พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระนามเดิม หม่อมเจ้า
วรรณไวทยากร วรวรรณ เป็นโอรสพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ใน
รัชกาลที่ ๔ และหม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ (สกุล มนตรีกุล) ประสูติเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม
๒๔๓๔ ทรงมีพี่น้อง ๒๕ องค์ พระองศ์เศกสมรสกับหม่อมพร้อยสุพิณ (สกุล บุนนาค)
ปี พ.ศ.๒๔๔๓-๒๔๔๘ ทรงศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบ และโรงเรียนราชวิทยาลัย
แล้วสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงได้ไปศึกษาต่อที่โรงเรียน Marlborough College เป็นเวลา ๕
ปี สำเร็จวิชาทาง Modern Side (วิชาปัจจุบัน, ภาษาปัจจุบัน) และ Classical Side (ภาษา
โบราณ เช่น ภาษากรีก) ทรงได้รับรางวัล ๑๗ รางวัล
ปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดใน Balliol College Ecole
Libre des Sciences Politiques กรุงปารีส ฝรั่งเศสในวิชาการทูตในปี ๒๔๕๘ ทรงสอบไล่
ได้ประกาศนียบัตรวิชาการทูตรางวัลที่ ๑ จากนั้นก็ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการตรีประจำ
สถานทูตไทย ณ กรุงปารีส ปี ๒๔๖๐ และเป็นเลขานุการคณะทูตไทย ที่ไปประชุมสันติภาพหลัง
สงครามโลกครั้งที่ ๑ ยุติลงราวปี พ.ศ.๒๔๖๓ ก็เสด็จกลับมาตุภูมิ ทรงรับราชการในตำแหน่ง
หัวหน้ากองบัญชาการกระทรวงการต่างประเทศ อีก ๒ ปีต่อมา รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ แต่งตั้งเป็น "องคมนตรี" รับปรึกษาราชการในส่วนพระองค์ ปี ๒๔๖๗ รับพระบรมราช
โองการเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ ทรงเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาทางไมตรีและ
การค้ากับประเทศที่เคยสัมพันธ์กับไทย และทรงเป็นหัวหน้าคณะทูตในการทำอนุสัญญาว่าด้วย
อินโดจีน
ปี ๒๔๖๙ มีพระบรมราชโองการให้เป็นอัครราชทูตประจำ ๓ ประเทศที่ว่างลง
ได้แก่ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม ขณะดำรงตำแหน่งนี้ ทรงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน
ไปประจำสมัชชาสันนิบาตชาติ แล้วได้รับเลือกเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการกำกับการ
เงินของสันนิบาตชาติ
รองประธานในการประชุมแก้ข้อบัญญัติแห่งศาลประจำยุติธรรมระหว่าง
ประเทศประธานคณะกรรมการระเบียบวาระแห่งสมัชชาสันนิบาตชาติ และทรงเป็นสมาชิก
สำนักการทูตระหว่างประเทศ
ปี ๒๔๗๐ ทรงศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดจนสำเร็จปริญญาโท เสด็จ
กลับมาแล้วทรงได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ
มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๔๗๓
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ พระอง๕ทรงเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งที่
ได้รับความไว้วางใจจากคณะผู้ก่อการ ในการปฏิบัติราชการรับใช้ประเทศชาติ และทรง
ออกหนังสือพิมพ์ ประชาชาติ ที่มาของพระนิพนธ์วิทยาวรรณกรรมช่วงระหว่าง พ.ศ.
๒๔๗๗-๒๔๗๘ ทรงเป็นศาสตราจารย์ กฎหมายระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรรมการในสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตุลาการในศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก เมื่อ
ไทยได้ดำเนินการทางการทูตเพื่อแก้ไขสนธิสัญญากับนานาชาติในปี ๒๔๘๐ ทรงเป็นผู้
แทนเจรจาตั้งแต่แรกเริ่มจนสำเร็จลุล่วง และได้รับพระราชทานเข็มราชการแผ่นดิ
นสำหรับประดับเหรียญดุษฎีมาลา
ปี พ.ศ.๒๔๘๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น "พระองค์เจ้า"
จารึกในสุพรรณบัฏว่า "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร"
ปี ๒๔๘๔ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นประธานผู้แทนทูตไทย เจรจากำหนดเขต
แดนระหว่างไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ทรงได้รับมองอำนาจให้ทรงลงพระนามใน
สัญญาได้ กระทั่ง ๒๔๘๖ ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า
วรรณไวทยากร"
ทรงเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๔๘๙ และในปีเดียวกันนี้ รัฐบาล
มอบหมายให้ทรงหาลู่ทางเจรจา เพื่อประเทศไทยจะได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชา
ชาติ กระทั่งเป็นผลสำเร็จ ไทยได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคมปีนั้นเอง
ปี ๒๔๙๐ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูต
ไทยประจำกรุงวอชิงตัว และผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติ และสถาปนาเป็นพระองค์
เจ้าต่างกรม มีพระนามจารึกในสุพรรณบัฏว่า "พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์
ประพันธ์" พ.ศ.๒๔๙๕ และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศใน
ปีเดียวกันนี้ จากนั้นก็พระราชทานยศเป็นพลตรี นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑
มหาดเล็กรักษาพระองค์ และราชองครักษ์พิเศษ
ปี ๒๔๙๗ ทรงเป็นผู้แทนไทยในการประชุมเพื่อหาทางตกลงแก้ปัญหาเกาหลี
ที่เจนีวา ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานในการประชุม ร่วมกับ เซอร์แอนโทนี อีเดน
รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ และนายโมโลตอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศโซเวียต นับตั้งแต่
ปี ๒๔๙๑-๒๔๙๘ ทรงได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการต่างๆ ในสหประชาชาติ
ช่วงปี ๒๔๙๙-๒๕๐๐ ที่ประชุมสหประชาชาติลงคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ให้
ทรงดำรงตำแหน่งประธานสมัชชาสหประชาชาติในสมัยประชุมครั้งที่ ๑๑ และปี ๒๕๐๒
ทรงเป็นรองนายกรัฐมนตรี
ปี ๒๕๑๖-๒๕๑๘ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นนายกราชบัณฑิตสถาน เคยดำรง
ตำแหน่งนี้มาแล้วระหว่าง ๒๔๗๗-๒๔๙๐ และทรงรักษาการระหว่างปี ๒๕๑๒-๒๕๑๖
เกียรติคุณทางการศึกษาที่ต่างประเทศยกย่อง ได้แก่ ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ทางกฎหมายแพ่ง มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางกฎหมาย จาก
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค มหาวิทยาลัยแฟร์ลี่ดิกกินสัน
วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๙ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิป
พงศ์ประพันธ์ สิ้นพระชนม์ รวมพระชันษา ๘๕ พรรษา