ทรัพยศาสตร์
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๔๕๔ โดยโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ
พิมพ์ครั้งที่สอง ประมาณ พ.ศ.๒๔๗๔
โดย ดร.ทองเปลว ชลภูมิ
พิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ.๒๕๑๘ โดยสำนักพิมพ์พิฆเณศ
เล่ม ๓ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๔๗๗
พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ.๒๕๑๙

พระยาสุริยานุวัตร
(พ.ศ.๒๔๐๕ - ๒๔๗๙)



		ทรัพยศาสตร์ ประกอบด้วยหนังสือ ๓ เล่ม พระยาสุริยานุวัตร
	(ผู้เขียน) เขียนขึ้นเพื่อเป็นตำราเศรษฐศาสตร์ มีลักษณะนำเสนอแนวคิดทางเศรษฐ-
	ศาสตร์และอธิบายถึงระบบเศรษฐกิจในประเทศตะวันตกในสมัยนั้น ขณะเดียวกันก็
	นำเอาแนวคิดและกลไกระบบเศรษฐกิจแบบตะวันตกมาประยุกต์ใช้กับสังคมไทย 
	โดยไม่ลืมรากฐานที่ไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวนายากจน  
	ผู้เขียนได้ใฝ่ฝันที่จะเห็นประเทศไทยพัฒนาไปสู่ประเทศที่มั่งคั่ง เข้มแข็ง เป็นอิสระ 
	เป็นตัวของตัวเอง และมีความเป็นธรรมในสังคม


		ทรัพยศาสตร์ เล่ม ๑ มี ๒ ภาค ภาคที่ ๑ การสร้างทรัพย์และ ภาคที่ ๒ 
	การแบ่งปันทรัพย์

		เนื้อหาวิชาเป็นการถ่ายทอดแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบคลาสิกของ อดัม 
	สมิธ และเดวิด ริคาร์โต เป็นหลัก  ชี้ให้เห็นกลไกทางเศรษฐกิจในระบบตลาด การสะ
	สมทุน การลงทุน การสร้างมูลค่าเพิ่มของทุน การแบ่งงานกันทำในสังคม กรรมสิทธิ์ 
	ปัจจัยการผลิต สมาคมคนงานและการนัดหยุดงาน สหกรณ์  ความสำคัญของการ
	ศึกษา และการออม ท่านไม่ได้นำทฤษฏีตะวันตกมาเสนอต่อสังคมไทยเท่านั้น หากยัง
	แสดงปรารถนาที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยเติบโตและเข้มแข็งขึ้นด้วย  ท่านได้ชี้ปัญหา
	ความยากจนของชาวนาไทย อันเกิดจากการขาดทุนรอน  ขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดิน  มี
	หนี้สินภายใต้ระบบดอกเบี้ยสูง  ทั้งยังขาดความรู้ในศิลปวิทยการสมัยใหม่อย่างตรง
	ไปตรงมา

		ท่านให้ความสำคัญกับชาวนามาก  โดยเห็นว่า "ความเจริญของกรุงสยาม
	ต้องอาศัยการทำนาเป็นส่วนใหญ่กว่าอย่างอื่น...จะเจริญเร็วและช้าก็สุดแต่ประโยชน์
	ที่ชาวนาจะได้มากและน้อยเป็นสำคัญ"  แต่ท่านเห็นว่าชนชั้นกลางจะเป็นกลุ่มที่สามารถ
	สะสมทุนได้ เพราะชนชั้นสูงแม้มีรายได้มากก็มักใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยไม่สนใจทำงาน  ส่วน
	ชนชั้นล่างยากจนมากชักหน้าไม่ถึงหลัง ด้วยความเห็นใจชนชั้นล่าง  ท่านจึงเห็นด้วย
	กับการจัดตั้งสมาคมคนงาน และการรวมตัวนัดหยุดงานที่ดำเนินไปอย่างมีเหตุผลและ
	ไม่ละเมิดผู้อื่น  เห็นผลเสียของการแข่งขันและความขัดแย้ง และเห็นว่าวิธีการแบบ
	สหกรณ์จะเป็นวิธีลดทอนความขัดแย้งระหว่างนายทุนกับแรงงานลงได้ แต่ท่านไม่เห็น
	ด้วยกับการล้มเลิกกรรมสิทธิ์เอกชน เพราะจะทำให้คนเฉื่อยชาท้อถอยในการงานได้

