![]() | ขอบฟ้าขลิบทอง พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๔๙๙ โดยสำนักพิมพ์ดวงกมล อุชเชนี |
ขอบฟ้าขลิบทอง เป็นงานกวีเล่มแรกของอุชเชนี ซึ่งเป็นงานกวีที่เปี่ยมด้วย พลัง แต่กลับมีน้ำเสียงระคนเศร้าไปด้วยพร้อมกันและเพราะเหตุที่เข้าใจถึงความเศร้า และ ความหวังของผู้อื่น ทำให้บทกวีมีความซึ้งกินใจยิ่งนัก ขอบฟ้าขลิบทอง เป็นบทกวีชื่นชมผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่อย่าง มีความ หมายเกินกว่าที่ใครจะคาดเดา ครั้งได้รู้เธอสู้ลุกทุกยามสาม ไม่ครั้นคร้ามผองภัยใจผยอง พาเรือพลิ้วลิ่วลัดตัดลำคลอง ตามลำพังกับน้องเพียงสองคน ต้องแจวสวนทวนกระแสที่แผ่เชี่ยว สุดแรงเรี่ยวไหล่ล้าไขว่คว้าผล กำไรเพียงไม่กี่อัฐกัดฟันทน ประสนจนสุจริตไม่คิดกลัว อีกนั่นแหละดวงใจสมัยนั้น สมองฉันตื้นโขโอเต็มหัว คล้ายสะเออะเซอะคิดตามจิตตัว เออ น่าหัวตามวิสัยคนใจทราม แต่เมื่อเธอหาญทะยานหยัด กลางแดดจัดที่ผู้ดีผลีผลาม หลบเข้าร่มบ่มพรรณประหวั่นคร้าม เธอกลับงามเกินคำจะรำพัน เธอโอบอ้อยร้อยมั่นกระสันรัด หนักถนัดข้อลำใช่ล่ำสัน ใบอ้อยกรีดแก้มกลับเลือดซิบพลัน เธอกลับผันยิ้มกว้างอย่างสุขใจ (และตอนจบอุชเชนีจบลงว่า) ขอเพียงแต่ได้จุมพิตมือนิดนั้น ที่หยาบครันกร้านแข็งแกร่งหนักหนา เพราะมือคู่นี้หรือ คือธารา รินศรัทธานุ่มสนิทติดดวงใจ ในบทกวีนี้ อุชเชนีเขียนเป็นกลอน ผูกเรื่องลำดับความได้ดีอย่างแท้จริงเธอ ในบทกวีนี้ เป็นสาวชาวไร่อ้อย เสียงของคำในทุกๆ วรรควางซ้อนๆ กันไว้ไล่เสียงสูงต่ำ อย่างไพเราะยิ่ง บางวรรคเล่นเสียงเอกกับโทบางวรรค เล่นเสียงตรีกับเสียงเอก ในแต่ ละวรรคมีสัมผัสทั้งอักษร และสัมผัสกลุ่มคำภายใน เพราะความสามารถอันเป็นเลิศของอุชเชนีในงานกวี และความเข้าใจใน เพื่อนมนุษย์รวมเข้ากับ ความสนใจและช่างสังเกตชีวิต อุชเชนีเขียนบทกวีเหมือนกำลัง สร้างภาพยนตร์ ซึ่งเน้นการใช้พล็อตเรื่องอันลงตัว ประกอบเข้ากับการเลือกฉาก การ ใช้มุมกล้อง การให้แสงเงา และฝีมือตัดต่อ ตัวละครทุกๆ ตัวในภาพยนตร์ ของอุชเชนี มีชีวิตชีวา เคลื่อนไหว และเร้าความสนใจของผู้ชม ฉากที่ภาพยนตร์เริ่มต้นขึ้น และจบ ลงนั้น ล้วนแต่แสดงพลังของธรรมชาติ และการต่อสู้ของชีวิตผู้คนที่วนเวียนไปไม่รู้สิ้น สุด เพื่อโค้งเคียวเรียวเดือนและเพื่อนโพ้น เพื่อไผ่โอนพลิ้วพ้อล้อภูผา เพื่อเรืองข้าวพราวแพร้วทั่วแนวนา เพื่อขอบฟ้าขลิบทองรองอรุณ |