เขาชื่อกานต์
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๑๓

สุวรรณี สุคนธา
(พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๕๒๗)


		
		เขาชื่อกานต์ เป็นนวนิยายที่ได้รับรางวัลทางวรรณกรรมประเภท
	นวนิยายจาก องค์การสนธิสัญญาร่วมป้องกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
	(ส.ป.อ.) ประจำปี พ.ศ.๒๕๑๓

		นวนิยายเรื่องนี้ เป็นเรื่องราวของชีวิตหมออุดมคติผู้มีอดีตที่ยากจน
	และต้องการออกไปอยู่ในชนบท เพื่อจะได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนออกรับ
	ใช้บริการคนบ้านนอก  คนยากจนผู้มีชีวิตอย่างยากจนแร้นแค้น  และขาดแคลน
	แพทย์สมัยใหม่

		แก่นเรื่องของ เขาชื่อกานต์ เป็นเรื่องราวของหมอกานต์ ผู้มีอุดมคติ
	ที่ต้องออกไปเผชิญกับอำนาจเถื่อนของข้าราชการท้องถิ่น จนกระทั่งต้องพบจุด
	จบในที่สุด  ในแก่นเรื่องได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ข้าราชการท้องถิ่นอย่างกล้าหาญ 
	และอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ที่ยังดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน เช่น กรณีโรง
	พยาบาลเอกชนที่เห็นแก่เงิน
	
		      "นี่หมอ... หมอที่นี้เขากระดูกกว่าหมออีก เขาทำไงรู้ไหมล่ะ  หมอ
		... ไอ้คนก็เจ็บผงาบๆ จวนจะไปนรกอยู่แล้ว ก่อนจะเข้าโรงพยาบาล
		เขายังขอเก็บเงินก่อนอีก ไม่รู้ว่าทำตามกฎเกณฑ์	ของใครที่ไหน ถ้าคน
		ยากจนมารักษาจะทำยังไง"
	
		หรือ ความบกพร่องของข้าราชการที่ไม่เคยนึกถึงปัญหาของชาวบ้าน
		
		       "ควายชาวบ้านหายเรื่องเล็ก ก็ใครจะมัวมานั่งทำคดี... อย่าให้ของ
		บ้านนายอำเภอหรือ ผู้ยิ่งใหญ่หายก็แล้วกัน ครกตำน้ำพริกใบหนึ่งก็ต้อง
		ตามกันสุดฤทธิ์ คนเรามันก็ต้องเอาตัวรอดกันไว้ก่อน"
	
		หรือ ทัศนคติในการเข้ารับราชการ และข้าราชการที่คิดแต่จะเข้าไปอาศัย
	ระบบราชการมาแสวงหาความร่ำรวยส่วนตัว  มิใช่คิดจะเข้าไปทำหน้าที่รับใช้ราษฎร
	อย่างบริสุทธิ์ใจ
	
		        "แกว่าถ้าโกงเป็นก็ทำเข้าไปเถอราชการน่ะ รวยเร็วดี แต่ถ้าโกงไม่ได้
		ก็อย่าไปทำเข้า จนทั้งตาปีตาชาติ...บ้านเมืองไม่ใช่ของเรานี่หว่า มันจะล่ม
		จมอยู่แล้วเราก็โกยให้เต็มที่...เป็นไง..."
	
		หรือ ในเรื่องความอยุติธรรมทางเศรษฐกิจ
	
		       "เงินย่อมไหลไปสู่มือคนฉลาดกว่าเสมอ คนโง่ คนสิ้นหวังทำงานให้คน
		ที่ร่ำรวยรวยยิ่งขึ้นไป  นี่คือความจริงซึ่งมีให้เห็นอยู่ในสังคมเมืองของเรา
		ในขณะนี้"
	
		ใน ด้านมนุษยธรรม ผู้แต่งมีความเห็นใจคนทุกข์ยากเสมอ
	
         		          "นี่ถ้าหากว่า ไม่สงสารแม่ป่านนี้นังสาเปิดไปแล้ว รอให้โตอีกหน่อย
		เถอะน่า จะไม่อยู่ให้จิกหัวใช้เป็นขี้ข้าอีกต่อไป...เด็กสาไม่เข้าใจเลยว่าแรง
		งานของคนที่ทำไปนั้นเป็นแรงงานที่สูญเปล่า หล่อนรู้จักแต่คำว่าตอบแทน
		บุญคุณของแม่เท่านั้นเอง"
			
		และ
	
		         "หล่อนไม่เคยไปบ้านนอกสักที รถไฟก็ไม่เคยขึ้น เติบโตมีชีวิตขึ้น
		มากับบ้านในดงน้ำครำ พี่น้องมากมายจนต้องแย่งกันกินไม่เต็มกระเพาะ
		สักมื้อ ...อาหารที่เหลือจากขายวันหนึ่งๆ มากมาย จนกินไม่ไหว บางทีนึก
		อยากจะเม้มไปให้พวกพี่น้องที่แย่งกันกินซ้ำไป ติดที่ว่ากลับบ้านไม่ค่อย
		จะถูก"
	
		บุคลิกตัวละครมี หมอกานต์ หฤทัย และโตมร ผู้ที่ผู้แต่งใช้ความละเอียด
	ลออในการสร้างตัวละคร ในการปูพื้นภูมิหลังของชีวิต ซึ่งเป็นตัวกำหนดความคิด 
	และพฤติกรรมของตัวละครแต่ละตัว เช่น หมอกานต์ มีเหตุผลในการที่เขามีความมุ่ง
	มั่นที่จะย้ายไปทำงานรับราชการในหมู่บ้านที่ไกลโพ้นอันสุดกันดาร เพื่อจะได้มีโอกาส
	รักษาให้แก่ผู้ที่ไม่มีโอกาส เพราะว่าเขาเคยโตมาในบรรยากาศเช่นนี้มาก่อน จึงเห็นถึง
	ความจำเป็นของชาวบ้านเหล่านี้ แต่สิ่งที่เขามองไม่เห็นมาก่อนคือ ข้าราชการท้องถิ่น
	ที่ฉ้อฉล และต้องการดึงเขาเข้าไปในสังคมอันฉ้อฉล การวางอำนาจบาตรใหญ่กับ
	ชาวบ้าน การคอร์รัปชั่นในรูปแบบต่างๆ 
	
		ในอีกด้านหนึ่งที่หมอกานต์มองข้าม คือ ความรู้สึกนึกคิด และความเคย
	ชินในการใช้ชีวิตในเมืองของหฤทัย ภรรยาของเขาเองที่ยังไม่อาจจะปรับตัวได้อย่าง
	ง่ายๆจากจุดอ่อนนี้เองที่นำมาสู่อุบัติเหตุและโศกนาฎกรรมในเวลาต่อมา


กลับไปหนังสือประเภทนิยาย