สรุปข่าวประจำสัปดาห์ |
[ เนื่องจาก กกล.๙๗๒ ฯ ผลัดที่ ๔ ยังไม่ได้รับมอบภารกิจอย่างเป็นทางการจาก ผลัดที่ ๓ ซึ่งจะเคลื่อนย้ายกำลังพลเข้าปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ ๔ ก.ค.๔๔ เป็นต้นไป จึงขอสรุปสถานการณ์ในภาพรวมให้ท่านได้รับทราบก่อนเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานครับ]
1.สถานการณ์ด้านการเมือง
UNTAET
ได้กำหนดนโยบายที่จะให้ชาวติมอร์ตะวันออก
มีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ
โดยกำหนดให้จัดตั้ง ETTA (
คณะกรรมการบริหารเพื่อการถ่ายโอนอำนาจของติมอร์ตะวันออก
) ซึ่งมีคณะกรรมการทั้งหมด 8 คน
เป็นชาว ติมอร์ 4 คน
นอกจากนั้นยังแต่งตั้งชาวติมอร์ตะวันออก
เป็นผู้บริหารระดับอำเภอ (DA)
อีก 13 คน ทั้ง 13 อำเภอ มี NC (สภาแห่งชาติ)
ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 36 คน
โดยเป็นผู้แทนจาก 13 อำเภอ , 10
พรรคการเมือง , 3 กลุ่มศาสนา , 7
องค์กร และผู้แทนกลุ่ม Militia อีก
3 คน
ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของ
UNTAET ในการปกครองบริหารประเทศ
ปัจจุบันมี นาย Mario Carrascalao
เป็นประธาน
โดยขึ้นดำรงตำแหน่งแทน นาย Xanana
Gusmao ที่ลาออกจากตำแหน่งเมื่อ 28
มี.ค.44 ที่ผ่านมา
หลังการประชุม NC ในห้วงกลาง มี.ค.44
ได้มีการกำหนดปฏิทินทางการเมืองในติมอร์ตะวันออก
โดยจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญใน
30 ส.ค.44
ต่อจากนั้นจะดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการปกครองตนเองของ
ติมอร์ตะวันออก
ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในก่อนสิ้นปี
2544
หลังจากนั้นจึงจะมีการกำหนดวันเลือกตั้ง
สส. และประธานาธิบดี ต่อไป
2. สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยา
ตั้งแต่เดือน มกราคม 2543 เป็นต้นมา UNTAET และหน่วยงานของ สหประชาชาติ รวมทั้ง NGOs ได้พยายามแก้ปัญหาการว่างงาน และกระจายเงินกู้ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยทั่วทั้ง 13 อำเภอ แต่ก็ยังมีผู้ว่างงานอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันปัญหาเงินเฟ้อได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการฉวยโอกาสจากสถานการณ์ด้านความมั่นคง ความยากจนของประชาชนได้แสดงออกมาในรูปของสถิติอาชญากรรมที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นการที่โครงสร้างพื้นฐานถูกทำลายไปเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับความด้อยคุณภาพของบุคลากรทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างเชื่องช้า ดังนั้นเศรษฐกิจโดยรวมของติมอร์ตะวันออก ยังคงอยู่ในสภาพที่ต้องพึ่งพา UN ไปอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตามก็ยังมีบริษัทต่างชาติสนใจจะเข้ามาลงทุนในติมอร์ตะวันออก ภายในระยะเวลา 10 ปีนี้ เป็นจำนวนมาก3.ภัยคุกคาม
จากการช่วงชิงอำนาจทางการเมือง ของบรรดา พรรคการเมือง และกลุ่มการเมือง ต่าง ๆ ในพื้นที่ซึ่งกำลังเริ่มที่จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจมีบางพรรคหรือบางกลุ่มใช้การปลุกระดมประชาชน หรือสร้างสถานการณ์โดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อผลทางการเมือง จนอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงหรืออาจถึงขั้นก่อการจลาจลขึ้นได้ โดยมีกลุ่มที่ต้องเพ่งเล็งเป็นพิเศษ ได้แก่ กลุ่ม CPD RDTL เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวนี้ ได้ประกาศเจตนารมย์อย่างชัดเจนว่า จะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะไม่ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น โดยอ้างว่า ติมอร์ ตะวันออก มีรัฐธรรมนูญเดิมอยู่แล้วไม่จำเป็นร่างขึ้นมาใหม่ และหากจะมีการเลือกตั้งก็ควรเป็นการเลือกตั้งที่เกิดจากการดำเนินการของประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกเองซึ่งจะต้องไม่ถูกครอบงำโดยคนต่างชาติ นอกจากนั้นกลุ่ม CPD RDTL ยังกล่าวหาว่า UNTAET วางตัวไม่เป็นกลาง โดยการที่ UNTAET ให้การสนับสนุน แต่เฉพาะพรรคการเมืองที่อยู่ใน NC ( สภาแห่งชาติ / CNRT ) และพยายามกีดกัน กลุ่ม CPD RDTL ดังนั้น คาดว่าภัยคุกคามหรือสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติภารกิจ ของ ภตอ. ในห้วงระยะเวลาอันใกล้นี้น่าจะเกิดขึ้นจากการก่อความไม่สงบโดยสมาชิกของพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองรวมทั้งผู้ที่ให้การสนับสนุน
สำหรับภัยคุกคามที่จะเกิดจากการปฏิบัติการทางทหารของ กกล. ติดอาวุธ กลุ่ม Militia ปัจจุบันคาดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากในพื้นที่รับผิดชอบของ ภตอ. ในห้วงที่ผ่านมาตั้งแต่ผลัดที่ 3 เข้ามาปฏิบัติภารกิจ ไม่ปรากฎข่าวสารความเคลื่อนไหวของทั้ง กกล.ติดอาวุธ และแนวร่วมของกลุ่ม Militia แม้แต่ครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามจากกลุ่ม Militia ที่อาจเกิดขึ้นได้ก็โดยการสร้างสถานการณ์ก่อกวนความสงบเรียบร้อย ทำให้ชาวติมอร์ตะวันออก ขาดความเชื่อมั่นใน PKF และUNTAET รวมทั้งใช้การโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนไม่พอใจในภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ปัญหาการว่างงาน สินค้าราคาแพง และบริการสาธารณูปโภคที่ไม่เท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชนเกิดเบื่อหน่ายและผิดหวัง จนกระทั่งประชาชนเกิดความรู้สึกต่อต้าน UNTAET ในที่สุด
|ข้อมูลประเทศติมอร์|การจัดหน่วย|ผู้บังคับบัญชา|UNTAET
PKF|
ภารกิจ กกล.๙๗๒
ฯ|ที่อยู่ทหารไทยในติมอร์|
|UN
ในติมอร์ ตอ.|กิจกรรมที่สำคัญ|กองทัพไทยได้อะไร์|จดหมายจากแนวหลัง|ส่งกำลังใจไปติมอร์|กลับหน้าหลัก|