เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕
พิมพ์ครั้งแรกในสุภาพบุรุษ ปี ๒๔๘๔

กุหลาบ สายประดิษฐ์
(นามปากกา ศรีบูรพา)



		หนังสือ เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ จัดเป็นเอกสารหลักฐานทาง
	ประวัติศาสตร์ ที่ผู้เขียนได้นำพฤติการณ์ของการปฏิวัติมาเรียบเรียง เพื่อเป็นข้อ
	ตักเตือนแก่นักปฏิวัติกลุ่มหนึ่งที่ถืออำนาจการปกครองในสมัยนั้น  
	
		เบื้องหลังการปฎิวัติ เป็นหนังสือ ที่ผู้เขียนเขียนเพื่อเป็นการต่อต้าน
	ความคิดที่จะตั้งตนเป็นผู้เผด็จการของจอมพล ป. พิบูลสงครามโดยตรง  จอม
	พล ป. พยายามปฏิบัติการ "จองเวร" ผู้เขียน อย่างที่เรียกว่า "กัดไม่ยอมปล่อย" 
	ทีเดียว ในขั้นแรก จอมพล ป. ได้พยายามเข้าพบพระยาพหลฯ อ้างเหตุนั้นเหตุนี้
	เพื่อให้เรื่องนี้ระงับ ครั้งผู้เขียน ซึ่งอยู่ในฐานะนักหนังสือพิมพ์ เขียนชี้แจงในหนัง
	สือพิมพ์สุภาพบุรุษ  จอมพล ป. ยิ่งเดือนร้อนรำคาญใจ ถึงขนาดใช้ให้โฆษกประจำ
	ตัวของตนคือ นายมั่นนายคง ออกโรงโจมตีในรายการสนทนา  นายมั่นนายคงทาง
	วิทยุกระจายเสียง

		แม้ว่าการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียง จะได้เปรียบกว่าการลงพิมพ์
	ในหนังสือพิมพ์รายวัน  แต่เหตุผลที่ผู้เขียนตอบโต้นั้นเหนือกว่า นายมั่นนายคง
	มาก ผลก็คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึงยี่สิบกว่าคนเข้าชื่อกันทำหนังสือถึง
	จอมพล ป. พิบูลสงครามในฐานะนายกรัฐมนตรี ถามถึงเหตุผลต้นปลายในการที่
	สถานีวิทยุของรัฐบาลออกโรงตอบโต้หรือที่ถูกโจมตีองค์การของเอกชน

		จะอย่างไรก็ตาม เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามพยายามกระทำการ
	นานาประการ เพื่อที่จะได้เป็นผู้เผด็จการสมตามความทะเยอทะยานของตน ผู้
	เขียนในฐานะนักหนังสือพิมพ์ ก็ยิ่งมีบทบาทต่อต้าน อาทิ การบังคับให้ประชาชน 
	แต่งการตามแบบที่ตนเข้าใจเอาเองว่า เป็นการแสดงถึงความเป็นอารยชนของคน
	ไทย เช่น บังคับผู้หญิงไทยให้เลิกนุ่งผ้าโจงกระเบน ให้นุ่งกระโปรง ฯลฯ ผู้เขียน
	ก็คัดค้านอีก  ถือว่า เป็นการละเมิดเสรีภาพส่วนบุคคลของคนเรา ยังผลให้จอมพล
	ป.  ถึงกับเขียนจดหมายไปถึงเป็นการส่วนตัวที่ผู้เขียนเล่าไว้ว่า  เป็นการแสดง
	อัธยาศัยไมตรีอันดี แต่แล้วเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามตั้งตนเป็นผู้เผด็จการ
	เบ็ดเสร็จได้สำเร็จแล้ว ถึงขนาดบังคับให้หนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับในประเทศ
	ลงพิมพ์ข้อความตัวโตในหน้าหนึ่งว่า เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย  แล้วต่อมาในวันที่ ๑๗ 
	มกราคม ๒๔๘๕  ผู้เขียนก็ถูกจับในข้อหากระทำความผิดฐานเป็นกบฏภายในราช
	อาณาจักร


กลับไปหนังสือประเภทการเมือง, ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย,เศรษฐศาสตร์