มนัส จรรยงค์

	มนัส จรรยงค์  เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๐	
บิดาเป็นทนายความ  ส่วนมารดาเป็นบุตรีผู้พิพากษาที่สองของจังหวัดนั้น เขาเริ่มเรียน
หนังสือกับมารดาตั้งแต่อายุสามสี่ขวบ จากนั้นก็เข้าเรียนต่อที่ ศาลาคามวาสีและโรงเรียน
ประจำจังหวัด จนจบมัธยมปีที่สอง  บิดาจึงส่งเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียน
สุขุมาลัย (วัดพิชัยญาติ)  โดยฝากฝังไว้กับเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี  (ท้วม 
บุนนาค)  มีโอกาสได้เรียนรู้ขนบประเพณีของบ้านขุนนาง และได้อ่านหนังสือดีๆ  หลาย
เรื่อง เช่น  สามก๊ก  ฮันสิน   และกาพย์กลอนของ "คนดง"  ต่อมาเขาย้ายไปเรียนใน
โรงเรียนประจำที่โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและที่นี่เขาสนใจฟุตบอล และดนตรีเป็น
ชีวิตจิตใจ จนทิ้งตำรา และลาออกในที่สุดเมื่ออยู่ชั้นมัธยมที่ ๗
	
	มนัสเคยทำงานเป็นนักเล่นกายกรรม สารวัตรศึกษา เสมียนอำเภอ ครูสอน
ดนตรี จนกระทั่งพาลูกศิษย์หนีตามกันไป  และอยู่กินด้วยกันตราบจนตัวตาย เขาเคย
เป็นนักข่าวของหนังสือพิมพ์นับจำนวนไม่ถ้วน          

	มนัส จรรยงค์ เป็นนักเขียนที่ดำรงชีพอยู่ด้วยการเขียนหนังสือ ถือได้ว่า 
เขาเป็นนักเขียนอาชีพยุคแรกของไทย  และที่สำคัญกว่าคือ  เขาเป็นหนึ่งในนักเขียน
อาชีพน้อยคนที่เขียนหนังสืออย่างมีคุณภาพจนคู่บรรณพิภพมาถึงปัจจุบันเชื่อว่างาน
ของเขาจะคงความเป็นคลาสสิกไว้ในอนาคต

	มนัส เริ่มต้นการเขียนหนังสือด้วยการเขียนนวนิยาย หรือเรื่องยาวก่อน
โดยใช้นามปากกาว่า อ.มนัสวีร์  โดยมีแรงจูงใจในการเขียนเพื่อพิสูจน์ความสามารถอัน
นอกเหนือจากการเป็นนักดนตรีให้หญิงสาวซึ่งเปรียบเสมือนดอกฟ้าที่ตนแอบหลงรัก
ให้ศรัทธาตน  และเขาก็ประสบความสำเร็จในเรื่อง คู่ทุกข์ คู่ยาก นี้ ตลอดชีวิตของการ
เป็นนักประพันธ์ของเขา  แม้จำนวนทั้งหมดที่แท้จริงยังมิได้ มีการรวบรวมกันเป็นที่แน่
นอน  ก็มีการประมาณไว้ว่าผลงานเรื่องสั้นของเขามีถึงกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง  เรื่องยาว
กว่า ๒๐ เรื่อง  ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้นามจริง  และนามปากกา ฤดี จรรยงค์, รุ่ง น้ำเพชร  
เมื่อคิดถึงช่วงเวลานับตั้งแต่ปี ๒๔๗๓  ที่งานเขียนเรื่องแรกไปตีพิมพ์ จนถึงบั้นปลาย
ชีวิตในปี ๒๕๐๘ และหักลบบางปีที่เขาไปทำงานอย่างอื่นนอกจากการเขียนหนังสือ  
คงจะยกย่องเขาได้ว่ามีปริมาณงานเขียนที่มากมายมหาศาล  จากอายุขัยเพียง ๕๘ ปี  
และที่น่าคารวะมากกว่าปริมาณคือคุณภาพ  สมกับคำกล่าวที่ว่า "นักเขียนอย่าง มนัส 
จรรยงค์ ร้อยปี จะมีสักหนึ่งคน" นั่นหมายถึงว่า มนัส จรรยงค์ คือนักประพันธ์ผู้ยิ่ง
ใหญ่ของไทยอย่างแท้จริง


กลับไปผู้แต่งประเภทเรื่องสั้น