ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย
เล่ม ๑-๒
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๔๗๘

ร. แลงกาต์
(พ.ศ.๒๔๓๕ - ๒๕๑๕)



		ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย ฉบับ ร. แลงกาต์ มีลักษณะเป็น
	ตำราสำหรับประกอบการฟังคำบรรยายของนักศึกษานิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
	วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ม.ธ.ก.)  ซึ่งหนังสือเล่มนี้ จึงเป็นประภาคารทางปัญญา 
	ที่สะท้อนภูมิปัญญาไทยและวิเคราะห์วิธีการรับวัฒนธรรมความรู้อื่นของคนไทย ด้วยวิธี
	ของคนไทย ที่มีกระบวนการระยะผ่านและปรับปรุงมาเป็นของตนอย่างเหมาะสม

		เนื้อหาของงานนิติศาสตร์นิพนธ์นี้ ผู้เขียน ได้เริ่มจากข้อความเบื้องต้น ว่า
	ด้วยความเป็นมาของกฎหมาย ประโยชน์การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย ข้อความรู้โดย
	สังเขปเกี่ยวกับกฎหมายของชนชาติสำคัญที่ให้กำเนิดอารยธรรมและคุณค่าอันพิเศษของ
	กฎหมายโรมัน  ต่อจากนั้นจึงจัดหมวดหมู่กลุ่มเนื้อหาและจัดลำดับตามกาลเวลา เช่น การ
	หาหลักฐานเพื่อประกอบการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย เค้ามูลเดิมทางจารีตประเพณี
	ของไทย อิทธิพลของกฎหมายเขมรและมอญ อิทธิพลของกฎหมายฮินดู และการกำเนิด
	ของกฎหมายไทย ในวิธีการ จำแนกประวัติศาสตร์กฎหมาย กล่าวถึงการแบ่งสมัยสำคัญๆ 
	ในประวัติศาสตร์กฎหมายของไทย และการแบ่งกฎหมายอย่างเก่ากับวิธีแบ่งตามคำสอน
	ของ ร. แลงกาต์ 
	
		ลำดับต่อจากนี้จึงอธิบายประวัติศาสตร์กฎหมายไทย ที่มีลักษณะเป็นกฎ
	หมายเอกชน ว่าด้วยเรื่องละเมิด, สัญญา เอกเทศสัญญาต่างๆ และกฎหมายที่ดิน

		ร. แลงกาต์ (ผู้เขียน) ได้ใช้เอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญๆ นอก
	ไปจากหลักฐานในทางกฎหมายเอง ด้วยความสามารถทางภาษาไทยและเข้าใจภาษาไทย
	โบราณอย่างดี จึงสามารถใช้ความรู้ความสามารถในการขุดค้นอธิบายกฎหมายอย่าง
	น่าทึ่ง  ก่อนที่ ร. แลงกาต์ จะได้เขียนตำราหรือเอกสารประวัติศาสตร์กฎหมายนี้ นาย 
	ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประสาธน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ได้มอบให้ 
	ร. แลงกาต์ ชำระกฎหมายตราสามดวง หรือประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑ พร้อมกับ
	เป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์  กลายเป็นฉบับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง  
	ที่ถือว่าเป็นมาตรฐานดีที่สุดที่มีอยู่ในขณะนี้  ประกอบกับ ร. แลงกาต์เข้ามาเป็นที่ปรึกษา
	ทางกฎหมายของรัฐบาลไทย ขณะประเทศไทยกำลังปฏิรูประบบกฎหมาย และจัดทำ
	ประมวลกฎหมาย ดังนั้น ความรู้ที่ปรากฎในเอกสารประวัติศาสตร์กฎหมายไทย ร. แลง
	กาต์ จึงเป็นการแสดงออกถึงความรู้ของนักวิชาการที่ศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายมา
	เป็นอย่างดี  กับความรู้ของผู้ปฏิบัติงานนิติศาสตร์ที่ผ่านการจัดทำประมวลกฎหมาย
	สมัยใหม่ ประสานเข้าด้วยกันและเผยแพร่ใน
	การให้การศึกษาแก่ผู้เรียน  
	
		ประวัติศาสตร์กฎหมายของ ร. แลงกาต์ ได้มีการอธิบายถึงอิทธิพล
	ตกค้างทางความคิดและวัฒนธรรมกฎหมาย และขยายความต่อถึงการรับอิทธิพล
	กฎหมายตะวันตก ทั้งเปรียบเทียบความเป็นมาหรือกระบวนทัศน์นั้นในส่วนที่พีง
	เปรียบเทียบ หรือพึงตั้งข้อสังเกต


กลับไปหนังสือประเภทประวัติศาสตร์