![]() |
"วันมหาปิติ" : วารสาร อมธ. ฉบับพิเศษ ๑๔ ตุลาคม พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๑๖ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
วารสาร อมธ. ฉบับพิเศษ ๑๔ ตุลาคม เป็นหนังสือบันทึกเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ กรณีเรียกร้องประชาธิปไตย ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ หนังสือ วารสาร อมธ. ฉบับพิเศษนี้ เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ สมัยใหม่ชิ้น สำคัญ ประกอบด้วยบทความและเนื้อหา ๒๑ บท ที่มุ่งแสดงให้เห็นว่าพลังประชาชน เป็นพลังการเมืองที่ยิ่งใหญ่ และนับวันแต่จะมีความสำคัญ และมีบทบาทในการสร้าง ประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เป็นการผูกขาดหน้าที่ในการกำหนดชะตากรรมของประเทศ โดย ชนชั้นปกครองดังอดีตที่ผ่านมาโดยเฉพาะพลังของนิสิตนักศึกษา ที่เคยถูกสอนว่า มีหน้าที่เพียงเรียนหนังสือไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมืองมีผลให้เท่าที่ผ่านมา นิสิตนัก ศึกษาถูกทำให้เป็นผู้ที่ "มึนชา" ทางการเมือง บทนำของหนังสือนี้ กระตุ้นให้นักศึกษา ตระหนักถึงหน้าที่ของตนและชี้ให้เห็นว่า แท้จริง นักศึกษาเป็นประชาชนคนหนึ่ง จะต้องมีสิทธิมีส่วนในการเมือง ระหว่างการเมืองกับการศึกษาแล้ว อย่างน้อยที่สุดทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปมิ ใช่เอาแต่ศึกษาเพื่อประโยชน์ส่วนตัว เรื่องการเมืองอันเป็นเรื่องส่วนรวมไม่ใส่ใจ ยิ่ง กว่านั้นนักศึกษายังเห็นชัดอีกว่าการเมืองกับการศึกษามิใช่ควบคู่กันเท่านั้น หากการ เมืองต้องนำหน้าการศึกษาอีกด้วย... (หน้า ๑๔) หนังสือเล่มนี้ มีความสำคัญในแง่ที่เป็นหนังสือ ทางประวัติศาสตร์ที่เกิด จาก การรวบรวมข้อมูลขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ที่มี บทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย เมื่อ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ อีกทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดำเนินอยู๋ในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนาม หลวง ถนนราชดำเนิน การประชุมเพื่อการเคลื่อนไหวก็กระทำกัน ในตึก อมธ. ทำให้ อมธ. เป็นศูนย์กลางของข่าวสารข้อมูลแทบทั้งหมด ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ ๕-๑๕ ตุลาคม มีลักษณะของการให้ข้อมูลว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง มากกว่าการใส่ ความคิดเห็นของฝ่ายขบวนการนักศึกษาลงไป ผู้อ่านสามารถใช้วิจารณญานตัดสิน หาข้อสรุปได้ด้วยตนเอง จากข้อมูลซึ่งมีทั้งข้อมูลจากฝ่ายนักศึกษาและฝ่ายรัฐบาล เอง หนังสือ วันมหาปิติ นี้ให้ภาพดุจภาพยนตร์จอยักษ์ รายงานการเคลื่อนไหว ของนักเรียน นักศึกษา ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในช่วง ๒-๓ วัน ก่อนและหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ว่ามีการเคลื่อนไหวสอดคล้องหนุนช่วยการเคลื่อนไหวที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ จนทำให้เห็นภาพว่าตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม นักเรียนนักศึกษาต่างลุกฮือ กันต่อต้านอำนาจเผด็จการ และเรียกร้องประชาธิปไตยทั่วประเทศ แล้วภาพจึงมาเน้น โฟกัสที่การเคลื่อนไหวของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา รวมกับองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (อมธ.) ก่อน ๑๔ ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการต่อรองเรียกร้องให้ รัฐบาลปล่อยตัวปัญญาชนผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ๑๓ คน และช่วงการเคลื่อนขบวน ออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปตามถนนราชดำเนินเพื่อกดดันรัฐบาล บทความของ ภูมิสัน โรจน์เลิศจรรยา ชื่อ "ธรรมศาสตร์ ๑๓-๑๔ ตุลาคม" ให้รายละเอียดแต่ละชั่วโมงที่ผ่านไป ผู้อ่านจะเห็นรายละเอียดเหมือนภาพที่เคลื่อนไหว ความวุ่นวาย ความวิตกกังวล ความตื่นเต้นจนถึงความสับสนวุ่นวายของสถานการณ์ ที่เกิดขึ้น หลังจากที่ตำรวจและทหารเข้าปราบปรามนักศึกษาด้วยความรุนแรง นอง เลือด ความกล้าหาญของเยาวชนนักเรียนนักศึกษาที่พร้อมต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ จะพบ ได้จากบทความของ จีรนันท์ พิตรปรีชา ความรู้สึกสลดใจที่เห็นภาพการบาดเจ็บเสีย ชีวิตของเยาวชนจากเหตุการณ์นองเลือดจากบันทึกความทรงจำของนางพยาบาล ศิริราช, บันทึกของประชาชนจาก "ลูกประดู่โรย" บันทึกของอาจารย์ สุดาทิพย์ อินทร หนังสือเล่มนี้ ยังได้ให้ข้อมูลที่เป็นวิกฤตการณ์และปมเงื่อนที่สำคัญคือ เหตุการณ์ที่ตำรวจปฏิบัติการอย่างรุนแรงกับนักศึกษาประชาชน ที่กำลังสลายตัว กลับบ้านที่ข้างสวนจิตรลดาในรุ่งเช้าของวันที่ ๑๔ ตุลาคม และเป็นชนวนก่อให้ เกิดการปะทะกันของกองกำลังตำรวจและทหารกับนักศึกษาประชาชนต่อมา มีผล ให้เกิดการสูญเสียและทรัพย์สินจำนวนมากต่อมา ผู้บันทึกเหตุการณ์ข้างสวน จิตรลดานี้เป็นนักข่าวชื่อ เชิดสกุล เมฆศรีวรรณ เขียนบันทึกความทรงจำไว้ในบท ความ "ฟ้าสางที่ข้างสวนจิตรฯ" เชิดสกุล เป็นประจักษ์พยานอยู่ในจุดที่เกิดเหตุ อย่างใกล้ชิด และเขาได้รับบาดเจ็บจากการถูกตำรวจยิงที่ตาข้างขวา จนตาบอด สนิท และเขียนบันทึกนี้ภายหลังจากเหตุการณ์ไม่นาน ข้อเท็จจริงที่ได้จึงน่าเชื่อถือ เมื่อผู้อ่านได้อ่านบทความของเชิดสกุลก็จะทราบได้ว่า ใครคือผู้ที่สมควรรับผิดชอบ ต่อการนองเลือด ๑๔ ตุลาคม เพราะถ้าไม่ใช่เป็นเพราะการขัดขวางของบุคคลนี้ ที่ไม่ให้ขบวน ๑๔ ตุลาผ่าน เพื่อจะได้แยกย้ายกันกลับบ้านอย่างสันติแล้ว เหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ก็จะเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตยโดยไม่เสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด อีกปมเงื่อนหนึ่งคือ ความขัดแย้งไม่เข้าใจกัน ซึ่งเกิดจากความหวาด ระแวงหรือการถูกยั่วยุในหมู่ผู้นำนักศึกษาในขณะที่เคลื่อนขบวนในวันที่ ๑๔ ตุลาคม บทความของ สมาน เลือดวงหัด "ก่อนจะถึง ๑๔ ตุลาคม" จะให้รายละเอียดในฐานะ ผู้อยู่ในเหตุการณ์สะท้อนภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการคุมผู้คน จำนวนมาก ประมาณเกือบแสนคน การขาดการสื่อสารภายใต้สภาวะจิตใจที่สับสน จากความรู้สึกรับผิดชอบและประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่ไม่คาดหมาย |