ห้าปีจากปรีทัศน์
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๑๒ โดยสำนักพิมพ์ศึกษิตสบาม

ส. ศิวรักษ์
(พ.ศ. ๒๔๗๖ - )



		ห้าปีจากปริทัศน์ เป็นหนังสือรวมบทนำ บทความ บทแปล บท
	คน  (สัมภาษณ์และแนะนำ) จดหมายจากบรรณาธิการ และ บรรณาธิการและข้อ
	เขียนอื่นๆ ที่ผู้เขียนได้เขียนขึ้นและตีพิมพ์ใน วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ 

	ปีที่ ๑  ฉบับที่ ๑
		เริ่มต้นวางตลาด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๖ และก็เริ่มก่อให้เกิด
	 "ปฏิกิริยา" ขึ้นมาทันที ผู้เขียนได้เขียนในหัวข้อ "อันเนื่องมาแต่งานฉลองร้อยปี
	ประสูติสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์" 	(หน้า ๑๕๕) ได้สร้างความไม่พอ
	ใจให้กับ ม.ร.ว. คึกฤกธิ์ ปราโมช ที่ถูกวิจารณ์ในทางลบเป็นครั้งแรก  และนายธนิต 
	อยู่โพธิ์ ซึ่งเป็นอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น ในฉบับแรก ได้นำบทกวี "วักทะเลเท
	ใส่จาน" ของอังคาร กัลยาณพงศ์ มาตีพิมพ์ เป็นการเปิดเวลทให้กวีผู้นี้ออกมาจาก
	รั้วมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก

	ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒
		บทนำในฉบับที่ ๒ ผู้เขียนวิจารณ์ "การพายเรือในอ่าง" (หน้า ๑๐) ของ
	วารสารในสมัยนั้นที่ปฏิเสธเรื่องวิชาการ  โดยอ้างว่านักอ่านสามัญทั่วไปรับไม่ได้  
	ผู้เขียนเห็นว่า "ถึงเวลาแล้ว ที่จำต้องเลิกดูถูกสติปัญญาของสามัญชนคนไทย" 
	(หน้า ๙) และ "เราถือว่าคนไทยทุกคนมีสิทธิที่จะได้ทราบความจริง หนังสอในทาง
	วิชาการก็ดี หนังสือพิมพ์อื่นๆ ก็ดี  ว่าโดยอุดมการณ์แล้ว ก็สรุปรวมได้เหมือนกัน 
	ตรงที่ต่างก็แสวงหาสัจจะเพื่อเสนอแต่ผู้อ่าน ผู้ใดละหลักการข้อนี้ ก็เท่ากับว่าเขา
	เป็นผู้ทำหนังสือหลอกลวงประชาชน  และเป็นผู้ขาดความจริงใจต่อตนเอง" (หน้า
	๑๐) ในบทนำผู้เขียนได้เสนอให้  "เลิกรังเกียจของไทยๆ ว่าเก่า ว่าล้าสมัย" และ 
	"ต้องปลูกความรักชาติ" ขณะเดียวกัน "เราก็มีความรู้สึกเป็นชาวอาเซีย เราเห็นว่า
	ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องรู้จักเพื่อนบ้านรอบๆ ตัวเราให้ดีขึ้น เลิกดูถูกเขาได้แล้ว 
	เลิกได้แล้วที่ยังคงคิดอย่างผิดๆ ว่าเราวิเศษกว่าชาติอื่นๆ" (หน้า ๑๒)


	ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑
		บทนำชื่อ "อันตรายสำหรับปัญญาชนคนหนุ่ม" (หน้า ๒๑-๒๙) โดยเสนอ
	ว่าสังคมไทยยกคนให้เป็นปัญญาชนเร็วเกินไป เพียงอ่านหนังสือไม่กี่เล่ม หรือสำเร็จ
	การศึกษามหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงจากต่างประเทศก็ได้เป็นปราชญ์ เป็นเอตทัคคะกันไป
	แล้ว แต่งานหรือกิจการที่ทำกลับเป็นงานเสมียน พนักงานธรรมดา ส่งนี้ "แท้ที่จริงคือ 
	มหันตภัยอันร้ายกาจที่จะบั่น ทอนเวลา ความคิดความสามารถ ให้หมดไปโดยเปล่า
	ประโยชน์" (หน้า ๒๗) อันตรายอีกประการหนึ่งคือ ไม่กล้าทำอะไรให้ขัดจากมติมหาชน 
	"ถือว่าการ ถูกถอดออกจากตำแหน่งเพราะทำถูก น่าละอายยิ่งกว่าได้เงินขึ้นเพราะประ
	กอบการทุจริตคิดมิชอบ" (หน้า ๒๘) และยังโจมตีปัญญาชนที่คอยหาทาง	จับผิด อิจฉา
	ริษยาปัญญาชนด้วยกันอีกด้วย


	ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓
		ผู้เขียน เขียน "สุนทรพจน์ในการเปิดสมาคมผ้านุ่ง"  (หน้า ๑๗๔-๑๗๙) 
	เพื่อท้าทายแนวโน้มในการพัฒนาประเทศแบบ "วัวลืมตีน" จนทำลายศิลปวัฒนธรรม 
	และขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณของไทย

	ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๔ 
		ผู้เขียนได้แปลสุนทรพจน์ของวุฒิสมาชิกฟุลไบรท์ ซึ่งเปิดเผยว่าสหรัฐมี
	ฐานทัพอเมริกันในเมืองไทย  ในขณะนั้นรัฐบาลไทยปฏิเสธเรื่องนี้มาตลอด หนังสือ
	พิมพ์ในเมืองไทยลงข่าวเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะขัดคำสั่งคณะปฏิวัติ ถือว่าเป็นการทำลาย
	ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับพันธมิตร


	ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓ 
		ผู้เขียนได้เขียนถึง "อิทธิพลของฝรั่ง" (หน้า ๘๖-๙๕) เตือนให้คนไทย
	ระวังในการรับวัฒนธรรมตะวันตก
	
		"ยิ่งฝรั่งที่เข้ามาเป็นทหารเลวด้วยแล้ว ผลเสียจะยิ่งเพิ่มพูนขึ้นจนเหลือ
	ที่จะกล่าวได้ และที่ร้ายกว่านั้นก็คือเราผู้เป็นเจ้าของประเทศไม่มีทางทราบได้เลยว่า
	ทหารเหล่านั้น เข้ามาเพื่ออะไร เข้ามามากน้อยเท่าไร" (หน้า ๙๓) และ "แม้ทหารเลว
	อเมริกันก็อาจจะเป็นที่รักของโสเภณีไทยได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างเห็นอกเห็นใจกันและกัน 
	หากเห็นอกกันระหว่างที่ฝ่ายหนึ่งจ่ายสตางค์ให้เท่านั้น  นี้จะเรียกว่ามิตรภาพไม่ได้ 
	และถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเอาเปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง เพราะถือว่าโตกว่า รวยกว่า ฉลาด
	กว่า เขานั้นๆ จะไม่ทำในนามสถาบัน หรือนามส่วนตัวก็ตาม เขาจะเป็นที่รักของใคร
	ไม่ได้เลย" (หน้า ๙๕)
	

	ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๓ 
		ผู้เขียนถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นครั้งแรก ในเรื่อง 
	"อนาคตของไทยอยู่ที่ไหน" (หน้า ๑๑๙-๑๒๙)  ในโอกาสที่กู้กรุงศรีอยุธยาครบสอง
	ศตวรรษพอดี  บทนำชิ้นนี้ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รับสั่งให้เก็บสังคมศาสตร์
	ปริทัศน์จากร้านขายปลีก  มีเนื้อหาเป็นการเปรียบเทียบประเทศไทย สมัย ๒๕๑๐ 
	กับ ๒๓๑๐  และตั้งคำถามว่า "ถ้าพระพุทธเจ้าหลวงท่านคิดว่าท่านสบายแล้ว ไม่ต้อง
	วิตกทุกข์ร้อน เราจะมีอนาคตมาถึงบัดนี้ไหมหนอ" (หน้า ๑๒๙)

		นอกจากความเห็นในเชิงตั้งคำถามกับการพัฒนาทางวัตถุในด้านต่างๆ 
	ในยุคนั้นและการชี้ชวนให้กลับไปยึดถือวัฒนธรรมไทยที่ดีงามแล้ว ผู้เขียนให้ความ
	สำคัญกับเพื่อนบ้านมาก เช่น "ไทย-ญวน-สหรัฐ" (บทนำ หน้า ๑๐๕) "ลาวในทัศนะไทย"
	(บทความ หน้า ๑๙๐) "เขมรสมัยนี้" (บทแปล หน้า ๒๐๕) "บทบาทของไทยใหญ่ในพม่า" 
	(บทแปล หน้า ๒๑๓) และ "อูอองซาน" (บทแปล หน้า ๒๒๑)


กลับไปหนังสือประเภทการเมือง, ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย,เศรษฐศาสตร์