![]() | บางระจัน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๔๘๑ สำนักพิมพ์เหม เวชกร
ไม้ เมืองเดิม |
บางระจัน นวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความสมบูรณ์พร้อมนับตั้งแต่ หัวใจของเรื่อง (Theme) ซึ่งได้แก่ วีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน ในการสู้พม่าข้าศึกจนตาย หมดทุกคน ท่ามกลางความขลาดเขลาและเห็นแก่ตัวของชนชั้นปกครอง ส่วนเนื้อหาของ เรื่อง สามารถสร้างวีรบุรุษของชาวบ้านบางระจันให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีก รูปแบบนั้นนับว่า หมดจดงดงาม ทั้งในแง่ของความสมจริง และในแง่ของวรรณศิลป์ โดยเฉพาะฉากสุด ท้ายที่ชาวบ้านบางระจันสู้ตายหมดทุกคน แต่ละชีวิตที่ล้มลงด้วยดาบพม่าคนแล้วคนเล่า ตั้งต้นเรื่องบางระจัน โดยแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างทัพบุตรชาย นายทหารยอดฝีมือที่ถูกสังข์กลั่นแกล้ง เพราะรักผู้หญิงคนเดียวกัน ทัพตกเป็นเป้าหมาย ของสังข์ที่อาศัยอำนาจในตำแหน่งหน้าที่ในฐานะทหาร คุมพลออกมาไล่ล่าจับตัวทัพ ความจำเป็นบังคับให้ทัพต้องคุมสมัครพรรคพวกออกไปเป็นโจรแบบโรบินฮู้ด แต่เนื่อง จากเป็นช่วงจังหวะที่พม่ารุกรานไทย ส่งทหารออกปล้นสะดมและทำร้ายชาวบ้านอย่าง โหดร้าย ทัพจึงหันดาใส่พม่า ยังผลให้คู่แค้นคู่ฆ่ากลายมาเป็นเพื่อนรัก ที่ต่างฝ่ายต่างก็ ยอมสละความอาฆาตบาดหมางด้วยเรื่องส่วนตัว กอดคอกันสู้ศัตรูของแผ่นดิน ทัพ เกิดความสำนึกผิดจากกาที่ต้องสู้รบกับทหารหลวง จนคนของตนต้องเสียชีวิตไปด้วย ฉากนี้ ไม้ เมืองเดิม บรรยายได้อย่างสมจริงและก็มีชีวิตชีวา สะท้อนถึงความเชื่ออันเป็น วัฒนธรรมพื้นบ้านของคนไทยสมัยก่อน "ทัพยืนดูสีแดงเพื่อจะหมาดของเลือกที่เช็ด แล้วก็หวนนึกสงสารซาก ศพที่นอนดิน ๗-๘ คน และเจ็บอีกมาก แล้วเรียกพลให้มายืนอยู่โคนไม้นั้น "น้องกู มึงเป็นพยานด้วยกันทุกๆ คนเถอะ กูทำผิดเพราะรักชีวิต พวก เราเหล่านี้เท่านั้น แต่..." มันชี้มือไปที่รอยไม้ "นั่นมันเป็นเลือดข้าแผ่นดิน เลือดทหารที่กูไม่ยอมให้เปื้อนมืออ้ายโจรอย่างกู ก็ไม่รู้จะแก้ตัวขอขมาโทษ จะใคร กูต้องพึ่งต้นไม้นี้ กูขอเชิญผีเจ้าของเลือดมันมาเป็นเทวดาอยู่นี่ กู