ภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์มีอยู่เป็นจำนวนมาก
แต่เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ภาษาเดียวคือ ภาษาเครื่อง (Machine language) ซึ่งเป็นภาษาที่บังคับการทำงานของเครื่องอย่างแม้จริง
ข้อเสียของภาษาเครื่องคือ ภาษาของแต่ละเครื่องจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้แล้วแต่การออกแบบระบบเครื่องว่าจะเป็นแบบใด
ระดับภาษาคอมพิวเตอร์
๑. ภาษาระดับต่ำ (low level language) คือภาษาที่เขียนตามลักษณะการทำงานของเครื่องดังนั้นผู้ใช้ภาษาเหล่านี้จำเป็นต้องเข้าใจการทำงานของเครื่อง
เป็นอย่างดีภาษาเหล่านี้ ได้แก่ ภาษาเครื่อง ภาษาแอสแซมเบลอร์และภาษามาโครแอสเซมเบลอร์
(Macro Assembler)
๒. ภาษาระดับสูง (higher level language)
เป็นภาษาที่เข้าใกล้ลักษณะภาษาที่มนุษย์ใช้(humanorientedlanguage)มีลักษณะเป็นคำพูดหรือเป็นสมการในการ
คำนวณแบบเดียวกับที่เราใช้กันในวิชาพีชคณิต หรือตรีโกณมิติ ดังนั้น ภาษาระดับนี้จึงยังแบ่งออกเป็น
๒ พวกคือ
1. ภาษาเขียนที่มีลักษณะเป็นตัวเลข (numeric language) คือภาษาที่ใช้เขียนชุดคำสั่งนั้นมีแนวความคิดในการบอกข้อมูลและการทำงานที่มีลักษณะเป็นตัวเลขและสมการ
เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาเบสิก เป็นต้น
2.ภาษาเขียนที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ (symbolic language) คือภาษาที่ใช้เขียนชุดคำสั่งนั้นมีแนวความคิดในการบอกข้อมูลและการทำงานที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์และเป็นคำพูดแทน
เช่น ภาษาโคบอล
ภาษาเครื่องต่างๆ
ภาษาเครื่อง
เป็นภาษาที่แท้จริงของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะทำงานได้แต่เฉพาะภาษาเครื่องเท่านั้น
ในงานทางคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะไม่เขียนเป็นภาษาเครื่อง เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีลักษณะแตกต่าง
กันไป ภาษาเครื่องจะใช้สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ทำงานเกี่ยวกับระบบชุดคำสั่ง เวลาเขียนต้องเขียนในรูปของเลขฐานสอง
เมื่อเขียนเสร็จต้องคิดกลับมาเป็นตัวเลขฐานสิบ หรือเป็นตัวอักษร หรือพยัญชนะต่างๆ
ที่จะให้เครื่องรับกลับเข้าไปเป็นเลขฐานสอง พร้อมกับประกอบเป็นคำสั่งและรวมกันเป็นชุดคำสั่ง
การเขียนชุดคำสั่งภาษาเครื่องไม่จำเป็นต้องใช้ตัวแปลชุดคำสั่งหรือชุดคำสั่งควบคุมในช่วงการทำงาน
ภาษาแอสเซมบลี
ภาษาแอสเซมบลี (Assembly language) เป็นภาษาที่เขียนเป็นตัวพยัญชนะและตัวเลขฐานสิบ
เช่นเดียวกับภาษาเครื่อง ต่างกันตรงที่ว่าภาษาแอสเซมบลีเขียนเป็นตัวอักษรโดยไม่คำนึงว่าเลขฐานสองเป็นอย่างไรและต้องการตัวแปลชุดคำสั่ง
ภาษาแอสเซมบลีเมื่อถึงเวลาทำงานยังต้องใช้ชุดคำสั่งควบคุมเข้าช่วยอีกด้วยเมื่อเขียนชุดคำสั่งภาษาแอสเซมบลี
เสร็จจะได้ชุดคำสั่งที่เรียกว่าชุดคำสั่งเริ่มต้น(sourceprogram)ซึ่งจะต้องมีลักษณะที่ตัวแปลชุดคำสั่งภาษาแอสเซมเบลอร์
จะรับได้เมื่อเอาชุดคำสั่งเริ่มต้นเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวแปลชุดคำสั่งภาษาแอสเซมบลีจะแปลชุดคำสั่งภาษาแอสเซมบลี
เป็นชุดคำสั่งภาษาเครื่อง เราเรียกว่า ชุดคำสั่งทำงาน (objectprogram)พร้อมกับถูกจัดให้อยู่ในรูปที่ชุดคำสั่งควบคุมจะรับได้
ชุดคำสั่งทำงานนี้อาจจะถูกแปลมาในลักษณะบัตร แถบแม่เหล็ก หรือจานแม่เหล็ก
ภาษาฟอร์แทรน
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับการใช้งานทางด้านการคำนวณตัวแปลชุดคำสั่งจะทำหน้าที่อ่านชุดคำสั่งที่เป็นภาษาฟอร์แทรน
ที่เราเขียนขึ้นและแปลเป็นภาษาเครื่องที่ชุดคำสั่งควบคุมสามารถรับได้คำสั่งในภาษาฟอร์แทรนแต่ละคำสั่งเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า
statement ซึ่งแบ่งเป็นได้ดังนี้
คำสั่งรับส่งข้อมูล (input-output statement ได้แก่ READ, WRITE หรือ PRINT, FORMAT
คำสั่งคำนวณ (arithmetic statement) ได้แก่ คำสั่งที่เป็น การคำนวณ โดยทางซ้ายมือเป็นตัวแปร
ทางขวามือเป็นการคำนวณ เช่น X = A + B
คำสั่งตรรกะ (logical statement) เป็นคำสั่งประเภทควบคุม ได้แก่ คำสั่งที่ใช้ในการทดลองค่า
เช่น IF หรือ GO TO
ภาษาเบสิก
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับผู้เริ่มเรียนการเขียนหรืองานด้านการคำนวณที่ไม่ยุ่งยากมากนักลักษณะภาษาประกอบ
ด้วยเลขที่บรรทัดและคำสั่ง ซึ่งแบ่งเป็นดังนี้
คำสั่งรับส่งข้อมูล INPUT, PRINT และ READ เป็นต้น
คำสั่งคำนวณ คำสั่งที่ใช้ในการคิดคำนวณเลขต่างๆ เช่น X = A + B + ๕ หรือ Y = A
+ B/C
คำสั่งตรรกะ IF, FOR