![]() |
แลไปข้างหน้า ภาคปฐมวัย และภาคมัชฌิมวัย (เขียนในช่วงปี ๒๔๙๕ - ๒๕๐๐) ภาคปฐมวัย พิมพ์ครั้งแรกใน ปี ๒๔๙๘ ภาคมัชฌิมวัย พิมพ์ลงเป็นตอนๆ ในนิตยสารปิยมิตร ปี ๒๕๐๐ และรวมเล่ม ปี ๒๕๑๘ โดยชมรมหนังสืออุดมธรรม
ศรีบูรพา |
แลไปข้างหน้า (ภาคปฐมวัยและภาคมัชฌิมวัย) เป็นนวนิยายที่ เขียนขึ้นระหว่างปี ๒๔๙๕ - ๒๕๐๐) ซึ่งผู้แต่งเขียนนิยายเรื่องนี้ไม่จบ เนื่องจากมีภารกิจ เนื้อหาของเรื่อง แลไปข้างหน้า ภาคปฐมวัย เป็นเรื่องสมัยเด็กของจันทา โนนดินแดงเด็กบ้าน นอกซึ่งมีโอกาสเข้ามาเรียนหนังสือชั้นมัธยมในโรงเรียนผู้ดีในกรุงเทพฯ เพราะการฝาก ฝังของเข้าอาวาส และเพื่อจะได้เป็น "องครักษ์" ของลูกชายของขุนนางผู้ใหญ่คนหนึ่ง บทแรกๆ เป็นการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเมืองกับบ้านนอกระหว่าง จันทากับนิทัศน์ ซึ่งเป็นคนที่มาจากครอบครัวฐานะปานกลางค่อนข้างยากจนในเมือง และ เป็นคนที่มีทัศนะเป็นนักประชาธิปไตยมากกว่าใครในชั้น ตอนแรกคือ ตอนที่จันทาป่วยอยู่ที่บ้าน คุณลมัยแม่บ้าน ซึ่งความจริงเลื่อนชั้น ไปจากคนรับใช้ธรรมดา แต่กลับถูกหลอมให้มีทัศนคติแบบเจ้าขุนมูลนายโกรธที่เด็กของ ตนให้ยาฝรั่งแก่จันทาไปกิน โดยพูดว่า "พวกคนบ้านนอกน่ะ เวลาเจ็บป่วยเขาก็ใช้รากไม้ฝนกินฝนทากันทั้งนั้น เขา อยู่มากันอย่างนี้ตั้งบรมกัลป์มาแล้ว ชีวิตเขาไม่เหมือนกับพวกเรา" และ "มันไม่มีธรรมเนียม แม่สายที่บ่าวจะใช้นายแพทย์ร่วมกับนาย ฉันรู้สึก ว่าการที่จะไปเอานายแพทย์ของคุณวัชรินทร์มารักษาอ้ายจันนั้น จะเป็นการทำผิดที่ ร้ายแรงเสียยิ่งกว่าจะปล่อยให้อ้ายจันมันตายไป" อีกตอนหนึ่งของฉากโรงเรียน ตอนที่เซ้ง เด็กลูกจีนฐานะยากจนผู้ศรัทธาใน ศาสนาและเห็นแก่มนุษยธรรม ถูกลงโทษอย่างรุนแรงจากอาจารย์ใหญ่ฐานปัสสาวะริมรั้ว โดยไม่สอบถามความจริงที่ว่า มันเป็นเพราะเขาต้องอธิบายการบ้านให้เพื่อนจนระฆังตี เวลาเข้าเรียนและเขาปวดปัสสาวะเต็มที่ กลัวว่าถ้าวิ่งไปห้องน้ำจะเข้าเรียนสายถูกลงโทษ แต่อาจารย์ใหญ่ก็ลงโทษเขาหนักเนื่องจากอาจารย์มีอคติต่อเขาล่วงหน้าแล้วว่า ลูกจีน เป็นพวกไพร่ เป็นคนอีกวรรณะหนึ่งซึ่งมีแนวโน้มจะทำลายชื่อเสียงของโรงเรียนผู้ดี ภาคปฐมวัย นอกจากผู้เขียน จะเขียนถึงความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท การแบ่งแยกชนชั้น ทัศนคติ ค่านิยมที่ล้าหลังต่างๆ ไว้อย่างกว้างขวางได้อย่างคมคายหลาย ตอน เช่นตอนที่หลังจากถูกอาจารย์ใหญ่ลงโทษแล้ว เซ้งพูดกับจันทาซึ่งมาปลอบใจเขาว่า "เธอกับฉันมีสิ่งที่เหมือนกันอยู่ข้อหนึ่งคือ มาจากครอบครัวที่ยากจน มันอาจ จะเป็นเจ้าความยากจนนี่เอง ที่ทำให้เรากลายเป็นคนเลวร้ายไป" หรืออย่างตอนที่นิทัศน์แสดงความเห็นกรณีที่เซ้งถูกลงโทษว่า ถ้าเป็น เขาเขาจะเถียง เพราะเขาไม่เชื่อว่าพวกผู้ดีเป็นญาติกับเทวดา "พระเจ้าแผ่นดินหรือขุนนางท่านก็มาจากคนธรรมดาเหมือนอย่างเราๆ ทั้งนี้ ท่านอาจารย์ เจ้าคุณเองแต่เดิมท่านก็ชื่อแป้ง" แลไปข้างหน้า ภาคมัชฌิมวัย เป็นเรื่องสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ เรื่อยมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตัวละครสมัยเด็กต่างก็โตเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ และแยกย้ายกันไปประกอบอาชีพ เค้าโครงเรื่องมีลักษณะสะท้อนภาพของสังคมการเมือง ที่มีผลกระทบต่อตัวละครต่างๆ กันมากกว่าภาคแรก นิยายเรื่องนี้จบ ลงตรงที่เซ้งซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่รักความเป็นธรรมรัก ประชาธิปไตย ถูกรัฐบาลจอมพล ป. สมัยร่วมมือกับญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ ๒ จับตัว ไป ขณะที่นิทัศน์เริ่มไปเรียนต่อที่อังกฤษ และจันทาเพิ่งออกไปเป็นอัยการในต่างจังหวัด ได้ไม่นาน |