จะคุกเข่ากราบขอขมาไปถึงผีที่นอนดินอยู่บ้านคำหยาดโน่น และขอให้น้อง กูสามคนที่นอนตายกลางรบนั่นขึ้นสวรรค์เถิด" สิ้นคำมันจึงคุกเข่าลง พล ทั้งหมดก็ทำตามมัน ทัพอธิษฐานนิ่งนาน หัวใจเงียบสนิทหวนไปบ้านคำหยาด หวนไปยัง ศพที่มันกำลังรำลึกขอขมาโทษ เพราะอ้ายสังข์และอ้ายขาบแท้ที่เห็นแก่สุข ข้างเดียวตัวคนเดียว จึงพลอยให้ข้าแผ่นดินต้องมายับเพราะหันสู้กันเอง ทหารและน้องกูมึงจังชื่อ เรียงเสียงไรก็แล้วแต่ ชีวิตมึงดับไปแล้วอยู่หน ไหน แต่เลือดมึงจะติดไม้กร่างนี่อยู่ให้คนบูชาตลอดชีวิตไม้ แล้วมันลุกโซ เซหักกิ่งไม้ปักโคนต้นเป็นการคำนับ และก็ได้ผ้าห่มอีแฟงมันอุทิศให้เป็น ผ้าห่มไม้กร่างเทพารักษ์นั้นต่อไป" บางระจันถ่ายทอดจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ และวีรชนของประชาชนชาว ไทยก็มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง วีรชนเหล่านี้สู้ตายกับค่ายบางระจัน กว่าคนรุ่นหลัง จะสร้างอนุสาวรีย์ให้เวลาก็ล่วงไปถึงร่วมสองศตวรรษ "ใช่ว่าเมืองไทยจะสิ้นคนดีก็หาไม่ ชายชาติทหารของไทยยังจะพอมี พอหานายแท่นชาวบ้านศรีบัวทองแขวงเมืองสิงห์ ซึ่งหลบตัวซุ่มอยู่พร้อม ด้วยพวกพ้องเพื่อนฝูงอีกสามคนล้วนแต่มีฝีมือเป็นหัวหน้า และชาวพื้นบ้าน ศรีบัวทอง ด้วยกันคือ นายโชติ นายอิน นายเมือง ส่วนพวกชาวบ้านพื้นวิเศษ ชัยชาญ ต่างก็บอกเล่าถึงข้อปรึกษาตกลงกับผู้เป็นหัวหน้ามีฝีมือพวกบ้าน เดียว คือ นายทองแก้วบ้านโพธิ์ทะเลกับนายดอกไม้ ชาวบ้านกรับ เมื่อต่างรู้ และหัวใจตรงกันว่า จะขอกอดคอสู้ตายทุกยิบตา ตายไหนตายกัน แล้วพวก ชายใจทหารทั้งหกก็ประชุมปรึกษาถึงอุบายที่จะทำกันในวันรุ่งขึ้น..." ภาพของการร่วมแรงร่วมใจอย่างที่หาได้ยากในคนไทยปัจจุบันนี้ ไม้ เมือง เดิม พรรณนาออกมาแจ่มชัดด้วยความรู้สึก "เสียงตะโกนกู่ก้องยังอึงคนึงไปอีกนาน กอดคอกันสะอื้น...รักบ้านเกิด เมืองนอน แขนเลือดไหลย้อยเพราะปลายมีดจ้ำ ดาบเฉือนเนื้อให้เลือดมัน ไหล ร้อยแผลนี่ยังไม่เจ็บเหมือนแผลใจที่ถูกข่มเหง ปากก็พร่ำสาบานไม่ขาด บ้างคุกเข่าหันหน้าสู่ทิศกรุง...แล้วกราบลงบนผืนนาบ้านระจัน ทั้งดาบ มีดชู ร่อน มือประนมอธิษฐานพลีชีวิตให้แก่ชาติ...สองแขนจะขอทำศึกให้ถวายแผ่น ดิน...