พัทยา
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๔๙๔

ดาวหาง


		พัทยา เป็นนวนิยาย ที่แต่งขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๐ และได้รับตี
	พิมพ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔-๒๔๙๕ เป็นหนังสือที่หายาก เนื่องจากพิมพ์แค่ครั้งเดียว

		เนื้อหาของนวนิยายเรื่องนี้กล่าวถึง พระไมตรีราชรักษา ทูตไทยในญี่ปุ่นซึ่ง 	
	เป็นคนโสด ถึงวัยเกษียณอายุราชการและเตรียมตัวกลับมาใช้ชีวิตที่พัทยาอันเป็นบ้าน
	เกิด ขณะเดินทางไปเที่ยวที่มอสโคว์ ก็ได้พบกับอวงเจ็งยี่ เพื่อนทูตชาวจีนซึ่งลี้ภัยไป
	เป็นกรรมกรอยู่ที่โซเวียตรุสเซีย  เพื่อนเก่าแก่คนนี้ได้ขอยืมเงินเพื่อเป็นทุนเดินทางใน
	การแอบกลับไปเอาทรัพย์สมบัติที่ซ่อนไว้ในเมืองจีน และได้ฝากลูกสาวให้กลับมาอยู่ที่
	เมืองไทยด้วย  เพราะไม่อยากทิ้งลูกสาวไว้ตามลำพังในโซเวียตรุสเซีย

		เรื่องราวส่วนใหญ่เป็นฉากในพัทยา ตำบลเล็กๆ แห่งหนึ่งในชลบุรีเมื่อ
	ประมาณ ๖๐ ปีที่แล้ว  ตัวละครที่สำคัญมี พระไมตรีราชรักษา ข้าราชการ (ทูต) เกษียณ
	ที่มีความคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยม  ผู้เล่าเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในสังคมเล็กๆ
	แห่งนี้ โดยใช้ข้าพเจ้าเป็นคำแทนตัวเอง  หลวงพี่อู๋ เจ้าอาวาสของวัด พระหนุ่มซึ่งมี
	แนวคิดแบบสังคมนิยม  มาลี (ชื่อเดิมคือ อวง เจ็งท้อ) เด็กสาวสวยชาวจีนที่อวงเจ็งยี่
	เพื่อนทูตชาวจีนฝากมากับพระไมตรีราชรักษาให้มาอยู่ที่พัทยาด้วย  และได้กลายเป็น
	บุตรบุญธรรมของพระไมตรีราชรักษา  มีแนวคิดแบบต้านระบบสังคมนิยม  และแม่
	หนู น้องสาวโสดของพระไมตรีราชรักษาเป็นผู้คอยเลี้ยงดูมาลี  เป็นผู้หญิงแบบชาว
	บ้านๆ ทั่วไป ที่ไม่ได้สนใจเรื่องการเมือง  อีกทั้งไม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ 
	ในสังคมที่ตัวเองอยู่

		เหตุการณ์ที่พัทยาสงบราบรื่นมาด้วยดี  จนกระทั่งพระมหากลึงได้เข้ามาอยู่
	ที่วัดพัทยาของหลวงพี่อู๋  ขณะที่มาลีได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าในการจัดตั้งกลุ่ม 
	"คณะลูกหมี" หรือในลักษณะขององค์กรยุวชนทหาร  เพื่อฝึกระเบียบวินัยให้แก่บรรดา
	เด็กๆ หรือเยาวชนที่อยู่ในชุมชน  ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวต้านความคิดแบบสังคมนิยมที่พระ
	มหากลึง นำมาเผยแพร่ในพัทยา จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้น เพราะอุดมการณ์ที่
	ต่างกัน

		ผู้เขียนเขียนเรื่องนี้แบบเสียดสีทางการเมือง พร้อมแทรกอารมณ์ขันไป
	ด้วยในด้านแนวการเขียนนั้น ผู้เขียนจะค่อยๆ สอดแทรกความคิดของตนเองไปเรื่อยๆ 
	กว่าจะวกกลัยมาเล่าเรื่องต่อ และเป็นการแสดงแนวความคิดแบบเสรีนิยม

		นวนิยายเรื่อง พัทยา เล่มนี้ สะท้อนให้เห็นสภาพการเมือง สังคมไทย ใน
	สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  ได้หลายด้าน ทั้งการหวาดกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์และ
	การที่รัฐบาลใช้วิธีการจัดตั้งยุวชนทหารตามแบบฟาสซิสม์  การพัฒนาเศรษฐกิจแบบ
	สมัยใหม่ ซึ่งปะทะกับวิถีชีวิตดั้งเดิม และวิถีชีวิตแบบชาวพุทธ 


กลับไปหนังสือประเภทนิยาย