สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 

	ทรงเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ มีเจ้าจอมมารดาชุ่มเป็นพระมารดา ประสูติ
เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๕  รับพระราชทานพระนามว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร 
ทรงศึกษาในพระบรมมหาราชวัง ได้ศึกษาภาษาอังกฤษกับนาย ฟรานซิส ยอร์ซ เปตเตอร์สัน  
ขณะพระชันษา ๙ ขวบ ยุติการศึกษากับครูเมื่อโสกันต์และผนวชเป็นสามเณรแล้ว จากนั้น
เป็นการศึกษาด้วยพระองค์เอง ทรงลาผนวชและทรงรับราชการทหารเมื่ออายุ ๑๔ ปี  ทรง
รับพระราชทานศึกษาเรื่องราชการจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ 
เสด็จในกรมฯ  ทรงนับพระองค์เป็นทหาร  เพียงแต่ย้ายราชการแผนกอื่น เช่น  ทรงเป็น
อธิบดีกรมศึกษาธิการและกำกับการธรรมการ  ภายหลังความจำเป็นของประเทศที่ต้อง
ปฏิรูประบบการปกครอง  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปดำรงตำแหน่งเสนาบดีมหาดไทย เมื่อวันที่ 
๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๕  และกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘

	นอกจากงานด้านการปกครองที่จัดการมณฑลและจังหวัดสำเร็จลุล่วงเ สด็จใน
กรมฯ  ได้ทรงว่าการหอพระสมุด  นับเป็นคุณูประการต่อการรวบรวมเอกสาร  การเผยแพร่
ความรู้ พระดำริพิมพ์หนังสือเป็นของชำร่วย  ทั้งทรงชำระวรรณคดีและประวัติศาสตร์ จึง
ได้รับการถวายพระสมญาว่า "บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย"

	 ชีวิตส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีชายารวม ๑๑ 
ท่าน  มีพระโอรสธิดา รวม ๓๙ พระองค์

	ผลงานพระนิพนธ์ มีจำนวน ๖๕๓ เรื่อง  จำแนกลักษณะงานพระนิพนธ์ ออก
เป็น ๑๐ ประเภท จัดสาส์นสมเด็จ เป็นประเภทที่ ๑๐ คือ วรรณกรรมล้ำค่า


กลับไปผู้แต่งประเภทสังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, ประวัติศาสตร์สังคม