![]() |
ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทาง สังคมของชื่อชนชาติ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๑๙
จิตร ภูมิศักดิ์ |
หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และ ลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" ค้นคว้าและเขียน โดย จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งงาน มีเป็นงานที่มีลักษณะเป็นงานวิจัย ใช้เวลาประมาณ ๗ ปี แต่ค้นคว้าในสภาพที่มี ขีดจำกัดมากที่สุด คือขณะถูกจองจำ ไร้ซึ่งเสรีภาพและอิสรภาพ จากข้อหาทาง การเมือง ความเป็นมาของคำสยามฯ เขียนขึ้นโดยใช้เอกสารหลักฐานทางประวัติ ศาสตร์ โบราณคดี ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ชาติพันธ์วิทยา และมานุษยวิทยา จำนวนมาก เป็นที่เข้าใจว่า คงได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนฝูงญาติพี่น้องจัด ส่งให้เขาในคุกอย่างลับๆ ตลอดระยะเวลา ๖ ปีที่คุมขัง หนังสือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทาง สังคมของชื่อชนชาติ ใช้หลักวิชาการด้านภาษาศาสตร์เปรียบเทียบเชิงประวัติ (Comparative Historical Linguistics) เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาในช่วงแรก ผู้แต่งพยายามชี้ให้เห็นรากและต้นตอของคำบ่งบอก 'ชนชาติ' ที่สำคัญ คือ คำ 'สยาม' 'ไท-ไต-ไทย' ลาว และขอม โดยชี้ให้เห็นข้อบกพร่องและวิธีคิดวิธีการ ศึกษาที่ไม่ถูกต้องในการศึกษาที่ผ่านๆ มาแล้วใช้คำเหล่านี้สืบค้นต้นกำเนิดของ คนไทยอย่างมีระบบ ความเข้าใจในกฎแห่งความสัมพันธ์ของสิ่ง เอกภาพของด้านตรงข้าม ที่ขัดแย้งกัน และกฎเกณฑ์พัฒนาการของชีวิตทางสังคมและพัฒนาการเศรษฐกิจ ของสังคมไทย ไม่เว้นแม้ 'ชนชาติที่เกี่ยวข้อง' ทำให้ผลงานค้นคว้าในหนังสือ เล่มนี้ ถือได้ว่าเป็นตัวแทนความคิดของ จิตร ภูมิศักดิ์ นำไปสู่ข้อสรุปอันเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งต่อความเข้าใจ สังคม-ชุมชนไท/ไต นอกประเทศ และสังคม ประชาชาติไทย |