		ทรัพยศาสตร์ เล่ม ๒ เป็นส่วนของภาคที่ ๓ การแลกเปลี่ยน

		เนื้อหาในส่วนนี้ ท่านได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนค้าขาย 
	อธิบายให้เห็นกลไกตลาด การค้าและการเงินอย่างละเอียด ท่านเห็นว่ารัฐบาลมีหน้าที่
	ป้องกัน ทั้งเขตแดนและผลประโยชน์ทางการค้าของพลเมือง "ป้องกันกสิกรรม 
	หัตถกรรม และพาณิชยกรรมของพลเมืองไม่ให้เสื่อมทรามลงเพราะการประมูลแก่ง
	แย่งของนานาประเทศ... ยังจะต้องคิดต่อไปอีกชั้นหนึ่งว่า จะช่วยบำรุงอุดหนุนอย่าง
	ไร อำนาจและกำลังของพลเมืองที่จะทำประโยชน์ขึ้นได้นั้นจะแข็งแรงพอที่จะต่อสู้
	อำนาจเช่นเดียวกันของนานาประเทศได้"

		ท่านเสนอให้รัฐบาลตั้งกำแพงภาษีเพื่อปกป้องหัตถกรรมในประเทศไทย
	โดยเห็นว่าในระยะแรกต้องปกป้อง ต่อเมื่อหัตถกรรมและอุตสาหกรรมในประเทศเกิด
	ขึ้นมาพอ ก็จะเกิดความชำนาญและแข่งขันกันจนลดราคาลงมาพอที่จะส่งออกไปขาย
	แข่งกับนานาประเทศได้ ในภาวะที่ประเทศและประชาชนยังขาดเงินทุน ท่านเห็นด้วย
	กับการกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนทั้งของรัฐและเอกชน ทั้งยังเห็นว่ารัฐควรมีหน้าที่จัด
	หาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับชาวนาด้วย


		ทรัพยศาสตร์ เล่ม ๓ แบ่งเป็น ๒ ภาค  ภาคที่ ๑ ว่าด้วย การค้าระหว่าง
	ประเทศ และภาคที่ ๒  ว่าด้วยการคลัง  ลำดับหมวดเป็นการเรียงต่อจาก ๒ เล่มแรก

		เนื้อหาในภาคแรก เป็นการฟื้นประวัติศาสตร์ด้านการค้าทางทะเลของไทย
	ในสมัยโบราณ เพื่อชี้ว่าประเทศไทยเคยรุ่งเรืองจากการค้าทางทะเลมาก่อน  โดยรัฐ
	เป็นผู้นำการค้าทางทะเล  และยังชี้ว่าในภาวะที่ต่างประเทศและการเดินเรือพาณิชย์ถูก
	ครอบงำด้วยทุนต่างชาตินั้น  "ถ้ารัฐบาลไม่นำหน้าและเป็นตัวค้าเองก่อน  การค้าต่าง
	ประเทศคงจะไม่กลับมาอยู่ในมือของชาติไทยอีกเป็นแน่"

		เนื้อหาในภาคที่ ๒ เป็นการอธิบายเกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ที่มาของเงิน
	ได้ การจัดสรรงบประมาณ  และการใช้นโยายการคลังเป็นเครื่องมือในการกระจาย
	รายได้  ลดช่องว่างทางสังคม  เนื้อหาบางส่วนวิจารณ์การคลังในยุคสมบูรณาญา
	สิทธิรายย์ ว่าใช้จ่ายเงินในส่วนราชสำนักมาก  และชี้ว่าที่มาของเงินได้แผ่นดินมาจาก
	คนยากจน เห็นว่าควร "เลิกการเก็บรัชชูปการเสียทีเดียวจะดีกว่าที่จะปล่อยให้ความ
	ไม่เป็นธรรมตกอยู่แก่ราษฎร"  ท่านเห็นว่าควรเปลี่ยนโครงสร้างภาษี หันไปเก็บภาษี
	ตามฐานรายได้และควรเก็บภาษีทรัพย์สินจากคนมั่งมีแทนเพื่อ "ชักทุนของคนมั่งมี
	ไปเสริมแก่คนยากจน"
	
		ในเล่ม ๓ นี้ ท่านยังได้ย้ำเน้นประเด็นการตั้งกำแพงภาษี ที่ท่านเคยเขียน
	ไว้ในเล่ม ๒ อีกว่า "ในสมัยปัจจุบันนี้  ต่างประเทศต่างชาติก็พยายามตั้งพิกัดอัตรา
	ภาษีสินค้าเข้าเมือง  โดยเหตุที่จะบำรุงการกสิกรรม หัตถกรรม และอุตสาหกรรมให้
	ก่อสร้างตั้งตัวดำรงอยู่และเจริญยิ่งขึ้นได้ โดยเหตุที่จะมิให้คนต่างด้าวส่งสินค้าทับ
	ถมเข้ามาขายแข่งราคาทำลายกสิกรรม และอุตสาหกรรมที่ทำกันอยู่"


กลับไปหนังสือประเภทการเมือง, ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย,เศรษฐศาสตร์