จิตร ภูมิศักดิ์
เดิมชื่อสมจิตร ต่อมาตัดให้สั้นเหลือแต่จิตร เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๔๗๓
ที่จังหวัดปราจีนบุรี ช่วงเยาว์วัย จิตร โยกย้ายตามคุณพ่อที่รับราชการไปตามที่ต่างๆ สถาน
ที่สำคัญคือ ที่จังหวัดพระตะบอง ที่จิตรเรียนรู้อารยธรรมเขมรและภาษาเขมรอย่างแตกฉาน
จิตรสนใจในอดีตและวัฒนธรรมไทย เขาแสวงหาความรู้จากหลักฐานโบราณ และจากเอกสาร
ในหอสมุดแห่งชาติ พ.ศ.๒๔๙๓ จิตรเข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้แสดงความสามารถทางภาษาและทางดนตรีไทย
ปี ๒๔๙๖ จิตรถูกพักการเรียน เพราะเขาทำและเขียนหนังสือวิพากษ์วิจารณ์
สังคม ในช่วงที่ถูกพักการเรียน จิตรมีโอกาสอ่านหนังสือของฝ่ายซ้าย ทั้งไทยและต่างประเทศ
หลังจากนั้น บทความงานทางวิชาการที่ก่อนหน้านั้นมีลักษณะเป็นวิชาการและอย่างสันติ ได้
เปลี่ยนไปเป็นการเขียนที่มีลักษณะเย้ยหยัน รุนแรง วิพากษ์วิจารณ์ในช่วงปี ๒๔๙๗-๒๕๐๐
จิตรใช้นามปากกา ทีปกร ซึ่งแปลว่าเป็นผู้ให้แสงสว่าง, ไฟ เขียนหนังสือที่มีอิทธิพลยิ่งเล่ม
หนึ่ง คือ ศิลปเพื่อชีวิตและศิลปเพื่อประชาชน ในปี ๒๕๐๐ และในปีเดียวกันนี้ จิตรได้เขียน
บทความชื่อ "บทบาททางวรรณคดีของพระมหามนตรี" ผู้เขียนระเด่นลันได มีเนื้อหาล้อ
เลียนวัฒนธรรมพวกศักดินา โดยเฉพาะวรรณกรรมของชนชั้นสูงในเรื่อง อิเหนา เพลงยาว
บัตรสนเท่ห์ สะท้อนการฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นต้น
ในปี ๒๕๐๑ จิตรถูกจับกุมในข้อหาการเมือง พร้อมกับนักหนังสือพิมพ์นักการ
เมือง นักเขียนปัญญาชนจำนวนมาก หลังจากได้รับการปล่อยตัวในปี ๒๕๐๗ เขาได้เข้าร่วม
กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และต้องจบชีวิตลงในระหว่างทำงานปฏิวัติ ในปี
พ.ศ.๒๕๐๙ ขณะที่มีอายุได้ ๓๖ ปี ผลงานทางวิชาการวรรณกรรม และบทเพลงจำนวนมาก
ของเขาส่งอิทธิพลทางภูมิปัญญาไทย ภายใต้นามปากกา เช่น สมสมัย ศรีศูทรพรรณ, ทีปกร,
ศิลป์ พิทักษ์ชน, กวี ศรีสยาม, สมชาย ปรีชาเจริญ, สิทธิ ศรีสยาม, ศรีนาคร, นาครทาส