สเตโกซิฟาเรียน (Stegocephalian)

 

สเตโกซิฟาเรียน ไม่ใช่ไดโนเสาร์ แต่เป็นสัตว์ในยุคแรก ๆ ที่เก่ากว่าไดโนเสาร์เสียอีก สเตโกซิฟาเรียนยังมีทั้งลักษณะ ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานอย่างละครึ่ง รูปร่างก็เหมือน ตัวซาลามานเดอร์ขนาดใหญ่

ซากฟอสซิลของสเตโกซิฟาเรียนที่พบในประเทศไทย พบที่บริเวณใกล้เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอ คลองสาน จังหวัดชัยภูมิ เป็นส่วนกะโหลกที่ติดอยู่กับคอ ประมาณว่ามีอายุ 210 ล้านปีมาแล้ว และประมาณความยาวได้ว่าสเตโกซิฟาเรียนตัวนี้คงยาวประมาณ 1.5 เมตร มีหัวที่แบน มีตาอยู่ส่วนบนของกะโหลก ทำให้มองเห็นได้โดยรอบแม้จะจมอยู่ในน้ำเกือบมิดก็ตามจึงสันนิษฐานว่า สเตโกซิฟาเรียนจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ

แบบจำลองฟอสซิลหัวกระโหลกของสเตโกซิฟาเรียนที่พบในี่บริเวณใกล้เขื่อนจุฬาภรณ์

 

โปรกาโนเชลิส รุจาอิ (Procanochelys ruchae)

 

โปรกาโนเชลิส รุจาอิ (Procanochelys ruchae) เราพบฟอสซิลกระดองสัตว์จำพวกเต่าที่ เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอสีชมภู จังหวัดขอนแก่น เป็นสัตว์ในสมัยต้น ๆ มีชีวิตอยู่ในช่วงไทรแอสสิก คล้ายกับที่พบในประเทศเยอรมัน แต่ก็มีลักษณะบางอย่างทางด้านหลังของกระดองที่แตกต่างกันออกไป จึงสรุปได้ว่าเป็นเต่าตระกูลเดียวกันแต่คนละพันธุ์ จึงได้ชื่อใหม่ว่า โปรกาโนเชลิส รุจาอิ เพื่อเป็นเกียรติแก่ อาจารย์รุจา อิงคะวัต

ซูโนซูคัส ไทยแลนด์ดิกัส (Sunosuchus Thailandicucs)

 

     ซูโนซูคัส เป็นจระเข้อีกชนิดหนึ่งพบที่หนองบัวลำภู มีอายุประมาณ 190 ล้านปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาอยู่ใน   ยุคจูแรสสิก   โดยคุณนเรศ สัตยารักษ์ ได้พบฟอสซิลเป็นชิ้นส่วนของขากรรไกรล่างขนาดยาวถึง 1.14 เมตร ทำให้ประมาณได้ว่าสัตว์ตัวนี้มีความยาว ถึง 8 เมตร          มีฟันในลักษณะสัตว์ที่กินปลาใหญ่เป็นอาหารและมีลักษณะคล้ายกับจระเข้ตระกูลซูโนซูคัสที่เคยพบในแคว้นกังสูของประเทศจีน  แต่เป็นคนละพันธุ์กัน จึงได้ชื่อใหม่ว่า ซูโนซูคัส ไทยแลนด์ดิกัส