ 2 อเมริกาเหนือ  อเมริกาใต้
                เขตที่ 3 เอเชีย  ออสเตรเลีย  และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก

        แต่ละเขตก็จะแบ่งความถี่การใช้งานแตกต่างกันไป  เช่น  ความถี่สำหรับการส่งกระจายเสียงและแพร่ภาพ  ความถี่ที่ใช้สำหรับการโทรคมนาคม  ความถี่สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น  เป็นต้น


ข้อมูลอ้างอิงจาก  หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุโทรทัศน์   มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช