ปรีดี พนมยงค์
ชื่อ "ปรีดี พนมยงค์" คงจะมีความหมายที่แตกต่างกันไป ตามความรับรู้ของแต่
ละคน สำหรับสาธารณชนวงกว้างชื่อ "ปรีด พนมยงค์" คงหมายถึงผู้นำการเปลี่ยนแปลง
การปกครอง ผู้ประสาธน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ผู้นำในขบวนการ
เสรีไทย รัฐบุรุษอาวุโส ฯลฯ ส่วนใหญ่ฐานะที่เป็นนักคิด นักวิชาการซึ่งได้เขียนงานฝากไว้ให้
อนุชนรุ่นหลังศึกษานั้น ตระหนักกันอยู่ในวงจำกัด แต่อาจจะเป็นไปได้ว่า ในอนาคตอาจจะมี
เหตุการณ์ที่พลิกโฉมสังคมไทยยิ่งกว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี ๒๔๗๕ และสั่นสะเทือน
บ้านเมืองรุนแรงกว่าประวัติศาสตร์ในช่วงที่ปรีดีมีส่วนเกี่ยวข้อง ที่อาจจะทำให้ชื่อ ปรีดี พนม
ยงค์ ในฐานะผู้มีบทบาททางสังคม การเมืองยิ่งใหญ่น้อยลงหรือลืมเลือนไปตามกาลเวลา
แต่ในฐานะนักคิดที่ได้เขียนหนังสือไว้ ผลงานนี้อาจจะยืนยงอยู่นาน และเป็นที่ชื่นชมอย่างยิ่ง
ยวดและกว้างขวาง
บนเส้นทาง "อยุธยาถึงปารีส" ในช่วงอายุขัยกว่า ๘๒ ปีนั้น ชีวิตทางการเมือง
ที่แข็งขันเข้มข้นนั้น อยู่ในช่วงปี ๒๔๗๕ ถึง ๒๔๙๐ รวม ๑๕ ปี นับว่าเป็นช่วงสั้นเมื่อเปรียบ
เทียบกับช่วงที่ต้องลี้ภัยในต่างประเทศ นานถึง ๒๑ ปี ในจีน และ ๑๓ ปีในฝรั่งเศส ช่วงเวลา
๓๐ ปีนี้ ปรีดีได้ศึกษาติดตามความเป็นไปของสถานการณ์ของไทยและของโลกอยู่อย่างเป็น
กิจวัตร และ "ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปในการค้นคว้าวิชาการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือวิชา
การด้านวิทยาศาสตร์สังคม" [คำของ บุตรชาย ปาล พนมยงค์ ใน "คำชี้แจง" ปรีดี (๒๕๑๓)]
ซึ่งเป็นให้ได้เขียนงานสำคัญๆ ในช่วงนี้ ความเป็นอนิจจังของสังคม ก็เขียนระหว่างที่พำนัก
อยู่ที่นครกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง เมื่อย้ายมาอยู่ปารีส เมื่อปี ๒๕๑๓ ก็ใช้เวลาที่พำนัก คือ
ค้นคว้าและเขียนหนังสือ พร้อมไปกับตอบสนองคำเชิญจากสมาคมนักเรียนไทยในยุโรป
แสดงปาฐกถาในโอกาสต่างๆ ซึ่งต่อมาก็ได้ปรับปรุงพิมพ์เผยแพร่ และได้นำมารวมพิมพ์
ให้อยู่ในเล่มเดียวกันใน (๒๕๒๖)