นางสาว  สมพร  บุญโห้

สัญญาณโทรทัศน์

        สัญญาณโทรทัศน์ที่ทางสถารีส่งเข้าเครื่องส่ง  ออกอากาศไปยังเครื่องรับนั้นมีสัญญาณหลายชนิด  ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
1.  สัญญาณภาพ  video  signal
2.  สัญญาณซิงค์  synchronizing  signal
3.  สัญญาณแบล็งกิ้ง  blanking  signal
4.  สัญญาณอีควอไลซิ่ง  equalizing  signal
5.  สัญญาณเบริรสท์  burst  หรือซิงค์ของสี  color  sync
6.  สัญญาณคลื่นพาห์รอง  sub  carrier
7.  สัญญาณเสียง   audio  signal

        

        สัญญาณภาพ  คือ  สัญญาณที่หลอดจับภาพ  ได้เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า  เป็นสัญญาณที่จะทำให้เกิดภาพที่เครื่องรับ

         สัญญาณซิงค์  คือ  สัญญาณที่ส่งจากเครื่องส่วไปยังเครื่องรับ  เพื่อให้เครื่องรับเขียนภาพในจังหวะเดียวกันกับเครื่องส่งสัญญาณที่มี  2  ชนิดคือ  ซิงค์ในแนวตั้ง  และในแนวนอน
        ซิงค์ในแนวตั้ง  ความถี่  50 เฮิรต์  ใช้บังคับไม่ให้ภาพเลื่อน  ถ้าซิงค์ในแนวตั้งไม่ทำงานหรือผิดพลาดภาพจะเคลื่อน   
        ซิงค์ในแนวนอน  ความถี่  15625  เฮิรตซ์  ใช้บังคับไม่ให้ภาพล้ม   ถ้าซิงค์ในแนวนอนไม่ทำงานหรือผิดพลาดภาพจะเคลื่อน

   
รูปสัญญาณโทรทัศน์ขาวดำ


        สัญญาณแบล็งค์กิ้ง  คือ  สัญญาณที่บังคับไม่ให้อิเล็กตรอนวิ่งไปชนสารเรืองแสงในขณะที่ไม่ต้องการให้เกิดภาพ  คือ ตอนที่เขียนภาพไปสุดจอแล้ว  จะต้องสะบัดลำอิเล็กตรอนกลับมาเริ่มต้นทางซ้ายใหม่  เส้นที่สะบัดเร็วมากแต่ก็เห็น  เพื่อไม่ให้เห็นจึงส่งรูปคลื่นสี่เหลี่ยมไปหยุดลำอิเล็กตรอนเสียไม่ให้กระทบจอจนเกิดช่องว่าง  เส้นเหล่านี้เรียกว่า   แบล็งค์ทางแนวนอน  และเมื่อลำอิเล็กตรอนเขียนภาพมาสุดจอด้านล่างแล้วจำเป็นต้องขึ้นไปเขียนข้างบน  ก็ต้องสะบัดลำอิเล็กตรอนขึ้นอย่างรวดเร็ว  แต่จะเห็นเส้นกระตุกเหล่านี้  จึงส่งสัญญาณที่เรียกว่า    แบล็งค์ทางแนวตั้ง

   
รูปสัญญาณโทรทัศน์สี


        สัญญาณอีควอไลซิ่ง  คือ  สัญญาณที่ใส่ไว้ในระหว่างซิงค์ทางแนวตั้งเพื่อให้ซิงค์ทางแนวตั้งคงรูปอยู่ได้  และซิงค์แนวนอนก็ไม่ขาดหายไปขณะที่มีซิงค์ทางแนวตั้ง  ทำให้การขีดเส้นเป็นไปโดยเรียบร้อย


        สัญญาณเบิรสท์  คือ  สัญญาณซิงค์ของสี  เป็นสัญญาณที่ทำให้คลื่นพาห์รองซึ่งเป็นพาหนะของคลื่นสีทางเครื่องรับ  ทำงานพร้อมกับคลื่นพาห์รองทางเครื่องส่งทำให้สีถูกต้อง

        สัญญาณพาห์รอง  คือ  สัญญาณที่รวมกับสัญญาณสีก่อนส่งสัญญาณเข้าเครื่องส่งเพื่อไม่ให้สัญญาณสีรวมกับภาพขาวดำ  อาจกล่าวได้ว่า    สัญญาณพาห์รองเป็นคลื่นพาห์ของสัญญาณสี      สัญญาณพาห์รองนี้จะมีความถี่ตามระบบที่ใช้  เช่น ระบบเอ็นทีเอสซี  ความถี่คลื่นพาห์เท่ากับ  3.58  เมกะเฮิรตซ์  ระบบพอล ความถี่คลื่นพาห์  เท่ากับ  4.43  เมกะเฮิรตซ์

        สัญญาณเสียง  คือ  สัญญาณที่มาจากไมโครโฟน   เครื่องเล่นจานเสียงหรือเทปบันทึกเสียง  เปลี่ยนให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่มีความถี่เสียงเรียบร้อยแล้ว  ส่งออกอากาศไปให้ผู้ชมทางบ้านได้ฟัง


ข้อมูลอ้างอิงจาก  หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุโทรทัศน์   มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช