เดือน บุนนาค
เดือน บุนนาค (พ.ศ.๒๔๔๘ - ๒๕๑๕) พิจารณาจากตำแหน่งหน้าที่การงาน การ
ที่เคยเป็นผู้พิพากษา เป็นอาจารย์โรงเรียนกฎหมาย เป็นรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรี
กระทรวงศึกษา ถ้าระบบศักดินาบรรดาศักดิ์มิได้ ถูกยกเลิกไปหลังการเปลี่ยนแปลงการปก
ครอง เดือน บุนนาค ก็คงได้บรรดาศักด์อย่างน้อยเป็นพระยา เช่นเดียวกับ ปู่ (พระยาไพ
บูลย์สมบัติ) หรือพ่อของปู่ (พระยาประเสนชิดศรีพิสัย) แต่ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง
ไป เขาจึงเป็นที่รู้จักกันในนาม ศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค โดยมีเส้นทางการงานทั้งรับ
ราชการและดำรงตำแหน่งการเมือง ซึ่งแยกกันในทางทฤษฎี เมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการ
ปกครอง เป็นเส้นทางเดียวกับการทำงานของบรรพบุรุษ ที่สามารถสืบสายสกุล
เดือน บุนนาค สัมพันธ์โยงใยกับปรีดี ตั้งแต่สมัยบิดา ซึ่งเป็นกรรมการสอบกฎ
หมายปรีดี แต่ครั้งโรงเรียนกฎหมาย ปี ๒๔๖๒ เริ่มแรกนั้นเดือน บุนนาค พบกับปรีดีประสา
นักเรียนไทยที่ศึกษาอยู่ต่างประเทศด้วยกัน เมื่อเขาไปฝรั่งเศส ในปี ๒๔๖๕ นั้น ปรีดี ไป
เรียนอยู่ก่อนได้กว่า ๓ ปีแล้ว ต่อมาเส้นทางของทั้งสองใกล้กันมากขึ้น ชีวิตราชการในเมือง
ไทยอยู่สายเดียวกันกับปรีดี เช่น ที่กระทรวงยุติธรรม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเมื่อ
แรกตั้งในปี ๒๔๗๗ นั้น ปรีดีเป็นผู้ประสาธน์การ เขาเป็นเลขาธิการคนแรก ส่วนทางการ
เมืองก็ใกล้ชิดกัน เคยร่วมอยู่ในคณะรัฐมนตรี เดียวกันหลายครั้ง และเมื่อรัฐประหาร ๘
พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ทั้งปรีดีและเขาก็จบบทบาททางการเมืองพร้อมๆ กัน เคยเป็นประธาน
ธนาคารเอเชีย อันเป็นธนาคารที่ปรีดีร่วมก่อตั้ง แรกนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้ถือ
หุ้นใหญ่ ในระหว่างสงครามก็ร่วมในขบวนการเสรีไทย ที่ปรีดีเป็นหัวหน้า
อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่าชีวิตของ เดือน บุนนาค เป็นเงาชีวิตของ ปรีดี
พนมยงค์ แต่ที่เน้นจนเสมือนเป็นเช่นนั้น ก็เพื่อให้คล้องกับฐานะที่เป็นผู้เขียน "ท่านปรีดี
รัฐบุรุษอาวุโสฯ"