สองมือจะกำดาบกันประเทศ สองแขนทั้งสี่ร้อยคนของบ้านบางระจัน และชาวแขวงอื่นจักเป็นกำแพงเหล็กล้อมชีวิตเด็กชีวิตหญิงและปู่ย่าตาทวด แล้วก็เสียงกึกก้องดังไปอีก ตะโกนไปอีกว่า ตั้งค่าย...ตั้งค่าย รบกันมัน...เมื่อ เสียค่ายก็จะขอเอาค่ายเป็นหลุมฝี เอาบ้านระจันนี่แหละเป็นป่าช้าฝังอ้ายนักรบ บ้านระจันโดยไม่ยอมถอยหรือทิ้งค่ายโดยเด็ดขาด" พม่ายกกำลังเข้าปราบถึงเจ็ดครั้ง ค่ายบางระจันสามารถต่อต้านอย่างกล้าหาญจน แตกพ่ายไปทุกครั้ง หากแต่ครั้งสุดท้าย พม่าได้แม่ทัพคือ สุกี้พระนายกองที่เคยอยู่เมืองไทย มาก่อน และก็ใช้ปืนใหญ่ยิงกระหน่ำเข้าใส่ ไม่รุกฮวบฮาบโดยที่บางระจันเป็นรองอยู่แล้วตรง ที่ไม่มีปืนใหญ่ สุกี้พระนายกองจึงใช้จุดเด่นของตนทำลายจุดด้อยของบางระจัน เมื่อ บางระจันไปขอปืนใหญ่จากกรุงศรีอยุธยา ทางกรุงก็ไม่ยอมให้ ด้วยเหตุผลที่ไม่มีสาระ เหตุผลที่ไร้สาระนั้น นำมาใช้กับการที่กรุงศรีอยุธยาไม่ยอมให้ปืนใหญ่แก่ ชาวบ้าน บางระจัน ไม่ใช่เพราะเกรงว่าจะตกไปอยู่กับพม่า หากแต่เกรงว่า ชาวบางระจันจะมีอาวุธเข้ม แข็ง ถ้าสามารถต่อต้านพม่าได้แล้ว ทางกรุงศรีอยุธยาเองจะไม่สามารถปกครองได้อีกต่อไป เหตุผลสำคัญก็คือ กรุงศรีอยุธยาพินาศได้เอกราชของชาติก็สูญเสียได้ แต่ฐานะของชนชั้น ปกครองต้องคงอยู่อย่างเดิม ถ้าสถานะเดิมต้องเปลี่ยนไป กรุงศรีอยุธยาพินาศเสียดีกว่า ฉากสุดท้ายซึ่งเป็นอวสานของชาวบ้านบางระจัน เป็นฉากที่สามารถเรียกน้ำตาจาก ผู้อ่านได้ ขณะชาวบางระจันตายลงไปเกือนหมดนั้น บุตรชายนายทหารอาทมาตเมื่อปลงชีวิต ถวายเป็นที่ระลึกบูชาชาติ เสร็จก็ร่ำลาและ ให้สติคนอื่น "สังข์ เราจะตายพร้อมกันหมด เราไม่รอดแล้ว บ้านระจันก็ล่มแล้ว เราจะ อยู่ดูหน้าใครอีก" น้องเขยทหารกล้ามองมันเศร้าใจ รอบค่ายก็ล้วนแต่หน้าศึกพรั่งพร้อม แต่ ไทยนั้นนอนสนิทหน้าแนบแผ่นดินไปแล้วทั้งสิ้น "ฉันจะตามไปตายร่วมทุกแห่ง แต่หญ้าหย่อมไหนเล่าจะยอมตาย" "หย่อม ศึกมากข้างหน้านี่แหละ แฟงเอ๋ย ขึ้นมาเคียงพี่เถิด มาตายเคียงพี่ ใกล้ผัวใกล้เมีย" มันกวักมือแฟงเมื่อเจ้าประชิดมาแล้ว และจวงก็ขึ้นคู่นายสงข์ ยืนหยัดรับศึกเป็น สองคู่ ทัพก็กล่าวไปอีก "เราจักยืนตายตรงนี้ ก้าวเดียวก็จะไม่ยอมถอย และไม่ รุกล้ำหน้า เพราะให้แยกกันตาย..." |